ความสัมพันธ์

ในความเป็นมนุษย์เราต่างมีปฏิสัมพันธ์กัน พร้อมกันนั้นความสัมพันธ์ก็สร้างทั้งทุกข์และสุขให้แก่เรา เรามักให้อภัยคนอื่นได้ง่ายกว่าให้อภัยคนในครอบครัว และเราเจ็บช้ำกว่าเมื่อถูกทำร้ายโดยคนใกล้ตัว ความสัมพันธ์ที่เข้าอกเข้าใจทั้งตัวเราและผู้อื่นจึงเป็นช่องทางเข้าถึงความสุขในระยะยาวได้จนถึงบั้นปลายของชีวิต
เครื่องมือสำคัญชิ้นหนึ่งสำหรับดูแลความสัมพันธ์คือทักษะการฟัง วางความคิด คำแนะนำ คำตอบของเราลงก่อน เปิดหูและเปิดใจฟัง ฟังคำพูด ฟังน้ำเสียง ฟังท่าทาง ฟังการนิ่งเงียบ เผื่อว่าเราอาจจะได้ยินสิ่งที่เขาไม่ได้พูดออกมา นี่คือเคล็ดลับหนึ่งของความสุขจากความสัมพันธ์

3 เทคนิค ฟังให้ Deeeeeeep

 

ฟังอย่างผ่อนคลาย

 

เมื่อจะฟังใครพูด ตั้งสติให้ดี เราจะฟังเท่านั้น ไม่ขัด ไม่ถาม ไม่แทรก ไม่เออออ ไม่ยุยงส่งเสริม ฟังให้เขาพูดจนจบ เมื่อให้เรารับรู้ข้อความทั้งหมดอย่างแท้จริง และสังเกตตัวเองด้วยว่า เรารู้สึกอย่างไร เรามีปฏิกริยาอย่างไร เช่น มือสั่น เราไม่ชอบ ไม่พอใจ หรือโกรธ หายใจเข้าออกลึกๆ รับรู้ตัวของเรา และฟังต่อไป

 

อ่านต่อ

 

 

หรือจะมีแต่คนใกล้ตาย ที่รู้ว่าอะไรสำคัญที่สุดในชีวิต

คุณพ่อชาวสิงคโปร์ เตรียมของขวัญวันเกิดไว้ให้ลูกสาวจนเธออายุ 21 ปี ก่อนที่จะจากไป

มือถือกำลังพรากบางอย่างไปจากชีวิตเราหรือเปล่า

ทุกวันนี้มือถืออาจทำให้เราเชื่อมต่อกับคนทั้งโลก แต่ก็ทำให้เราสูญเสียสิ่งสำคัญของชีวิตไป มีอะไรบ้าง ลองไปดูกันครับ

อาหารที่เรากิน กำลังทำร้ายเราและโลกอยู่หรือเปล่า

บางทีอาหารที่เรากิน อาจกำลังทำลายสุขภาพของเราไปพร้อมกับโลกอย่างที่เราไม่เคยรู้มาก่อน คลิปนี้จะพาเราไปสัมผัสความจริงของวงการอุตสาหรรมอาหารที่ถูกปิดบังมาตลอดครับ

Q: “หนูแต่งงานมา 2 ปีแล้ว แฟนอยากมีลูก แต่หนูไม่มั่นใจ เพราะเป็นแม่ต้องเสียสละมาก หนูควรจะมีหรือไม่คะ”

Q: “หนูแต่งงานมา 2 ปีแล้ว แฟนอยากมีลูก แต่หนูไม่มั่นใจ เพราะการเป็นแม่ต้องเสียสละมาก หนูควรจะมีลูกหรือไม่มีดีคะ อย่างไหนมีความสุขกว่ากัน “ A: ถึง ว่าที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ ที่ไม่แน่ใจว่าจะมีลูกดีหรือไม่?

“ทำไมความสุขถึงมีแป๊ปเดียว แต่ความทุกข์ถึงอยู่นาน”

Q: “ทำไมความสุขถึงมีแป๊ปเดียว แต่ความทุกข์ถึงอยู่นาน” A: ผมคิดว่าเรื่องความสุขความทุกข์นั้นมันไม่มีสั้นหรือยาวครับ เพราะมันเป็นสัจธรรมซึ่งหมายถึงความจริงที่เกิดจากใจตัวเอง

“ความสุข คืออะไรคะ”

Q : “ความสุข คืออะไรคะ” A : ความสุข คือ ความรู้สึกที่เป็นบวก ปลอดโปร่ง ไร้สิ่งบีบคั้น ขณะเดียวกันก็ไม่บีบคั้นกายและใจ พุทธศาสนาเรียกว่า สุขเวทนา ซึ่งมีทั้งความรู้สึกสุขทางกาย และสุขทางใจ (กายิกสุข และเจตสิกสุข) หากแยกประเภทของความสุขตามแหล่งที่มา จะมีสองประเภทใหญ่

ความสุขประเทศไทย
PDPA Icon

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save