ความสัมพันธ์
ในความเป็นมนุษย์เราต่างมีปฏิสัมพันธ์กัน พร้อมกันนั้นความสัมพันธ์ก็สร้างทั้งทุกข์และสุขให้แก่เรา เรามักให้อภัยคนอื่นได้ง่ายกว่าให้อภัยคนในครอบครัว และเราเจ็บช้ำกว่าเมื่อถูกทำร้ายโดยคนใกล้ตัว ความสัมพันธ์ที่เข้าอกเข้าใจทั้งตัวเราและผู้อื่นจึงเป็นช่องทางเข้าถึงความสุขในระยะยาวได้จนถึงบั้นปลายของชีวิต
เครื่องมือสำคัญชิ้นหนึ่งสำหรับดูแลความสัมพันธ์คือทักษะการฟัง วางความคิด คำแนะนำ คำตอบของเราลงก่อน เปิดหูและเปิดใจฟัง ฟังคำพูด ฟังน้ำเสียง ฟังท่าทาง ฟังการนิ่งเงียบ เผื่อว่าเราอาจจะได้ยินสิ่งที่เขาไม่ได้พูดออกมา นี่คือเคล็ดลับหนึ่งของความสุขจากความสัมพันธ์
เยียวยาความทุกข์ของผู้อื่นคือเยียวยาตนเอง
ยังจำพ่อหนุ่ม Brice Royer ที่ป่วยเป็นมะเร็งและกินอะไรไม่เลยนอกจากแครอทได้ไหมครับ ตอนนี้เขาดีขึ้นแล้ว! ย้อนความกันนิดนึง เขาป่วยเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารชนิดประหลาดและเขาเคยคิดฆ่าตัวตายมาก่อน ต่อมาเขาค้นคว้าและพบว่าคนที่มีสุขภาพดีที่สุดในโลกมีอยู่หลายแห่ง เช่น ที่โอกินาวา ประเทศญี่ปุ่น หรือ ที่ Ikaria ประเทศกรีซ สิ่งที่คนเหล่านี้มีเหมือนๆ กัน คือ พวกเขาใส่ใจดูแลกันและกัน พวกเขามีครอบครัวใหญ่
เติมสุขในบ้านด้วยการภาวนา
การภาวนาต้องทำด้วยความสุข ความสุขจากการภาวนาจะเกิดขึ้นเองโดยไม่มีใครบังคับ พอเกิดขึ้นแล้วเราจะใช้ชีวิตสบายขึ้น มีความสุขง่ายขึ้น มันจะไม่มีความรู้สึกต้องไปตามหาอะไรมากมายอีกแล้ว หลายปีก่อน ‘การภาวนา’ มักนิยมปฏิบัติกันเฉพาะกลุ่มผู้สูงวัย คุณปู่-คุณย่า คุณตา-คุณยาย ไปวัด ลูกหลานก็อยู่บ้านกันไป . ต่อมากลุ่มคนรุ่นใหม่เริ่มสนใจการภาวนา ลูกวัยทำงานเริ่มมาฝึกภาวนา พ่อแม่ก็อยู่บ้าน บางบ้านคุณแม่มาฝึกภาวนา ทิ้งให้พ่อลูกอยู่บ้านดูแลกัน .
‘ซ โซ่ อาสา’ พลังขับเคลื่อนสังคมด้วยความรัก
ห่วงเหล็กชิ้นเล็กๆ เพียง 1-2 ชิ้นคงไร้ความหมาย แต่หากนำมาร้อยต่อกันเป็นเส้นยาว จะกลายเป็นสายโซ่อันแข็งแกร่ง เช่นเดียวจิตอาสาหากจับมือร่วมกัน ย่อมมีพลังขับเคลื่อนและสร้างสรรค์สิ่งดีๆ เพื่อชุมชนและสังคม ท่ามกลางความเจริญอย่างไม่หยุดยั้งของกรุงเทพมหานคร ยังมีพื้นที่เล็กๆ ของคนอีกกลุ่มหนึ่งที่มักถูกละเลยและมองข้ามอยู่เสมอ นั่นคือเด็กที่มาจากครอบครัวในชุมชนแออัด ครอบครัวคนไร้บ้าน ที่แม้ความพรั่งพร้อมทางวัตถุจะอยู่ใกล้เพียงปลายจมูก แต่กลับยากเกินกว่าจะไขว่คว้าถึง และนั่นคือเหตุผลที่ทำให้ครูปู่ – ธีระรัตน์ ชูอำนาจ
นิทานสร้าง…..ได้
การรวมกลุ่มของครอบครัวที่มีความทุกข์คล้ายๆ กัน เปรียบเหมือนการสร้างเครือข่ายแห่งความห่วงใย เกิดเป็นพลังที่เกาะเกี่ยวเดินไปข้างหน้าด้วยกันอย่างมีความสุข ไม่อ้างว้างหรือท้อแท้ “ทายสิคะ แม่ตุ่นกำลังจะเล่านิทานเรื่องอะไร?” ทันทีที่แม่ตุ่นชูมือที่ซ่อนไว้ข้างหลังออกมาให้เห็นทั่วกัน เสียงจ้อกแจ้กในห้องก็เงียบลง สายตาทุกคู่จับจ้องอยู่ที่มือของแม่ตุ่น ที่ตอนนี้ปรากฎหุ่นมือตัวนิ่มสีเขียวสด ใบหน้าเป็นรูปกบยิ้มทะเล้นส่งมา “เจ้าชายกบๆ…” หลายเสียงช่วยกันตอบ แม่ตุ่นยื่นหุ่นน้อยในมือไปหาเด็กหญิงคนหนึ่ง คุณแม่ของเด็กน้อยส่งสัญญาณบอกให้ลูกจุมพิตหุ่นน้อย เด็กน้อยจุ๊บเจ้าหุ่นอย่างเอียงอาย ตอนนั้นเองที่แม่ตุ่นพลิกหุ่นกลับอีกด้าน กลายเป็นเจ้าชายหนุ่มรูปหล่อ เรียกเสียงเสียงปรบมือจากทุกครอบครัว
เส้นทางความสุข : การร่วมแรงเป็นชุมชน
วันนี้ชุมชนคงไม่ได้มีความหมายเพียงแค่การอยู่ร่วมกันบนพื้นที่ทางกายภาพ เราอาจรวมกลุ่มเป็นชุมชนกันได้ผ่านทางสังคมออนไลน์ เป็นชุมชนในมิติใหม่ ไม่ปฏิเสธเทคโนโลยี แต่นำมาสร้างสรรค์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด มีคนเคยตั้งคำถามว่า ถ้ามีปลาอยู่ 1 ตัว ทำอย่างไรถึงจะกินได้นานที่สุด บางคนตอบว่าเอาไปหมัก บางคนตอบว่าเอาไปตากแห้ง หนึ่งในคำตอบที่น่าชวนให้คิดที่สุดก็คือ ‘เอาไปแบ่งให้คนอื่น’ การแบ่งปัน เอื้ออาทรซึ่งกันและกัน เป็นความงดงามที่อยู่คู่สังคมไทยมาช้านาน ปรากฎให้เห็นอย่างชัดเจนในการรวมกลุ่มของครอบครัว เครือญาติและชุมชนที่เข้มแข็ง ทว่าน่าเสียดายที่ภาพดังกล่าวกลับค่อยๆ
ความสุขเรียบง่ายที่ชุมชนสามแพร่ง
ช่วงเวลา 2 วันของการจัดงานคือการเปิดพื้นที่สร้างสรรค์ให้ผู้คนในเมืองหลวงที่มีวิถีชีวิตเร่งรีบเคร่งเครียด ได้ย้อนกลับมาเรียนรู้วิถีชีวิตที่ง่ายๆ สบายๆ เต็มไปด้วยรอยยิ้ม การเอื้อเฟื้อแบ่งปัน เกื้อกูลกันด้วยน้ำใจไมตรีอย่างที่ชุมชนแห่งนี้เคยเป็นมาตลอดนับร้อยปี ถ้าเราบินได้เหมือนนก แล้วมีโอกาสอยู่บนฟากฟ้า มองลงมายังพื้นที่กรุงเทพมหานครเพื่อกวาดสายตาหา ‘พื้นที่ของความสุข’ เราคงเห็นผู้คนมากมายกระจุกตัวอยู่ในกล่องสี่เหลี่ยมติดแอร์ที่เรียกว่าห้างสรรพสินค้า แต่เราจะใจชื้นขึ้น เมื่อมองมายังจุดเล็กๆ ใจกลางเมืองหลวงแล้วพบว่า ยังมีพื้นที่ของความสุขที่เรียบง่าย เปี่ยมด้วยรอยยิ้ม ดุจดังโอเอซิสที่มอบความชุ่มชื้นให้กับผู้อยู่อาศัย และผู้ที่มาเยี่ยมเยือนผ่านข้ามกาลเวลามาแล้วเป็นเวลาเนิ่นนาน