การภาวนา
การภาวนาไม่ได้หมายถึงการหลับตาทำสมาธิ หรือการเดินจงกรมเท่านั้น การภาวนาคือการพากายกับใจมาอยู่ด้วยกัน เราสามารถภาวนาได้เสมอ ทุกที่ ทุกเวลา เราจะอนุญาตให้ตัวเองมีเวลาจิบกาแฟเงียบๆ สัก 10 นาทีได้ไหม ภาวนากับถ้วยกาแฟของเรา ที่ไหนก็ได้ เราอาจจะนั่งเงียบๆ ตรงไหนสักแห่งตามลมหายใจไปพร้อมกับรับรู้สิ่งที่เกิดขึ้น รับรู้ความรู้สึกภายใน รับรู้เสียงภายนอก ปราศจากการต่อสู้และเปลี่ยนแปลง เหล่านี้คือการภาวนา
ลองกลับมารับรู้สิ่งที่เป็นอยู่ทั้งในตัวเราและนอกตัวเรา เราอาจจะพบว่าเรากำลังคิดวุ่นวาย เรากำลังรู้สึกหงุดหงิด เราไม่นิ่งเลย เมื่อเรารับรู้ ยอมรับ และยิ้มได้ นี่คือความสุขจากการภาวนา
ความสุขจากการภาวนา
เส้นทางความสุข : การเคลื่อนไหวร่างกาย
ถ้าเราทำความเข้าใจกับเนื้อตัวร่างกายของเราเองอย่างลึกซึ้ง จะเห็นว่าร่างกายที่มันขับเคลื่อนไปนี้มีสิ่งซึ่งสถิตอยู่ข้างในก็คือ ‘ใจ’ ทำอย่างไรให้กายกับใจอิงอาศัยซึ่งกันและกันอย่างเกื้อกูล ตั้งแต่เราเริ่มจำความได้ นับจากวัยเด็กเล็กที่เริ่มเรียนรู้จักร่างกาย ตลอดชีวิตที่ผ่านมาเราเฝ้าสาละวนแต่งเสริมเติมสวยให้อวัยะส่วนต่างๆ ของร่างกาย เราอยากแข็งแรง อยากสูง อยากผอม อยากดูดีในสายตาของคนอื่นๆ….แต่จะมีสักครั้งไหม ที่เราจะหันมาตระหนักว่า แท้จริงแล้วร่างกายนี้คือพื้นที่อันเป็นที่อยู่ของ ‘ใจ’ ซึ่งเราควรจะเฝ้าดูแลและพิจารณาเพื่อให้นำทางเราไปถึงซึ่งความสุขที่ยั่งยืน
อดีตพ่อค้ายาเสพติด เปลี่ยนชีวิตตนเอง มุ่งเรียนในสิ่งที่ตนรักจนจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยชั้นนำของสหรัฐ
David Norman เด็กข้างถนนที่ใช้ชีวิตเข้า ๆ ออก ๆ คุก เพราะการค้ายา การใช้สารเสพติดและคดีฆาตกรรม แม้ไม่เคยไปโรงเรียน ระหว่างอยู่ในคุกเขาหันมาสนใจการอ่านและเปลี่ยนชีวิตไปโดยสิ้นเชิงเมื่อเขาเห็นคุณค่าของตนเอง #คุกเปลี่ยนชีวิต : ผมไม่ได้ถูกจับ ผมได้รับการช่วยเหลือต่างหาก David เป็นเด็กขี้อาย เริ่มดื่มเหล้าเมื่ออายุราว 10 ปี
ผสานพลังการทำสมาธิ + การวิ่ง ลดความคิดฟุ้งซ่านและอาการซึมเศร้าได้
เสริมพลังต้านความฟุ้งซ่าน ด้วยการผนวกการทำสมาธิเข้ากับการออกกำลังกาย งานวิจัยใหม่พบว่าการผสมผสานการทำสมาธิและการวิ่งจะช่วยลดภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยได้ และทำให้คนธรรมดามีสมาธิดีขึ้นและมีความสุขมากขึ้นด้วยเช่นกัน มาลองทำกันดูไหม…? อาการอย่างหนึ่งที่พบในผู้ป่วยภาวะซึมเศร้า คือ ไม่สามารถหยุดคิดถึงเรื่องที่เศร้าๆ และความหลังฝังใจได้ อาการคิดซ้ำๆ ย้ำไปมานี้ น่าจะเกี่ยวข้องกับสมอง 2 ส่วน คือ prefrontal cortex ซึ่งเป็นส่วนที่ทำงานเกี่ยวกับความสามารถในการจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง และสมองส่วน hippocampus
เติมสุขในบ้านด้วยการภาวนา
การภาวนาต้องทำด้วยความสุข ความสุขจากการภาวนาจะเกิดขึ้นเองโดยไม่มีใครบังคับ พอเกิดขึ้นแล้วเราจะใช้ชีวิตสบายขึ้น มีความสุขง่ายขึ้น มันจะไม่มีความรู้สึกต้องไปตามหาอะไรมากมายอีกแล้ว หลายปีก่อน ‘การภาวนา’ มักนิยมปฏิบัติกันเฉพาะกลุ่มผู้สูงวัย คุณปู่-คุณย่า คุณตา-คุณยาย ไปวัด ลูกหลานก็อยู่บ้านกันไป . ต่อมากลุ่มคนรุ่นใหม่เริ่มสนใจการภาวนา ลูกวัยทำงานเริ่มมาฝึกภาวนา พ่อแม่ก็อยู่บ้าน บางบ้านคุณแม่มาฝึกภาวนา ทิ้งให้พ่อลูกอยู่บ้านดูแลกัน .
การถ่ายภาพเชิงภาวนา
การถ่ายภาพเชิงภาวนา คือการฝึกภาวนาด้วยการมอง เรียนรู้การมองเห็นโลกด้วยมุมมองที่สดใหม่ เกิดเป็นสุขภาวะทางปัญญา มองเห็นความง่ายงามจากสิ่งธรรมดาๆ ที่อยู่รอบตัว หลายคนคงเคยมีประสบการณ์ เมื่อเราออกเดินทางกับเพื่อนสักคน ต่างคนต่างถ่ายภาพระหว่างทาง แต่ทั้งๆ ที่ไปที่เดียวกันแท้ๆ ภาพที่ได้กลับไม่เหมือนกัน ของธรรมดาๆ บางอย่างที่เราไม่เคยสังเกตเห็น เช่น ดอกไม้ริมกำแพง หยดน้ำค้างบนยอดหญ้า เงาของเสาไฟฟ้าที่ทอดยาวบนพื้นถนน บางครั้งคนอื่นกลับมองเห็น และถ่ายทอดออกมาสวยงามจนคาดไม่ถึง
เทคนิคการฝึกสติตลอดวันทำงานของคุณ
คุณอาจเคยมีประสบการณ์เช่นนี้ ตอนเช้าคุณมาถึงที่ทำงานพร้อมแผนการอย่างดีว่าจะทำอะไรบ้าง เวลาผ่านไปมารู้สึกตัวอีกทีก็ตอนกำลังเดินทางกลับบ้านแล้ว เวลากว่า 9 – 10 ชั่วโมงที่ผ่านไป คุณทำงานตามที่ตั้งใจไว้ได้ไม่กี่อย่าง หรือจำไม่ได้ด้วยซ้ำว่าได้ทำอะไรไปบ้างในแต่ละวัน ถ้าคุณเคยเป็นแบบนี้ก็ไม่แปลก เพราะงานวิจัยชี้ว่า คนทั่วไปใช้เวลาเกือบครึ่งหนึ่ง (47%) คิดถึงเรื่องอื่นมากกว่าสิ่งที่กำลังทำตรงหน้า หรือพูดง่าย ๆ คนส่วนมากทำสิ่งต่าง ๆ ไปตามความเคยชินโดยไม่รู้สึกตัว