ความสัมพันธ์
ในความเป็นมนุษย์เราต่างมีปฏิสัมพันธ์กัน พร้อมกันนั้นความสัมพันธ์ก็สร้างทั้งทุกข์และสุขให้แก่เรา เรามักให้อภัยคนอื่นได้ง่ายกว่าให้อภัยคนในครอบครัว และเราเจ็บช้ำกว่าเมื่อถูกทำร้ายโดยคนใกล้ตัว ความสัมพันธ์ที่เข้าอกเข้าใจทั้งตัวเราและผู้อื่นจึงเป็นช่องทางเข้าถึงความสุขในระยะยาวได้จนถึงบั้นปลายของชีวิต
เครื่องมือสำคัญชิ้นหนึ่งสำหรับดูแลความสัมพันธ์คือทักษะการฟัง วางความคิด คำแนะนำ คำตอบของเราลงก่อน เปิดหูและเปิดใจฟัง ฟังคำพูด ฟังน้ำเสียง ฟังท่าทาง ฟังการนิ่งเงียบ เผื่อว่าเราอาจจะได้ยินสิ่งที่เขาไม่ได้พูดออกมา นี่คือเคล็ดลับหนึ่งของความสุขจากความสัมพันธ์
ครูณา…สร้างสายใยรักในครอบครัวด้วยโรงเรียนพ่อแม่
“ที่นี่บ้านผม คุณนั่นแหละออกไปจากบ้านนี้” เสียงสามีท้าทายภรรยาหลังจากทะเลาะกันถี่ขึ้นทุกวัน แม่ลูกสองเก็บเสื้อผ้าใส่กระเป๋าด้วยน้ำตานองหน้า พาลูกชายสองคนขับรถออกจากบ้านจังหวัดนครสวรรค์ไปจนถึงอยุธยา นั่งร้องไห้ระบายความเสียใจพร้อมกับคำถามมากมายผุดขึ้นในใจ เกิดอะไรขึ้นกับผู้หญิงที่คนรอบข้างต่างยกย่องว่าประสบความสำเร็จในชีวิตอย่างเธอ? อดีตวิศวกรการสื่อสารผู้มีอนาคตไกลแต่ตัดสินใจลาออกเพื่อกลับมาเปิดโรงเรียนสอนเสริมแห่งแรกในจังหวัดบ้านเกิดจนประสบความสำเร็จมีสาขาถึงสามแห่ง
ชัยฤทธิ์ อิ่มเจริญ ผู้ส่งมอบ “ฟาร์มสุข” ผ่านไอศกรีม
เมื่อเอ่ยถึง “ไอศกรีม” หรือ “ไอติม” ทุกคนคงนึกถึงความสุขและรอยยิ้มระหว่างการลิ้มรสความหวานเย็นชื่นใจ ไอศกรีมจึงเป็นสัญลักษณ์แห่งความสุขของมนุษย์อย่างหนึ่ง ยิ่งสำหรับเด็กๆ แล้ว ไอศกรีมแสนอร่อยยี่ห้อดังย่อมเป็นที่ปรารถนาให้ได้สัมผัสที่ปลายลิ้นยิ่งนัก ตามปกติ เวลาใครอยากเลี้ยงเด็กตามสถานสงเคราะห์ต่างๆ คนส่วนใหญ่มักนึกถึงไอติมกะทิสดสีขาวถังใหญ่เพราะราคาเหมาะสมกับการเลี้ยงเด็กจำนวนมาก เด็กๆ จึงได้กินไอติมสีขาวโพลนหวานมันกันจนชินลิ้น ลองคิดดูว่า ถ้าวันหนึ่งมี “ใครสักคน” ลงมือทำไอศกรีมที่ผลิตด้วยวัตถุดิบชั้นดี พร้อมท็อปปิ้งแบบจัดเต็มเหมือนร้านไอศกรีมชื่อดังไปแจกเด็กเหล่านี้ แววตาของเด็กน้อยจะมีความสุขมากเพียงใดยามปลายลิ้นได้สัมผัสรสชาติที่แตกต่างออกไปจากเดิม
พี่เลี้ยงทางธรรมหัวใจเกินร้อย
จะด้วยพรหมลิขิตหรือธรรมจัดสรร ที่ทำให้การถูกไล่ออกจากโรงเรียนในวัยเด็กของคุณกะปอม จิรายุ แก้วพะเนาว์ ส่งผลให้เขามีโอกาสได้ทำงานเพื่อสังคม และทะนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้สืบทอดสู่เยาวชนจากรุ่นสู่รุ่น ตอนนั้นคิดว่าตัวเองโชคร้ายที่ช่วง ม.3 โดนไล่ออก…ทำให้มีข้อตกลงระหว่างผู้ปกครองกับทางผอ.โรงเรียน ว่าถ้าอยากเรียนต่อม.4 ที่เดิม ต้องไปบำเพ็ญประโยชน์บางอย่างเพื่อปรับปรุงตัว จนเป็นจุดเปลี่ยนให้เด็กชายกะปอมได้มาอยู่ที่ยุวพุทธ เตรียมบวชในโครงการสามเณรใจเพชร เพื่อเอาใบประกาศไปยื่นให้ทางโรงเรียน เป็นการการันตีว่ายอมเปลี่ยนแปลงตัวเอง และจะได้เรียนต่อในโรงเรียนชื่อดังที่เดิมต่อไป
ครอบครัวเข้าใจกัน คือรากฐานของความสุข
ชีวิตที่มีปริญญาถึงสามใบ แต่จัดการกับความรักความรู้สึกไม่ได้ เราจะมีไปทำไม เสียงสะท้อนจากใจของอดีตวิศวกรหญิงที่ค้นพบเสียงเรียกร้องภายในว่าอะไรคือสิ่งที่ตัวเองค้นหามาตลอดชีวิต ครูณา อังคณา มาศรังสรรค์ ผู้หญิงตัวเล็กๆ ที่ทิ้งทุนเรียนต่อดร.ประเทศญี่ปุ่น หลังจากรู้ว่าตัวเองมีพรแสนวิเศษ ในการเข้าใจความสัมพันธ์ของเด็กๆ ที่เกิดขึ้นกับพ่อแม่ มากกว่างานที่ทำในสายวิชาชีพ
สุขร่วมกันด้วยฉันทามติ
หากมองเรื่องทีมเวิร์คเป็นเรื่องที่สำคัญในการสร้างองค์กร ชุมชน หรือแม้แต่ครอบครัวที่ดีนั้น หลายๆ ครั้งเรามักมองหาวิธีว่าทำอย่างไรให้เกิดทีมเวิร์คที่ยั่งยืนได้ วันนี้ได้มาสัมภาษณ์กลุ่มหนึ่งที่มีชื่อว่า ‘สายแข็งบุรี’ มีเทคนิคและเครื่องมือในการสร้างทีมแบบง่ายๆ ที่เรียกว่า Consensus แปลว่า ฉันทามติหรือมติเป็นเอกฉันท์
สื่อสารอย่างสันติ เริ่มจากเข้าใจตัวเอง
ในขณะที่คุณเพิ่งกลับบ้านมาเหนื่อยๆ กลับมาเห็นน้องสาวของคุณกำลังนอนดูคลิป ขนมและข้าวของวางกระจัดกระจาย คุณเซ็งสุดๆ เลยพูดไปว่า “แกนี่ วันๆ จะไม่ทำอะไรเลยใช่ม่ะ เอาแต่ติ่งเกาหลี” น้องหันขวับ ตาเขียวปั้ด แล้วพายุน้อยๆ ก็เริ่มขึ้น… แต่ถ้าคุณได้รู้จักศาสตร์หนึ่งที่ชื่อ ‘การสื่อสารอย่างสันติ’ (Nonviolent Communication : NVC)