ความสัมพันธ์
ในความเป็นมนุษย์เราต่างมีปฏิสัมพันธ์กัน พร้อมกันนั้นความสัมพันธ์ก็สร้างทั้งทุกข์และสุขให้แก่เรา เรามักให้อภัยคนอื่นได้ง่ายกว่าให้อภัยคนในครอบครัว และเราเจ็บช้ำกว่าเมื่อถูกทำร้ายโดยคนใกล้ตัว ความสัมพันธ์ที่เข้าอกเข้าใจทั้งตัวเราและผู้อื่นจึงเป็นช่องทางเข้าถึงความสุขในระยะยาวได้จนถึงบั้นปลายของชีวิต
เครื่องมือสำคัญชิ้นหนึ่งสำหรับดูแลความสัมพันธ์คือทักษะการฟัง วางความคิด คำแนะนำ คำตอบของเราลงก่อน เปิดหูและเปิดใจฟัง ฟังคำพูด ฟังน้ำเสียง ฟังท่าทาง ฟังการนิ่งเงียบ เผื่อว่าเราอาจจะได้ยินสิ่งที่เขาไม่ได้พูดออกมา นี่คือเคล็ดลับหนึ่งของความสุขจากความสัมพันธ์
ฟังเป็น เข้าใจ ‘ฅน’
ตอนนั้นพูดอะไรออกไปสักอย่างซึ่งจำไม่ได้แล้ว สิ่งที่จำได้ก็คือ พ่ออึ้งไปเลยจากคำพูดของเรา พ่อเงียบ แล้วหันหลังเข้าบ้าน พ่อไม่ได้พูดอะไร แต่เรารู้สึกทันทีเลยว่าพ่อเสียใจ — นั่นเป็นเหตุการณ์สำคัญที่ทำให้รู้สึกว่า อยากเรียนรู้การฟัง อยากเป็นคนฟังเป็น
มากกว่ารัก
เราทั้งคู่มีความตั้งใจ (intention) ว่าเราจะอยู่ด้วยกัน เพราะความสัมพันธ์นี้มีค่า —มันไม่ใช่ความสัมพันธ์ที่ต่างคนต่างก็ไม่มีใคร หรืออยู่ๆ กันไปแก้เหงา — ไม่ใช่เลยความสัมพันธ์นี้มีค่ามากกว่านั้นมากมายนัก เกินกว่าคำว่ารัก
หมอฟังคนไข้ คนไข้ฟังหมอ
….พอฟังเรื่องราว เห็นความซับซ้อน ก็รู้แล้วว่าการจะบอกว่า ‘คุณย่าคะ คุณย่าต้องแปรงฟันให้หลานก่อนนอนทุกคืน คุณย่าต้องดูแลการกินของหลาน’ บลาๆๆ แบบที่เรียนมา มันใช้ไม่ได้ในบริบทนี้….
ไฟสงคราม กับสายธารของการแพทย์เพื่อมนุษยธรรม
เมื่อมนุษย์กลุ่มหนึ่งมีความหวังถึงชีวิตที่ดีกว่าของตนเองและกลุ่ม มีความทรงจำของความทุกข์ ความโกรธ ความกลัว มีความโลภ อาฆาตแค้น และต้องการการยอมรับและเคารพในศักดิ์ศรีและอิสรภาพของความเป็นมนุษย์ของตนมากกว่าใคร และเมื่อคนกลุ่มนั้นมีจำนวนผู้คนและอาวุธมากพอ สงครามก็เริ่มขึ้น
พระจันทร์อันเป็นที่รักของพี่
“น้อง” คำนี้มีค่ามาก เพราะแม่บอกกับฉันมาตั้งแต่ยังเด็กว่า “ลูกต้องดูแลน้องให้ดี ไม่ว่าจะตอนนี้ที่แม่ยังมีชีวิตอยู่ หรือแม้แต่ตอนที่แม่แก่และจากไปแล้ว ลูกต้องรักน้องให้มากๆ เพราะลูกมีน้องแค่คนเดียว”