การศึกษาเรียนรู้

พวกเราหลายคนคุ้นเคยกับเรียนรู้ผ่านการอ่านหนังสือ บางคนเรียนรู้ผ่านการลงมือทำ บ้างเรียนรู้ผ่านการฟัง การเรียนรู้ทำให้โลกของเรากว้างใหญ่ ทำให้ตัวเราเล็กลงเพราะตระหนักได้ว่ายังมีอีกหลายเรื่องที่เราไม่รู้ การเรียนรู้จึงมอบความอ่อนน้อมถ่อมตน การยอมรับความผิดพลาด ยอมรับความล้มเหลว ยอมรับข้อจำกัดและความไม่รู้ของตัวเรา สิ่งเหล่านี้ทำให้เรามีความสุขได้ง่ายขึ้นมาก
การเรียนรู้ไม่ได้เป็นเพียงการเข้าใจเนื้อหา หรือได้รู้เรื่องแปลกใหม่เท่านั้น เมื่อเราเปิดใจให้กับเรื่องที่ไม่คุ้นเคย วางใจให้ตัวเองได้ลองในสิ่งที่ไม่เคยทำ เราจะพบความสุขในตัวเราจากการเรียนรู้

คุณยายยอดนักเขียน

หลายสิ่งหลายอย่างในโลกนี้อาจมีวันหมดอายุ แต่ ‘ความฝัน’ ไม่เคยเป็นเช่นนั้น ขอแนะนำให้รู้จักคุณยายชาวจีนนาม ‘เจียง ซู่ เหม่ย’ ผู้ซึ่งบรรลุความฝันในยามเยาว์วัยของเธอ ด้วยการฝึกหัดอ่านเขียนหนังสือด้วยตัวเองเมื่ออายุ 60 และก้าวเป็นนักเขียนเต็มตัวในวัย 70 ปี ! ‘เจียง ซู่ เหม่ย’ เกิดที่เมืองชางตง ประเทศจีน

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ต้นแบบของผู้ใฝ่ศึกษาเรียนรู้

เรามักคิดเสมอว่า การศึกษาเรียนรู้เป็นเรื่องของตัวเราเอง เป็นประโยชน์ส่วนตนไม่เกี่ยวกับใครและเรามักคิดเสมอว่า หากชีวิตสะดวกสบายแล้ว เราคงไม่จำเป็นต้องอุตสาหะร่ำเรียนอะไรเพิ่มเติมสักเท่าไร ชีวิตหลายคนเลยมักมาตกร่องว่า เมื่อลำบากแล้วจึงค่อยขวนขวายเรียนรู้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นต้นแบบสำหรับปวงชนชาวไทยในการเป็นผู้ศึกษาใฝ่หาความรู้อย่างไม่มีวันหยุด นอกจากนี้ ความวิริยะอุตสาหะในการศึกษาเรียนรู้ของพระองค์ท่าน ยังส่งผลดีต่อการเจริญสัมพันธไมตรีทางการทูตระหว่างประเทศ และยังกลายเป็นแรงบันดาลใจ นำทางให้อีกหลายต่อหลายคนเดินตามรอยพระองค์ท่าน เรื่องราวนี้ปรากฎชัดเจนเป็นรูปธรรม เมื่อสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีทรงพระอักษร (เรียน)

เรียนรู้ แบ่งปัน เปิดโลก กับเศรษฐีหนุ่มรักผจญภัยและใจดี

ทุก ๆ ปี นิตยสาร Forbes จะจัดอันดับมหาเศรษฐีอายุน้อยที่สุดในโลก และในลิสต์ปี 2014 นั้นก็มีชื่อของ นิโคลัส วูดแมน เจ้าของกล้อง GoPro อยู่ด้วย นิโคลัส หรือ นิค วูดแมน เป็นชายหนุ่มที่หลงใหลการเล่นกีฬาสุดขั้วทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นสกี

‘การฟัง’ วิชาที่โรงเรียน (ส่วนใหญ่) ไม่เคยสอน (ตอนที่ 2)

‘การฟัง‘ เป็น 1 เครื่องมือในการพัฒนาสุขภาวะทางปัญญา ซึ่งนำไปสู่การสร้างความสุขภายในที่ลึกและยั่งยืนที่สุดของคนเรา เมื่อเราเรียนรู้การฟัง เราจะเริ่มฟังอย่างตั้งใจ ฟังแบบไม่ตัดสิน ฟังแบบมีสติรู้เนื้อรู้ตัวว่าเราอยู่ตรงนั้นกับเขา สิ่งที่เราฟังจะไม่ใช่เพียงเนื้อหา แต่เราจะสัมผัสได้ถึงความรู้สึกด้านในของผู้พูดที่อยู่ตรงหน้า ขณะที่เรากำลังฟัง ผู้พูดเองก็สัมผัสได้ถึงสิ่งที่เรามอบให้ มันจะเกิดสายใยบางๆ ที่โอบรัดคนสองคนให้เชื่อมโยง เข้าใจและใกล้กันมากยิ่งขึ้น และสิ่งที่สำคัญยิ่งก็คือ เมื่อเราเรียนรู้การฟังอย่างเข้าใจ ถึงที่สุดเราจะได้ยินแม้กระทั่งเสียงของเราเอง ซึ่งเมื่อถึงจุดนั้นมันจะก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงด้านในของเราที่นำพาสิ่งดีๆ

‘การฟัง’ วิชาที่โรงเรียน (ส่วนใหญ่) ไม่เคยสอน (ตอนที่ 1)

โลกเราก้าวสู่ศตวรรษที่ 21 มาหลายปีแล้ว (ค.ศ.2001 – 2100) นับๆ ดูแล้วมีเรื่องที่มนุษย์ปัจจุบันเราพัฒนาและก้าวไปไกลกว่าสมัยบรรพบุรุษอยู่มาก โดยเฉพาะบรรดาเทคโนโลยีและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ แต่ในทางกลับกัน บางเรื่องมนุษย์ยุคเทคโนโลยีอย่างเรา ก็กลับดูคล้ายจะถอยหลังเข้าคลองไปเสียอย่างนั้น โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้องกับจิตใจ สุขภาวะทางปัญญา หรือการดูแลความสัมพันธ์ระหว่างกัน           จะโดยรู้ตัวหรือไม่ สิ่งหนึ่งที่ปัจจุบันพวกเราทำกันแทบไม่เป็นคือ ‘การฟัง‘

ชีวิตเปลี่ยนไปเพราะใฝ่เรียนรู้

เด็กชายวัยรุ่นที่ไม่ได้ไปโรงเรียน เรียนรู้การสร้างกังหันลมเพื่อผลิตไฟฟ้าจากของเหลือทิ้ง โดยศึกษาเองจากหนังสือ สิ่งที่เขาทำจุดประกายความฝันให้คนทั้งประเทศที่มีไฟฟ้าใช้เพียงแค่ 2% เรื่องของเขาได้รับการกล่าวถึงทั้งใน Wall Street Journal, Time Magazine และภาพยนตร์สารคดีชีวิตของเขาก็ได้รับรางวัล ทุกวันนี้ชีวิตของเขาเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิงเพราะการศึกษาเรียนรู้ ‪ไม่เคยหยุดเรียนรู้‬ เมื่ออายุ 14 ปี เด็กชาย William Kamkwamba

ความสุขประเทศไทย
PDPA Icon

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save