การศึกษาเรียนรู้

พวกเราหลายคนคุ้นเคยกับเรียนรู้ผ่านการอ่านหนังสือ บางคนเรียนรู้ผ่านการลงมือทำ บ้างเรียนรู้ผ่านการฟัง การเรียนรู้ทำให้โลกของเรากว้างใหญ่ ทำให้ตัวเราเล็กลงเพราะตระหนักได้ว่ายังมีอีกหลายเรื่องที่เราไม่รู้ การเรียนรู้จึงมอบความอ่อนน้อมถ่อมตน การยอมรับความผิดพลาด ยอมรับความล้มเหลว ยอมรับข้อจำกัดและความไม่รู้ของตัวเรา สิ่งเหล่านี้ทำให้เรามีความสุขได้ง่ายขึ้นมาก
การเรียนรู้ไม่ได้เป็นเพียงการเข้าใจเนื้อหา หรือได้รู้เรื่องแปลกใหม่เท่านั้น เมื่อเราเปิดใจให้กับเรื่องที่ไม่คุ้นเคย วางใจให้ตัวเองได้ลองในสิ่งที่ไม่เคยทำ เราจะพบความสุขในตัวเราจากการเรียนรู้

จุดไฟเรียนรู้คนรุ่นใหม่ด้วยเถื่อนเกมกับ ดร.เดชรัตน์ สุขกำเนิด

“จุดสำคัญคือความรู้สึก มันเป็นเรื่องปกติที่เราจะคุ้นเคยกับการทำเรื่องที่เกี่ยวข้องกับตัวเรา ต้องย้ำว่าเป็นเรื่องปกติ ส่วนที่เราไปทำเรื่องของคนอื่น มองดีๆ มันเป็นเพราะโอกาสที่เราได้มี โอกาสที่เราเกิดคิดเรื่องนี้ขึ้นมา ถ้าไม่มีโอกาสนั้นเราก็ทำแต่เรื่องของตัวเราเอง  โอกาสจะมากขึ้นด้วยความรู้สึก ฉะนั้นในห้องเรียนจะทำยังไงให้ความรู้สึกเหล่านั้นปรากฏ มันมีหน้าที่เหล่านั้นอยู่ในห้องเรียน มันได้ทำให้ความรู้ถูกใช้ไปในลักษณะที่มันแตกต่าง ทำไมนักเศรษฐศาสตร์ถึงคิดแต่ตัวเลขไม่ค่อยได้สนใจเรื่องอื่น ต้องตอบว่าเพราะเราใส่ความรู้สึกไปไม่มากพอในเนื้อหา ความรู้สึกมันทำให้เราเปลี่ยนแปลงตัวเรา ความรู้สึกนี่แหละที่มันสำคัญและเป็นสิ่งที่ขาดไปในการเรียนการสอนวิชาเศรษฐศาสตร์” ข้อความข้างต้นคือ “ความรู้สึก” ของเดชรัต สุขกำเนิด

ครูคณิตจิตอาสานอกรั้วโรงเรียน

ใครทำงานประจำวันจันทร์ถึงศุกร์มักจะอยากให้ถึงวันหยุดสุดสัปดาห์ไวๆ เพื่อหาเวลาพักผ่อนนอนเอกเขนกอยู่บ้านชิลล์ ชิลล์  แต่สำหรับผู้ชายรูปร่างผอมบางใส่แว่นตาที่มีชื่อจริงว่า สิทธิพงษ์  ติยเวศย์ หรือ ครูไก่แจ้ กลับเลือกเดินทางออกจากบ้านเพื่อไปตามหาความสุขด้วยการเป็น “ครูคณิตจิตอาสา” ให้กับนักเรียน กศน. หรือ ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.)  เพราะการได้พบกับนักเรียนตั้งแต่วัยรุ่นไปจนถึงผู้สูงอายุคือ “โลกใบเล็ก” ที่ซ้อนทับอยู่ใน “โลกใบใหญ่” ของสังคม 

เรียนรู้วิทยาศาสตร์แสนสนุกกับครูชาลี

เมื่อนึกถึงห้องเรียนวิทยาศาสตร์ทุกคนคงจินตนาการภาพห้องแล็บ มีหลอดแก้วทดลอง กล้องจุลทรรศน์ แต่ “ห้องเรียน” วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กมัธยมของครูชาลี มโนรมณ์ แห่งโรงเรียนรุ่งอรุณ โรงเรียนทางเลือกแถวหน้าของเมืองไทยกลับเป็นสายน้ำ ภูเขา ท้องทะเล ผืนทราย และโลกใบใหญ่รอบตัว นักเรียนของครูชาลีต้องแบกเป้หนักอึ้งเพื่อเดินทางหลายร้อยกิโลเมตรร่วมไปกับขบวนธรรมยาตราเพื่อเรียนรู้ปัญหาสิ่งแวดล้อมระหว่างเส้นทาง เด็กวัยรุ่นที่เคยชินกับโลกออนไลน์ต้องถูกตัดขาดจากโทรศัพท์มือถือเพื่อนอนหลับในเต้นท์ท่ามกลางป่าเขา มองดูท้องฟ้าและหมู่ดาวแทนแสงสีฟ้าจากจอมือถือ พวกเขาได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์จาก “โลกใบใหญ่” พร้อมกับเรียนรู้ “โลกใบเล็ก”

สุขใจที่ได้เรียนรู้…เก่งคันจิได้แบบเด็กญี่ปุ่น

“ผ่านแล้วค่ะ ดีใจมากเลย ขอบคุณมากค่ะพี่เคน” หนึ่งในเสียงตอบรับจากแฟนเพจที่ส่งถึงเคนทางกล่องข้อความเฟซบุ๊ค เคน หรือสารัช วงศ์สุนทรพจน์ เป็นเจ้าของเพจ “เก่งคันจิได้แบบเด็กญี่ปุ่น by พี่เคน” ซึ่งมีผู้ติดตามมากถึง 2.9 หมื่นคน แต่เจ้าของเพจบอกว่าหากการเผยแพร่ความรู้แบบให้เปล่าของเขา ช่วยให้ใครดีขึ้นได้แม้เพียงคนเดียวเขาก็พอใจแล้ว เคนรู้ซึ้งถึงความสำคัญของการได้รับโอกาสเรียนรู้ด้านภาษาจากประสบการณ์ของตัวเขาเอง เคนเป็นเด็กเชื้อสายจีนเติบโตมาในย่านสำเหร่ วงเวียนใหญ่ พ่อของเขาเป็นคนขับมอเตอร์ไซค์รับจ้าง

เปิดโลกการเรียนรู้คนรุ่นใหม่กับ ดร. อดิศร จันทรสุข

ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จังหวัดปทุมธานี บรรยากาศเปิดปีการศึกษาใหม่คึกคักไปด้วยนักศึกษาที่เพิ่งผ่านรั้วโรงเรียนเข้าสู่มหาวิทยาลัย คนหนุ่มสาวในวัยแสวงหาความหมายต่างก้มหน้าก้มตามองดูหน้าจอมือถือของตนเอง   บ้างอ่านข่าวสารอัพเดทในโลกสังคมออนไลน์ บ้างค้นหาสินค้าไอทีรุ่นใหม่ บ้างค้นหาผลิตภัณฑ์เสริมความงามไปจนถึงสถาบันลดความอ้วน พอถึงเวลาเข้าเรียนชั่วโมงแรก ทุกคนแยกย้ายกันเข้าห้องเรียน เตรียมพร้อมจดเลคเชอร์ตามความเคยชิน ทว่า เมื่อย่างเท้าเข้าไปในห้อง พวกเขาต้องแปลกใจกับรูปแบบการจัดห้องที่เรียงเก้าอี้เป็นวงกลม ไม่มีโต๊ะกั้นกลางระหว่างอาจารย์และนักศึกษาเหมือนห้องเรียนทั่วไป ไม่กี่นาทีต่อมา อาจารย์คนแรกเดินเข้ามาในห้อง ตามด้วยคนที่สองและสาม นักศึกษาเริ่มทำหน้างงเพราะไม่แน่ใจว่า อาจารย์ประจำวิชานี้คือคนไหน

สนทนาค้นหาความเข้าใจ วิถีไดอะล็อก

บางคนที่เคยเข้าวง ‘ไดอะล็อก’ อาจรู้สึกว่า ก็แค่ตั้งวงสนทนา โดยนั่งล้อมกันเป็นวงกลมเท่านั้น แม้การไดอะล็อกส่วนใหญ่ เราจะนิยมนั่งล้อมพูดคุยเป็นวงกลม ไม่ว่าจะนั่งกับพื้นหรือเก้าอี้ก็ตาม แต่นั่นเป็นเพียง ‘รูปแบบภายนอก’ เท่านั้น เรียกได้ว่ายังห่างไกลกับ ‘ความพิเศษ’ ของกระบวนการไดอะล็อกอยู่มากทีเดียว ก่อนที่เราจะเริ่มเข้าสู่กระบวนการสนทนาแบบไดอะล็อก สิ่งสำคัญอย่างยิ่งคือต้องแยกแยะ ‘ความแตกต่าง’ ระหว่างการสนทนาไดอะล็อก กับการสนทนารูปแบบอื่นๆ ในหนังสือ The Magic of Dialogue (2001) โดย Daniel

ความสุขประเทศไทย
PDPA Icon

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save