การภาวนา
การภาวนาไม่ได้หมายถึงการหลับตาทำสมาธิ หรือการเดินจงกรมเท่านั้น การภาวนาคือการพากายกับใจมาอยู่ด้วยกัน เราสามารถภาวนาได้เสมอ ทุกที่ ทุกเวลา เราจะอนุญาตให้ตัวเองมีเวลาจิบกาแฟเงียบๆ สัก 10 นาทีได้ไหม ภาวนากับถ้วยกาแฟของเรา ที่ไหนก็ได้ เราอาจจะนั่งเงียบๆ ตรงไหนสักแห่งตามลมหายใจไปพร้อมกับรับรู้สิ่งที่เกิดขึ้น รับรู้ความรู้สึกภายใน รับรู้เสียงภายนอก ปราศจากการต่อสู้และเปลี่ยนแปลง เหล่านี้คือการภาวนา
ลองกลับมารับรู้สิ่งที่เป็นอยู่ทั้งในตัวเราและนอกตัวเรา เราอาจจะพบว่าเรากำลังคิดวุ่นวาย เรากำลังรู้สึกหงุดหงิด เราไม่นิ่งเลย เมื่อเรารับรู้ ยอมรับ และยิ้มได้ นี่คือความสุขจากการภาวนา
ความสุขจากการภาวนา
ฉันมีชีวิตอยู่ได้อย่างไร เมื่อไม่มีทั้งมือและเท้า
Corinne Hutton เสียทั้งมือและเท้าเมื่อสองปีก่อน เธอไม่คร่ำครวญว่า “ทำไมต้องเป็นฉัน” แต่กลับคิดว่า ดีแล้วที่ไม่เกิดกับคนอื่น และทุกวันนี้เธอยังคงเปี่ยมไปด้วยความสุขและความหวัง และทำสิ่งต่างๆ ที่เธอรัก เช่น ปีนเขา ขับเครื่องบิน และตั้งองค์กรการกุศล เมื่อสองปีที่แล้ว Corinne มีชีวิตการงานและครอบครัวที่ยุ่งเหยิง งานที่ทำมีความเครียดสูง แต่เธอก็ทน ๆ
เปลี่ยนชีวิตได้ด้วย ‘การรู้คุณ’
ใครเคยอ่านนิทานเรื่อง ‘เสื้อแห่งความสุข‘ ของนักประพันธ์เอกชาวรัสเซีย ลีโอ ตอลสตอย บ้างยกมือขึ้น…. นิทานเรื่องนี้เล่าถึงพระราชาที่สุดแสนจะร่ำรวย แต่ก็พบว่าตัวเองยังไม่มีความสุขเสียที จึงได้เรียกเหล่านักปราชญ์มาปรึกษาหาวิธีที่จะทำให้พระองค์มีชีวิตที่มีแต่ความสุข ประชุมกันอยู่นานก็มีนักปราชญ์คนหนึ่งแนะนำขึ้นมาว่า พระราชาจะต้องออกตามหาผู้ชายที่มีแต่ความสุข แล้วนำเสื้อของเขามาสวมไว้เท่านั้นเอง เรื่องเหมือนจะง่าย แต่ไม่ง่าย เพราะไม่ว่าจะออกตามหาเท่าไร ก็ไม่พบผู้ชายที่มีแต่ความสุขเลยสักคน ทุกคนล้วนมีความทุกข์ในชีวิตไม่เรื่องใดก็เรื่องหนึ่ง จนกระทั่งทหารของพระราชาได้เดินผ่านกระท่อมซอมซ่อหลังหนึ่ง พลันได้ยินเสียงชายในกระท่อมร้องออกมาอย่างปิติว่า
ความสุข (ก็) วิ่งได้
การวิ่งช่วยสลัดความทุกข์ในใจ และได้ความคิดใหม่ๆ ที่สดใสเข้ามาแทนที่ – อ.ณรงค์ เทียมเมฆ – ที่ปรึกษาสมาพันธ์ชมรมเดิน – วิ่งสุขภาพไทย นักวิ่งผู้ริเริ่มจอมบึงมาราธอน ‘กีฬา กีฬา เป็นยาวิเศษ แก้กองกิเลสทำตนให้เป็นคน ผลของการฝึกตน เล่นกีฬาสากล ตะละล้า…’ เนื้อเพลงกราวกีฬาที่เราร้องคุ้นเคยกันจนติดปากตั้งแต่อนุบาล
สบตากับความตาย มองหาความหมายของชีวิต
เมื่อเอ่ยถึง ‘ความตาย‘ ปฏิกริยาของคนส่วนใหญ่ที่มีต่อคำนี้อาจแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ กลุ่มที่ 1 ‘หวาดกลัว’ ความตายถือเป็นคำต้องห้าม เป็นลางร้าย จะนำความสูญเสียโชคร้ายมาสู่คนที่พูด กลุ่มที่ 2 ‘ท้าทาย’ ทุกคนเกิดมาแล้วต้องตาย เราจะใช้ชีวิตอย่างไรก็ได้ เพราะที่สุดแล้วก็ต้องตายอยู่ดี อย่างไรก็ตาม แม้จะมีท่าทีกับความตายที่แตกต่างกัน แต่ทว่าสิ่งที่น่าเศร้าที่สุดที่เหมือนกันของคนทั้ง 2
ทำบุญ ‘เป็น’ เห็น ‘ความสุข’
จะว่าไปแล้วเรื่องของการ ‘ทำบุญ‘ เป็นสิ่งที่ใกล้ชิดกับคนไทยมาทุกยุคสมัย โดยเฉพาะเวลาที่มีความทุกข์ หลายคนมักจะได้รับคำแนะนำให้ไปทำบุญ ซึ่งในสายตาของคนรุ่นใหม่ อาจเกิดคำถามขึ้นในใจว่า การทำบุญ ซึ่งดูคล้ายเป็นเรื่องภายนอกนั้น จะไปเกี่ยวพันหรือส่งผลกับทุกข์สุขที่เกิดขึ้นในใจได้อย่างไร? เคยมีคำกล่าวว่า ต้นไม้จะมีคุณค่าก็ต่อเมื่อได้แผ่กิ่งก้านให้ความร่มเย็นแก่ผู้คนบนโลก พืชพรรณจะมีประโยชน์ก็ต่อเมื่อผลิดอกออกผล แม้บางครั้งอาจไม่ช่วยให้อิ่มท้อง แต่ก็ให้ความชื่นตาชื่นใจแก่ผู้พบเห็น ส่วนมนุษย์คนหนึ่งจะสมบูรณ์ได้นั้น
การให้อภัยที่ยากยิ่ง แต่เป็นไปได้
แม้ลูกชายถูกฆ่าตาย…แต่พ่อสามารถให้อภัยและกลายเป็นคุณพ่ออุปถัมภ์ของฆาตกรได้ เมื่อคนรักลืมวันเกิดเรา เรางอนไปหลายวัน เมื่อเพื่อนลืมไม่ชวนเราไปเที่ยวสนุก เราแอบขุ่นเคืองในใจ ในชีวิตมีเรื่องเล็ก ๆ มากมายที่เราไม่อยากจะให้อภัยง่าย ๆ แล้วหากเจอเรื่องใหญ่กว่านี้ล่ะ เช่น หุ้นส่วนธุรกิจโกงเงินและทำให้คุณล้มละลาย หากมีใครทำให้ลูกสุดที่รักของคุณตาย หากคนรักนอกใจคุณ แล้วคุณจะให้อภัยคนเหล่านี้ได้อย่างไร… เมื่อปี 1995 ลูกชายของ Azim Khamisa