การศึกษาเรียนรู้
พวกเราหลายคนคุ้นเคยกับเรียนรู้ผ่านการอ่านหนังสือ บางคนเรียนรู้ผ่านการลงมือทำ บ้างเรียนรู้ผ่านการฟัง การเรียนรู้ทำให้โลกของเรากว้างใหญ่ ทำให้ตัวเราเล็กลงเพราะตระหนักได้ว่ายังมีอีกหลายเรื่องที่เราไม่รู้ การเรียนรู้จึงมอบความอ่อนน้อมถ่อมตน การยอมรับความผิดพลาด ยอมรับความล้มเหลว ยอมรับข้อจำกัดและความไม่รู้ของตัวเรา สิ่งเหล่านี้ทำให้เรามีความสุขได้ง่ายขึ้นมาก
การเรียนรู้ไม่ได้เป็นเพียงการเข้าใจเนื้อหา หรือได้รู้เรื่องแปลกใหม่เท่านั้น เมื่อเราเปิดใจให้กับเรื่องที่ไม่คุ้นเคย วางใจให้ตัวเองได้ลองในสิ่งที่ไม่เคยทำ เราจะพบความสุขในตัวเราจากการเรียนรู้
กล่องส่งการบ้าน New Me in One Month โดยความสุขประเทศไทย x Roundfinger
หนึ่งเดือนนี้ มาเรียนรู้เพื่อเปลี่ยนตัวเราเป็นคนใหม่ กับ “New Me in One Month” หลังจากเลือกสิ่งที่คุณจะทำเพื่อเปลี่ยนแปลงตัวเองแล้ว ชวนคุณส่งการบ้าน journal บันทึกการเรียนรู้ของคุณที่นี่
ดอกไม้ ความฝัน และแก้วกาแฟ
เรื่องและภาพ : ปริมพัชร์ ไวทยวงศ์สกุล ฉันกึ่งเดินกึ่งวิ่ง ผลักบานประตูร้านกาแฟแห่งหนึ่งเข้าไป เสียงกระดิ่งที่แขวนไว้กระทบกันดังกริ๊ง
ดร.ภาสกร แช่มประเสริฐ มิสเตอร์เตือนภัยพิบัติ
ย้อนกลับไปเมื่อสิบกว่าปีก่อน คนไทยเพิ่งรู้สึกสึนามิเป็นครั้งแรก เหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้มีผู้เสียชีวิตนับไม่ถ้วน หลายคนเดินทางลงไปช่วยเป็นอาสาสมัครกู้ภัยในรูปแบบต่างๆ ที่ตนเองถนัด ทว่าในอีกซีกโลกหนึ่งของดินแดนอเมริกา นักศึกษาปริญญาเอกด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์จากประเทศไทยคนหนึ่งกลับไม่ได้นิ่งเฉยกับภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในแผ่นดินเกิด เขาตั้งคำถามว่า ถ้าเราห้ามแผ่นดินไหวไม่ให้เกิดขึ้นไม่ได้ สิ่งที่เราทำได้คือการมีข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับแผ่นดินไหวล่วงหน้าเพื่อลดความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นน้อยที่สุด “ผมทำบอร์ดไดอารี่ประจำวันเพื่อเก็บข้อมูลด้านภัยพิบัติ วันนี้เกิดพายุที่ไหน ไฟป่าที่ไหน ตื่นเช้าขึ้นมาตีห้าครึ่งจะนั่งหาข่าวก่อนเลย นั่งโพสต์เก็บรวบรวมสถานการณ์ทั่วโลกเลย ผมรู้ว่าแผ่นดินไหวที่ไหน พายุทั่วโลกเป็นยังไง ติดตามเส้นทางเดินพายุเป็นยังไง ตอนนั้นคือทำเองเหมือนงานอดิเรกแทนที่เราจะตื่นเช้าขึ้นมาตีห้าครึ่งเพื่อใส่บาตรเป็นตื่นเช้าตีห้าครึ่งขึ้นมาเพื่อเผยแพร่ความรู้ให้วิทยาทาน”
อาจารย์รุ่นใหม่สนใจจิตตปัญญา
จิตตปัญญาศึกษาชื่อนี้ฟังดูเข้าใจยากและห่างไกลคนหนุ่มสาวที่อยู่ในวัยแสวงหาความรื่นรมย์ในชีวิต ทว่าสำหรับอาจารย์หนุ่มรุ่นใหม่ ดร.สุปรียส์ กาญจนพิศศาล หรืออาจารย์แบต กลับเลือกสมัครเป็นอาจารย์ประจำศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล แทนการสอนสาขาที่ดูทันสมัยใกล้ชิดกับสังคมยุคใหม่มากกว่านี้ “ผมเริ่มสนใจด้านนี้มาตั้งแต่ยังเด็ก เพราะคุณพ่อคุณแม่ปฏิบัติธรรม “สนใจเองด้วยแล้วก็พ่อกับแม่ด้วยครับ ที่บ้านก็จะสวดมนต์นั่งสมาธิ ฟังธรรม เราก็ติดรถไปที่วัดบ่อย ๆ เกิดความสนใจว่าการปฏิบัติธรรมมันดียังไง เริ่มจากตอนที่ไปบวชเณร พอสึกออกมาก็มาไล่อ่านหนังสือกฎแห่งกรรม พออ่านหนังสือพุทธศาสนาก็เกิดความอยากรู้ว่าแต่ละศาสนาสอนยังไง เกิดการขยายความสนใจจากการอ่านหนังสือ”
ความสุขของอาจารย์สอนภาษาไทยยุคสังคมดิจิทัล
หากถามคนเป็นครูว่าความสุขในชีวิตของการเป็นครูอยู่ที่ไหน คำตอบของคนส่วนใหญ่น่าจะออกมาในทางเดียวกัน คือการได้เห็นลูกศิษย์ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน แต่ความสุขของ ครูเมย์ หรือ ดร.ชนกพร พัวพัฒนกุล อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีมากกว่านั้น “ความสุขของเราคือการที่ได้มอบประสบการณ์ในห้องเรียนที่ดี ที่น่าจดจำให้เด็ก บางคนเมื่อเวลาผ่านไปเขาอาจจะจำเรื่องที่เรียนไม่ได้ แต่เขายังจำเรื่องราวในห้องเรียนและจำวันที่เขาเรียนเรื่องนั้นได้ จำได้ว่าเขาทำอะไร ถามอะไร คิดอะไร และรู้สึกอย่างไร
จุดไฟเรียนรู้คนรุ่นใหม่ด้วยเถื่อนเกมกับ ดร.เดชรัตน์ สุขกำเนิด
“จุดสำคัญคือความรู้สึก มันเป็นเรื่องปกติที่เราจะคุ้นเคยกับการทำเรื่องที่เกี่ยวข้องกับตัวเรา ต้องย้ำว่าเป็นเรื่องปกติ ส่วนที่เราไปทำเรื่องของคนอื่น มองดีๆ มันเป็นเพราะโอกาสที่เราได้มี โอกาสที่เราเกิดคิดเรื่องนี้ขึ้นมา ถ้าไม่มีโอกาสนั้นเราก็ทำแต่เรื่องของตัวเราเอง โอกาสจะมากขึ้นด้วยความรู้สึก ฉะนั้นในห้องเรียนจะทำยังไงให้ความรู้สึกเหล่านั้นปรากฏ มันมีหน้าที่เหล่านั้นอยู่ในห้องเรียน มันได้ทำให้ความรู้ถูกใช้ไปในลักษณะที่มันแตกต่าง ทำไมนักเศรษฐศาสตร์ถึงคิดแต่ตัวเลขไม่ค่อยได้สนใจเรื่องอื่น ต้องตอบว่าเพราะเราใส่ความรู้สึกไปไม่มากพอในเนื้อหา ความรู้สึกมันทำให้เราเปลี่ยนแปลงตัวเรา ความรู้สึกนี่แหละที่มันสำคัญและเป็นสิ่งที่ขาดไปในการเรียนการสอนวิชาเศรษฐศาสตร์” ข้อความข้างต้นคือ “ความรู้สึก” ของเดชรัต สุขกำเนิด