ความสัมพันธ์
ในความเป็นมนุษย์เราต่างมีปฏิสัมพันธ์กัน พร้อมกันนั้นความสัมพันธ์ก็สร้างทั้งทุกข์และสุขให้แก่เรา เรามักให้อภัยคนอื่นได้ง่ายกว่าให้อภัยคนในครอบครัว และเราเจ็บช้ำกว่าเมื่อถูกทำร้ายโดยคนใกล้ตัว ความสัมพันธ์ที่เข้าอกเข้าใจทั้งตัวเราและผู้อื่นจึงเป็นช่องทางเข้าถึงความสุขในระยะยาวได้จนถึงบั้นปลายของชีวิต
เครื่องมือสำคัญชิ้นหนึ่งสำหรับดูแลความสัมพันธ์คือทักษะการฟัง วางความคิด คำแนะนำ คำตอบของเราลงก่อน เปิดหูและเปิดใจฟัง ฟังคำพูด ฟังน้ำเสียง ฟังท่าทาง ฟังการนิ่งเงียบ เผื่อว่าเราอาจจะได้ยินสิ่งที่เขาไม่ได้พูดออกมา นี่คือเคล็ดลับหนึ่งของความสุขจากความสัมพันธ์
การสื่อสารอย่างสันติ : นำสู่กัลยาณมิตร
ที่ใดมีคนมากกว่า 1 คนขึ้นไปย่อมยากที่จะไม่มีความขัดแย้ง คำถามจึงไม่ใช่จะทำอย่างไรจึงจะไม่เกิดความขัดแย้งใดๆเลย แต่ปัญหาคือ จะบริหารจัดการกับความขัดแย้งอย่างไรจึงจะสร้างสรรค์สันติและก่อเกิดเป็นกัลยาณมิตร ความมีเมตตา มีสัมมาทิฐิ ย่อมนำมาซึ่งสติและมีใจที่เป็นกลาง คลายความยึดมั่นถือมั่นและเข้าใจผู้อื่นอย่างกระจ่างแจ้งยิ่งขึ้น ซึ่งนั่นจะทำให้ความขัดแย้งไม่ใช่ความน่ากลัว แต่หาก ปฎิสัมพันธ์ของคู่กรณีอัดแน่นไปด้วยอคติ และทิฐินั่นก็ย่อมทำให้ความขุ่นเคืองชิงชัง ความรุนแรงขยายยิ่งขึ้นอย่างยากจะเยียวยา ความขัดแย้งตั้งแต่ระดับ คู่รัก ครอบครัว กระทั่งประเทศชาติ หากไม่ได้รับการแก้ปัญหาที่ถูกต้องก็ย่อมแผ่ขยายลุกลามบานปลายไปอย่างน่ากลัว
ชุมชนนิเวศน์ : สถานพักผ่อนแห่งจิตวิญญาณ
โลกยุคดิจิตอล… ผู้คนส่วนใหญ่หลงใหลไปกับแสงสีเสียง เทคโนโลยี่ และวัฒนธรรมโซเชียลมีเดีย กระทั่งหลงลืมไปแล้ว่า ภูมิปัญญาชาวบ้าน คืออะไร ? ไม่เข้าใจเรื่องการจัดการทรัพยากรให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมประเพณีพื้นถิ่น ในสิ่งที่ดูเหมือนจะรุดไปข้างหน้า ยังมีผู้คนอีกมิใช่น้อย ที่ไร้ความสุข ทั้งเหนื่อยทั้งเครียด ว้าเหว่อ้างว้าง เขาเหล่านั้นเริ่มใฝ่ฝันถึงชีวิตที่เรียบง่ายสงบเย็นดังเป็นมาแต่อดีต และยังคงอยู่แม้ปัจจุบัน ดังเช่นในชุมชนท้องถิ่นอันอบอุ่นไปด้วยความจริงใจไมตรี และนี่เองที่ยังผลให้ผู้คนทั้งต่างแดนและบ้านเรามุ่งสานฝัน สร้าง “วันที่เคยชื่น
Deep Listening : ฟังกันอย่างเมตตากรุณา
ปัญหาใหญ่ของมนุษย์ทุกวันนี้ก็คือ “ไม่มีใครฟังใคร” ทุกคนล้วนแย่งกันพูด ถึงแม้จะฟังก็ฟังแบบแกนๆผ่านๆ หูซ้ายทะลุหูขวา ไม่มีใครใจเย็นพอที่จะฟังใครอย่างลึกซึ้งเพื่อความเข้าใจอย่างแท้จริง ทั้งๆที่ผู้ที่ตกอยู่ในห้วงทุกข์ต่างก็ต้องการระบายความทุกข์ที่อัดอั้นเก็บกด และหวังว่าจะมีใครสักคนที่รับฟังเขาอย่างมีเมตตากรุณา โดยไม่ตำหนิติด่า และไม่ต้องยัดเยียดความคิดใดๆทั้งสิ้น
สุนทรียสนทนา : ชนะร่วมกันอย่างสมานฉันท์
แม้ว่า “การสนทนา” คือชีวิตประจำวันของผู้คนส่วนใหญ่ แต่หลายต่อหลายครั้งมันกลับไม่ได้เป็นไปอย่าง “สุนทรียะ” ซึ่งมักนำมาสู่ความขัดแย้งแตกคอ และแตกแยก หรือแม้แต่เกิดการห่างเหินเย็นชา รากเหง้าแห่งปัญหาก็คือ “ตัวตน” ที่ห่อหุ้มภายในใจของแต่ละคน เช่น การยึดมั่นถือมั่นในชนชั้น ฐานะ ตำแหน่ง วัยวุฒิ สังกัด หรือแม้แต่ความเชื่อส่วนบุคคล (ศาสนา การเมือง
ธรรมยาตรา : การดำเนินด้วยธรรม
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 ธรรม ธรรมะ[ทํา ทํามะ] น. คุณความดี เช่น เป็นคนมีธรรมะ เป็นคนมีศีลมีธรรม คําสั่งสอนในศาสนาฯ ยาตร ยาตรา [ยาด, ยาดตฺรา] ก. เดิน, เดินเป็นกระบวน ธรรมยาตรา (ธรรม +
ราคาของการเปลี่ยนแปลง
ขอเดาว่าครั้งหนึ่งหรือหลาย ๆ ครั้งในชีวิตที่เราทุกคนต่างเคยคิดว่า “เอาล่ะ ฉันจะเปลี่ยนแปลงชีวิตฉันให้มีความสุขมากขึ้นเสียที” หลังจากนั้น อาจจะมีบางคนที่สามารถเปลี่ยนแปลงตัวเองจนสำเร็จ บางคนก็ยังรี ๆ รอ ๆ แล้วก็มีอีกหลายคนที่อาจจะลืมเลือนและไม่ได้ทำอะไรสักอย่าง อะไรคือตัวแปรสำคัญที่ทำให้ใครสักคนลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงชีวิตของตัวเอง? และถ้าการเปลี่ยนแปลงในชีวิตตีเป็นราคาได้ เราคิดว่าราคาของมันจะสูงสักเท่าไร?