การภาวนา
การภาวนาไม่ได้หมายถึงการหลับตาทำสมาธิ หรือการเดินจงกรมเท่านั้น การภาวนาคือการพากายกับใจมาอยู่ด้วยกัน เราสามารถภาวนาได้เสมอ ทุกที่ ทุกเวลา เราจะอนุญาตให้ตัวเองมีเวลาจิบกาแฟเงียบๆ สัก 10 นาทีได้ไหม ภาวนากับถ้วยกาแฟของเรา ที่ไหนก็ได้ เราอาจจะนั่งเงียบๆ ตรงไหนสักแห่งตามลมหายใจไปพร้อมกับรับรู้สิ่งที่เกิดขึ้น รับรู้ความรู้สึกภายใน รับรู้เสียงภายนอก ปราศจากการต่อสู้และเปลี่ยนแปลง เหล่านี้คือการภาวนา
ลองกลับมารับรู้สิ่งที่เป็นอยู่ทั้งในตัวเราและนอกตัวเรา เราอาจจะพบว่าเรากำลังคิดวุ่นวาย เรากำลังรู้สึกหงุดหงิด เราไม่นิ่งเลย เมื่อเรารับรู้ ยอมรับ และยิ้มได้ นี่คือความสุขจากการภาวนา
ความสุขจากการภาวนา
ดูแลหัวใจตัวเองกับนักจิตวิทยาชาวอเมริกัน
“เวลาที่เพื่อนเราทำผิดพลาด เรายังให้กำลังใจเขา แต่ทำไมเราจะให้อภัยและให้กำลังใจตัวเองเวลาที่ตัวเราทำพลาดบ้างไม่ได้ล่ะ” Benjamin Weinstein หรือ “เบน” นักจิตวิทยาชาวอเมริกันกล่าวถึงเป้าหมายของการอบรมเรื่อง “การให้ความเมตตาต่อตนเอง” ซึ่งจัดขึ้นเป็นพิเศษให้กับกลุ่มคนทำงานจิตอาสาหรือคนทำงานด้านสังคมในเมืองไทยมาตั้งแต่ปี 2560 ที่ผ่านมา เขากล่าวถึงเหตุผลที่อยากจัดอบรมให้กลุ่มคนทำงานตรงนี้ว่า คนทำงาน “เพื่อคนอื่น” มักละเลยการดูแลหัวใจตนเอง จนทำให้ขาดความสุขในการทำงานเพราะมักคาดหวังว่าตนเองควรช่วยเหลือคนให้ได้มากกว่าที่เป็นอยู่
ภาวนาเปลี่ยนข้างใน : ความสุขไม่มีลิขสิทธิ์
“การเจริญสติเป็นแกนกลางการอบรมทุกกิจกรรมของเสมสิกขาลัย การภาวนาต้องอยู่ในทุกขุมขนของสิ่งที่เราทำ” ปรีดา และพูลฉวี เรืองวิชาธร ยืนยันในแนวทางเดียวกัน ทั้งคู่เป็นกระบวนกร หรือผู้นำการอบรมของเสมสิกขาลัย องค์กรพัฒนาเอกชนที่เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ทางเลือก ที่ใช้การภาวนาเป็นแกนหลักของทุกกิจกรรมที่ทำ กระบวนกรทั้งคู่ย้อนความเป็นมาของแนวคิดและแนวทางที่ดำเนินมาให้ฟังว่า กระบวนการอบรมสร้างการเรียนรู้โดยทั่วไปมักมุ่งแต่ด้านเนื้อหา ใส่ข้อมูลให้เกิดความรู้ผ่านการอ่าน การบรรยาย ซึ่งสร้างการเปลี่ยนแปลงในระดับหนึ่ง แต่เขาเห็นว่ายังไม่น่าพอใจเพราะนั่นเป็นการรู้แต่ในหัว ซึ่งโดยหลักการทั่วไปทุกคนก็รู้อยู่แล้วว่าเป็นอย่างไร อะไรที่ควรทำ แต่หากไม่ได้เปลี่ยนมาจากข้างในจิตสำนึกจะไม่ค่อยเปลี่ยน อย่างเรื่องสิ่งแวดล้อมเรารู้หมดแหละว่าจะลดการทำลายสิ่งแวดล้อมด้วยวิธีไหนได้บ้าง จะดูแลรักษาอย่างไร เห็นชาวบ้านทุกข์ยากก็รู้อยู่ว่าเขาควรได้รับอะไร เราสนใจประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม
โคริงกะ…มองเห็นใจตนเองผ่านการจัดดอกไม้สไตล์ญี่ปุ่น
“การจัดดอกไม้แบบโคริงกะเป็นเรื่องของการพัฒนาจิตวิญญาณที่อยู่ด้านใน เราจึงต้องเริ่มจากตัวเราเองก่อน ตั้งแต่ฝึกฝนวิธีจัดดอกไม้จนเห็นการสื่อสารของพืชและเห็นคุณประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดดอกไม้ จนกระทั่งเราเริ่มเกิดความมั่นใจว่าพลังธรรมชาตินั้นยิ่งใหญ่และสามารถช่วยทำให้คนมีความสุขได้ เราจึงขยับขึ้นมาเป็นวิทยากรสอนคนอื่นต่อไป” อาจารย์รัตนาภรณ์ ศรีอร่ามมณี หรือครูนุช อธิบายถึงหัวใจสำคัญของการจัดดอกไม้แบบโคริงกะด้วยรอยยิ้มสดใสพร้อมทั้งอธิบายถึงความหมายของคำว่า “โคริงกะ” โดยละเอียดว่า “โค”แปลว่า แสงสว่าง, “ริง” แปลว่า วงกลม ส่วนคำว่า “กะ” มาจากคำว่า ดอกไม้
แผนที่สู่ความสุขบนเส้นทางนพลักษณ์
ช่วงหนึ่งของชีวิตก่อนได้เจอนพลักษณ์ อัญชลี อุชชิน บอกว่าเธอรู้สึกบางช่วงเหมือนตัวเองเป็นคนบ้า มักหงุดหงิดกับเรื่องเล็กๆ แค่เดินเข้าบ้านมาแล้วแม่ถามว่าวันนี้เป็นไงบ้าง หรือย้อนกลับไปถึงตอนเรียนมหาวิทยาลัย เธอเข้าร่วมทำกิจกรรมทางสังคมกับกลุ่มเพื่อนนักศึกษา แต่ขณะเดียวกันก็หวงความเป็นส่วนตัว และเบื่อหน่ายรำคาญกับการต้องเข้าร่วมวงคุยกับใครต่อใคร “คิดว่าเราเป็นโรคประสาทหรือเปล่า ชอบอยู่คนเดียว ไม่ชอบยุ่งกับใครและไม่ชอบให้ใครมายุ่ง แต่เวลาทำกิจกรรมมันมีจุดที่ต้องไปอยู่รวมกัน ไปร่วมประชุม ร่วมแก้ปัญหาสังคม ต้องอยู่ท่ามกลางคนเยอะๆ ต้องคุย ด้านหนึ่งก็อยากเข้าร่วม ด้านหนึ่งก็อยากมีโลกส่วนตัว
รอยยิ้มแห่งความสุขบนเส้นทางภาวนา
“เมื่อก่อนเงื่อนไขในชีวิตเยอะมาก ต้องไปกินข้าวเฉพาะร้านที่ชอบ แต่งตัวดูดีตั้งแต่หัวจรดเท้า หงุดหงิดและโกรธง่ายจนนักศึกษาไม่กล้ามาขอสอบด้วยเพราะขึ้นชื่อว่าดุ” อาจารย์วรวรรณ วัฒนาวงศ์สว่าง หรืออาจารย์แอนประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์สื่อความหมายและความผิดปกติของการสื่อความหมาย คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เริ่มต้นบทสนทนาด้วยการย้อนอดีตก่อนค้นพบหนทางเปลี่ยนแปลงตนเอง “ตอนนี้เงื่อนไขในชีวิตลดลง โกรธน้อยลง ฟุ่มเฟือยน้อยลง ความอยากน้อยลง ทุกข์น้อยลง วิธีการพูดกับคนอื่นและวิธีแต่งตัวต่างไปจากเดิมเลย”
ภารกิจเตรียมตัวตายอย่างมีความสุขกับชายหนุ่มชื่อ “มาร์ท”
ถ้าคุณรู้ตัวว่ากำลังจะตาย หรือคนที่คุณรักกำลังจะตาย คุณจะรู้สึกอย่างไร ความกลัวมักเป็นความรู้สึกแรกที่มาเยือน ตามมาด้วยความเศร้า สัญลักษณ์ของความตายจึงเป็น “สีดำ” และ “ควันธูป” ไม่มีใครอยากเอ่ยถึงความตายเพราะกลัวเป็นลางร้ายของชีวิต ความตายจึงเป็นสิ่งที่มนุษย์ทำใจยอมรับได้ยากมากที่สุด และคงจะยากมากขึ้นไปอีกหากต้องเปลี่ยนมุมมองต่อความตายจาก “ความเศร้า” เป็น “ความสุข”