งานจิตอาสา
จิตอาสาเป็นใจที่นึกถึงผู้อื่น ต้องการช่วยแบ่งเบาความทุกข์ แบ่งปันความสุข คงเป็นเรื่องดีถ้าเราได้ทำงานอาสาเพื่อสังคมขนาดใหญ่ เช่น ดับไฟป่า เก็บขยะในทะเล ปลูกหญ้าทะเล แต่ถ้าเรายังไม่มีเวลาขนาดนั้น เราจะทำงานจิตอาสาเล็กๆ ก็ได้ เช่น การแยกขยะเศษอาหารช่วยให้คนงานเก็บขยะทำงานง่ายขึ้น การสละคิว สละที่นั่งให้ผู้ที่มีความจำเป็นมากกว่า
นอกจากได้ชื่นชมกับผลงานที่เราทำสำเร็จแล้ว ลองสังเกตใจของเราเมื่อได้ทำเรื่องสิ่งเหล่านี้ ลองดูว่าใจของเราในตอนนั้นว่าพองหรือแฟ่บอย่างไร
I SEE U จิตอาสาข้างเตียง
ความตายเป็นสิ่งที่ทุกคนหนีไม่พ้น…ทุกคงต้องได้เผชิญกับสถานการณ์คนรอบตัวที่กำลังจะหมดหายใจไม่วันใดก็วันหนึ่ง…ถ้าถึงวันนั้น…วันที่คุณต้องไปเยี่ยมผู้ป่วยที่รู้ตัวว่ากำลังจะตาย…คุณจะปฏิบัติตัวอย่างไรเพื่อให้ผู้ป่วยจากโลกนี้ไปด้วยหัวใจสงบ “สู้ๆ นะ เป็นคำที่ผู้ป่วยที่รู้ตัวว่ากำลังจะตายฟังแล้วยิ่งหมดกำลังใจ บางคนอาจเบือนหน้าหนีเพราะเขารู้ว่าเขากำลังจะเป็นผู้แพ้ สิ่งที่ผู้ป่วยระยะสุดท้ายต้องการอาจไม่ใช่คำพูดใดๆ แต่แค่การมีใครสักคนจับมือ อยู่เคียงข้างจนเขารู้สึกผ่อนคลายและจากไปอย่างสงบด้วยพลังที่เราส่งให้เขาเท่านั้นเอง”
ภารกิจเพื่อจิตอาสารามาธิบดี
เช้าวันจันทร์ ณ ห้องประชุมกลุ่มจิตอาสา โรงพยาบาลรามาธิบดี “เดี๋ยวน้องคนนี้ไปช่วยงานแผนกพับผ้าสำหรับห้องผ่าตัด ส่วนคนนี้ไปแผนกไปรษณีย์ อีกคนหนึ่งไปห้องอาหารนะคะ” เสียงคุณธานัท อนินชลัย หรือคุณฝน พยาบาล ผู้ดูแลโครงการจิตอาสา รามาธิบดี กำลังทำหน้าที่แจกจ่ายงานจิตอาสาให้กับอาสาสมัครในโรงพยาบาลรามาธิบดีซึ่งเป็นสถานพยาบาลที่มีคนใช้บริการมากที่สุดแห่งหนึ่งในเมืองกรุงเทพฯ เธอเข้ามาทำงานประจำที่โรงพยาบาลแห่งนี้ตั้งแต่ปี 2555 เป็นต้นมาโดยเริ่มจากงานสร้างเสริมสุขภาพและร่วมดูแลฟาร์มสร้างสุขเพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรแถวรังสิต คลอง13 เลิกใช้สารเคมีก่อนจะย้ายมาดูแลโครงการนี้ตั้งแต่ปี 2559 ที่ผ่านมา
ป้ามล…ไม้ขีดไฟแห่งความหวังของเยาวชนผู้ก้าวพลาด
ปลายเดือนเมษายน 2560 หนังสือพิมพ์ทุกฉบับพาดหัวข่าวหน้าหนึ่งคดีสะเทือนขวัญ เยาวชนอายุ 18 ปีชื่อเล่น “หมูหยอง” ฆ่าคนแล้วให้สัมภาษณ์ว่า “เหมือนฆ่ามด” ป้ามล หรือ ทิชา ณ นคร ผู้อำนวยการศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน (ชาย) บ้านกาญจนาภิเษก หรือ บ้านกาญจนาฯ ติดตามสถานการณ์ข่าวด้วยความห่วงใยลึกๆ
Paper Ranger ฮีโร่จิตอาสาสมุดเพื่อน้อง
เมื่อพูดถึงคำว่า “ฮีโร่” เรามักนึกถึงผู้นำยามวิกฤติที่ช่วยเหลือผู้คนให้รอดพ้นจากอันตราย แต่สำหรับฮีโร่ที่ชื่อ “Paper Ranger” ตัวนี้ เขาจะมาทำหน้าที่บอกกับเราว่า ทุกคนสามารถเป็นฮีโร่จิตอาสาช่วยกันเปลี่ยน “กระดาษเอสี่ใช้แล้วหน้าเดียว” ให้กลายเป็น “สมุดเพื่อน้อง” ได้ด้วยสองมือของเราภายในเวลาไม่กี่นาทีเท่านั้น พูลยศ กัมพลกัญจนา หรือ พี อดีตนักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หนึ่งในผู้เริ่มต้นโครงการ
เปลี่ยนสังคมด้วยโอกาสให้เด็กพิการเปี่ยมสุข
เพราะยากที่คนปรกติจะชัดเจนภาพชีวิตของคนพิการ งานสื่อสารจึงสำคัญ “ก่อนหน้านี้เราไม่เคยเกี่ยวข้องกับเด็กพิการมาก่อน แต่มีเป้าหมายว่าอยากทำงานกับมูลนิธิสักแห่ง ครั้งหนึ่งได้ไปจังหวัดลำปางกับเจ้าหน้าที่มูลนิธิการศึกษาเพื่อชีวิตและสังคม รู้สึกประทับใจเจ้าหน้าที่ผู้หญิงซึ่งมีกัน 3 คน ต้องแบ่งงานรับผิดชอบคนละ 3 หมู่บ้าน กลับจากที่นั่นเราไปเป็นครูที่โรงเรียนบ้านห้วยจะกือ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก กินอยู่ฟรี มีเงินเดือน 3,000 บาท แต่กลับบ้านทีเงินเดือนก็หมดไปกับการเดินทาง ซึ่งถ้าไม่กลับทั้งเราและพ่อแม่ก็คงเป็นห่วงกันและกัน
Happy Dolls Project เติมรอยยิ้มให้ผู้คนด้วยตุ๊กตาจิตอาสา
เด็กดีต้องเชื่อฟังผู้ใหญ่ แต่บางครั้งคำพูดของผู้ใหญ่ที่ไม่ได้ตั้งใจอาจสร้างปมให้เด็กเบนเข็มทิศชีวิตไปอีกทางหนึ่งได้เช่นกัน ด้วยเพราะความไร้เดียงสาเด็กจึงมักฟังเสียงผู้ใหญ่มากกว่าเสียงตัวเอง นงลักษณ์ พิทักษ์ธรรมนาถ หรือ “ลักษณ์” เป็นคนหนึ่งที่เคยมีปมวัยเด็กจากคำพูดของครูชั้นประถมซึ่งบอกว่า “เธอวาดรูปไม่สวยและไม่มีความคิดสร้างสรรค์” ความเสียใจทำให้นงลักษณ์เบนเข็มชีวิตถอยห่างจากงานศิลปะเข้าสู่เส้นทางสายงานคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานนับสิบปี ทว่า เมื่อเดินไปจนสุดทาง ความสุขกลับเริ่มลดลง เธอจึงย้อนกลับมาฟังเสียงหัวใจตนเองเพื่อคลี่คลายปมในใจวัยเด็ก ก้าวผ่านความหวาดกลัวไปสู่ความกล้าหาญ ลงมือออกแบบตุ๊กตาตัวแรกมีรอยยิ้มกว้างเป็นเอกลักษณ์จนเด็กทุกคนที่ได้เห็นมักยิ้มตามไปด้วย เธอจึงตั้งชื่อตุ๊กตาที่ออกแบบจากความคิดสร้างสรรค์ของตนเองตัวแรกว่า “Happy Doll”