การศึกษาเรียนรู้

พวกเราหลายคนคุ้นเคยกับเรียนรู้ผ่านการอ่านหนังสือ บางคนเรียนรู้ผ่านการลงมือทำ บ้างเรียนรู้ผ่านการฟัง การเรียนรู้ทำให้โลกของเรากว้างใหญ่ ทำให้ตัวเราเล็กลงเพราะตระหนักได้ว่ายังมีอีกหลายเรื่องที่เราไม่รู้ การเรียนรู้จึงมอบความอ่อนน้อมถ่อมตน การยอมรับความผิดพลาด ยอมรับความล้มเหลว ยอมรับข้อจำกัดและความไม่รู้ของตัวเรา สิ่งเหล่านี้ทำให้เรามีความสุขได้ง่ายขึ้นมาก
การเรียนรู้ไม่ได้เป็นเพียงการเข้าใจเนื้อหา หรือได้รู้เรื่องแปลกใหม่เท่านั้น เมื่อเราเปิดใจให้กับเรื่องที่ไม่คุ้นเคย วางใจให้ตัวเองได้ลองในสิ่งที่ไม่เคยทำ เราจะพบความสุขในตัวเราจากการเรียนรู้

กระบวนการจิตตปัญญาศึกษา

มหาวิทยาลัยนาโรปะ (มลรัฐโคโลราโด ประเทศสหรัฐอเมริกา) ซึ่งก่อตั้งในปี ค.ศ.1947 โดยผู้นำจิตวิญญาณชาวทิเบต นามว่าเชอเกียม ตรุงปะ รินโปเช เป็นแหล่งที่ริเริ่มแนวคิดเรื่องจิตปัญญาศึกษา สถาบันการศึกษาแห่งนี้โดดเด่นในด้านการยอมรับในความแตกต่างหลากหลาย เคารพต่อเพื่อนมนุษย์ การเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรง การรับฟังด้วยใจที่เปิดกว้าง การสืบค้นสำรวจภายในตนเอง เพื่อนำสู่การหยั่งรู้อย่างลึกซึ้ง นอกจากนี้ สถาบันการศึกษาที่ใช้แนวคิดจิตปัญญาในการจัดการเรียนการสอนยังมีที่ California Institute

ง่ายงามในความธรรมดา : ธรรมดาที่ไม่ธรรมดา

ความปรารถนาอย่างยิ่งอีกสิ่งของปุถุชนก็คือ ความแน่นอนมั่นคง ทั้งๆที่โดยสัจจะแล้ว มันเป็นไปไม่ได้ หนำซ้ำความอยากดังกล่าวยังนำทุกข์มาให้อย่างจีรัง ! ฉะนั้น มนุษย์จึงควรตั้งคำถามกับตนเองว่า ท่ามกลางความไม่แน่นอนของชีวิตนั้น เขาควรจะดำเนินชีวิตอย่างไร ? เมื่อในโลกแห่งความจริงนั้นฝันของเราไม่มีทางเป็นจริงได้ทุกอย่าง จึงควรหาหนทางผ่อนคลายความทุกข์ไว้ล่วงหน้า และหาคำตอบให้แก่ตนเอง ท่ามกลางมรสุมแห่งชีวิต โดยยังคงมีกำลังใจ และสนุกกับการเดินทางบนเส้นทางแห่งชีวิต

NLP : เปลี่ยนความคิดชีวิตเปลี่ยน

การดึงสิ่งไม่ดีเข้ามาในชีวิต มาจากความรู้สึกผิด ลงโทษตัวเอง โดยไม่รู้ตัว – ครูอ้อย ฐิตินาถ ณ พัทลุง โลกของเราใบนี้ ยังมีผู้คนอีกมากมายที่จมอยู่กับความทุกข์โศก กังวลกลัว ยังตกอยู่ในบ่วงของความรู้สึกผิดอยู่แทบทุกขณะจิต เหล่านี้ล้วนกลายเป็นอุปสรรคอันสำคัญในชีวิต ยังผลให้ผู้นั้นดำเนินกิจวัตรไปอย่างไร้สุข และไม่ประสบความสำเร็จแทบทุกเรื่อง ทั้งเรื่องการเรียน เพื่อนฝูง ความรัก การทำงาน

การปฏิบัติทองเลน (Tonglen) : รับทุกข์-ส่งสุขด้วยรักและเมตตา

“ส่งจิตให้ผู้อื่นมีความสุข และตั้งจิตให้ตนเองพ้นทุกข์” นั่นคือวิธีคิดที่มีมาแต่ดั้งเดิม แต่หลายท่านอาจถึงกับตะลึง เมื่อทราบว่า มรรควิธีแห่ง “ทองเลน” (Tonglen Tib. གཏོང་ལེན་) นอกจากเผื่อแผ่ความสุขให้ผู้อื่น(Tong) ยังยินดีที่จะรับทุกข์รับโศกจากผู้อื่นมาสู่ตนเองอีกด้วย(Len)

นพลักษณ์ : ศาสตร์ระดับจิตวิญญาณ

“นพลักษณ์” (Enneagram) คือศาสตร์แห่งการเรียนรู้ เพื่อทำความเข้าใจ และเปลี่ยนแปลงตนเองในระดับจิตวิญญาณ อดีตกาลนานโพ้นกว่า 2 พันปี เมื่อครั้งที่นักบวชซูฟี (นิกายหนึ่งในศาสนาอิสลาม) ได้ตั้งปุจฉาว่า เหถุใดแม้นักปฏิบัติธรรมก็ยังมีปัญหาบาดหมางกัน นั่นนำมาซึ่งการค้นคว้าแสวงหา กระทั่งค้นพบสัจจธรรมแห่งการมองเข้าไปในตน มิใช่มุ่งจะอยากเปลี่ยนแปลงหรือเพ่งโทษผู้อื่น แต่นี่คือการเปลี่ยนแปลงอย่างลึกซึ้งในระดับจิตวิญญาณซึ่งยึดโยงกับความสุขความทุกข์

ฝึกทักษะการจับประเด็น … เพื่อชีวิตที่ไม่หลงทาง

แม้มนุษย์จะได้ชื่อว่าเป็นสัตว์โลกที่ฉลาดล้ำลึกที่สุด แต่ต้องยอมรับว่ามนุษย์มีข้อจำกัดในหลายๆประการ เช่น มีความทรงจำที่จำกัด จึงไม่สามารถจำทุกถ้อยกระบวนความในแต่ละวันได้หมด มีความอดทนที่จำกัดจึงมักจะไม่ทนพอที่จะฟังใครพูดอะไรที่ยาวๆนานๆ หรือการพูดจาที่ซ้ำซากวกวน มีเวลาที่จำกัด จึงไม่อาจจะนั่งคุยหรือเสวนากับใครได้นานเป็นวันๆ ได้

ความสุขประเทศไทย
PDPA Icon

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save