ความสัมพันธ์
ในความเป็นมนุษย์เราต่างมีปฏิสัมพันธ์กัน พร้อมกันนั้นความสัมพันธ์ก็สร้างทั้งทุกข์และสุขให้แก่เรา เรามักให้อภัยคนอื่นได้ง่ายกว่าให้อภัยคนในครอบครัว และเราเจ็บช้ำกว่าเมื่อถูกทำร้ายโดยคนใกล้ตัว ความสัมพันธ์ที่เข้าอกเข้าใจทั้งตัวเราและผู้อื่นจึงเป็นช่องทางเข้าถึงความสุขในระยะยาวได้จนถึงบั้นปลายของชีวิต
เครื่องมือสำคัญชิ้นหนึ่งสำหรับดูแลความสัมพันธ์คือทักษะการฟัง วางความคิด คำแนะนำ คำตอบของเราลงก่อน เปิดหูและเปิดใจฟัง ฟังคำพูด ฟังน้ำเสียง ฟังท่าทาง ฟังการนิ่งเงียบ เผื่อว่าเราอาจจะได้ยินสิ่งที่เขาไม่ได้พูดออกมา นี่คือเคล็ดลับหนึ่งของความสุขจากความสัมพันธ์
ความรักหล่นหาย หรือ เรามองไม่เห็น ?
มีใครบางคนเคยตั้งข้อสังเกตว่า สาเหตุของความยุ่งเหยิงและขัดแยังบนโลกใบนี้ ส่วนหนึ่งน่าจะเกิดขึ้นเพราะพวกเราเป็นมนุษย์ที่ ‘ขาดความรัก’ ซึ่งก็น่าแปลกใจเหลือเกินว่า พวกเราพากันทำความรักหล่นหายไปที่ตรงไหน ? หรือแท้จริงแล้วความรักไม่ได้หาย…แต่เป็นตัวเราที่สัมผัสถึงมันไม่ได้เอง ? Jim George นักประพันธ์ชาวอเมริกันกล่าวไว้ว่า “Listening is an act of love.” แปลเป็นไทย ๆ
เพราะเปิดใจฟัง รักจึงยั่งยืน
กันยาแต่งงานกับเดชมาร่วมสิบปีแล้ว แต่ ๒-๓ ปีหลังเธอมีปากเสียงกับเขาอยู่เป็นประจำ ไม่ใช่เพราะว่าเขานอกใจเธอ เขายังคงใส่ใจเธอและรับผิดชอบกับครอบครัวไม่แปรเปลี่ยน แต่สิ่งที่เธอทนเขาไม่ค่อยได้ก็คือ เขาชอบโทรศัพท์มาถามเธอแทบทุกเย็นว่าจะกลับบ้านกี่โมง ตอนนี้อยู่ที่ไหนแล้ว ฯลฯ เธอไม่เข้าใจว่าทำไมเขาต้องโทรมาถามบ่อย ๆ ราวกับว่าเธอมีพฤติกรรมไม่น่าไว้วางใจ ระยะหลังเพียงแค่เห็นเบอร์โทรศัพท์ของเขาขึ้นที่หน้าจอ เธอก็หัวเสียทันที บ่อยครั้งที่เธอตวาดใส่เขาทางโทรศัพท์ แต่เขาก็ไม่โกรธเธอ ยังคงพูดกับเธอด้วยดี สิ่งหนึ่งที่เขาขอร้องจากเธอก็คือ ขอให้มากินข้าวบ้านทุกเย็น
3 เทคนิค ฝึกฟังด้วย ‘ใจ’
….เพราะการรับฟังไม่ใช่แค่การได้ยินผ่านหู แต่ต้องรับรู้ด้วย ‘ใจ’……. ทุกวันนี้เหมือนโลกจะเล็กลง เราสามารถติดต่อ พูดคุย อ่าน มองเห็น ได้ยิน คนจากทั่วทุกมุมโลกผ่านเทคโนโลยีการสื่อสาร โลกออนไลน์กลายเป็นโลกเสมือนจริงที่ดูคล้ายจะทำให้เราเข้าใกล้กันมากขึ้น แต่ในทางตรงกันข้าม เรากลับพบว่าเราโดดเดี่ยว แตกแยก ห่างเหินจากกันและกันมากขึ้นทุกทีในโลกชีวิตจริง ถ้าไม่นับข้อความผ่านแชทในช่องทางต่าง ๆ จำได้ไหมว่า…เราได้พูดคุย สบตา สนทนากับคนที่เรารักครั้งสุดท้ายเมื่อไร
คุยอย่างไร ให้เข้าใจและไม่ให้โกรธกัน
ที่เราไม่เข้าใจกันอาจไม่ใช่เพราะคุยคนละเรื่องแต่เพราะคุยคนละรูปแบบต่างหาก มาเข้าใจการสนทนาสองรูปแบบกัน… การสนทนาอาจเป็น “พร” หรือ “คำสาป” ก็ได้ และเป็นปัญหาที่พบบ่อยสุดในความสัมพันธ์ เพราะการสื่อสารเป็นพื้นฐานของความสัมพันธ์แต่ก็มีความซับซ้อนที่จะทำอย่างถูกต้อง หลายคนพยายามศึกษาเทคนิคในการสื่อสารสารพัดซึ่งก็ชวนสับสน เราขอสรุปรวบยอดว่าการพูดคุยมีสองรูปแบบใหญ่ ๆ เท่านั้น คือ การแลกเปลี่ยน และ เพื่อแก้ปัญหา โดยการสนทนาสองแบบนี้มีจุดหมายต่างกัน คุยแบบแลกเปลี่ยน ก็เพื่อแบ่งปันความรู้สึก มุมมอง
ผลของความดี – บริจาครถพยาบาลไม่ทันไร ก็ได้ใช้บริการเอง
หลังจากที่คู่สามีภรรยาสูงอายุตระกูล Good ได้รางวัลจากการจับสลากที่โรงพยาบาล St.John ที่ประเทศนิวซีแลนด์ พวกเขาตัดสินใจบริจาคเงินเพื่อซื้อรถพยาบาลมูลค่า 180,000 เหรียญให้แก่โรงพยาบาลชุมชนเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา แค่อีก 3 เดือนต่อมา Beryl Good อายุ 71 ปี เกิดลื่นล้มที่ระเบียงหน้าบ้านและแขนหัก และรถพยาบาลที่มารับตัวเธอไปมีชื่อว่า Dobegoo ซึ่งเป็นชื่อรวมกันของสองสามีภรรยาที่บริจาครถคันนี้นั่นเอง (Douglas
น้ำใจ Delivery
ปฏิเสธไม่ได้ว่าธุรกิจบริการยุคนี้ หัวใจสำคัญอยู่ที่ ‘ความรวดเร็ว’ เรียกว่าใครอยากพิชิตใจลูกค้า ต้องแทบจะส่งมอบสินค้าให้ลูกค้าได้ภายในหลักวินาที หากช้าเมื่อไรโอกาสที่ลูกค้าจะเกิดอาการ ‘เธอปันใจ’ เป็นไปได้มากเหลือเกิน ดังนั้น เมื่อมีกระดาษชิ้นเล็กๆ เขียนข้อความถึงพนักงานส่งอาหารคนหนึ่งทำนองว่า ‘ไม่ต้องรีบร้อนมาส่งอาหารมากนัก แต่ให้คิดถึงความปลอดภัยของตัวเองให้มากๆ’ ข้อความนั้นจึงถูกกระหน่ำแชร์ในโลกโซเชียลอย่างถล่มทลาย