การเคลื่อนไหวร่างกาย

ร่างกายของเราต้องการการเคลื่อนไหว ซึ่งนั่นไม่ได้หมายถึงการออกกำลังกายเท่านั้น แต่หมายถึง เ ค ลื่ อ น ไ ห ว — เมื่อร่างกายเราขยับ ระบบประสาทในตัวเราถูกกระตุ้น ต่อมต่างๆ ในร่างกายของเราตื่นตัว และช่วยให้กระปรี้กระเปร่า
เป็นเรื่องดีมากหากเราได้ออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาเป็นประจำ มันดีต่อสุขภาพในระยะยาว และก็ดีมากๆ เช่นกันถ้าเราจะขยับร่างกายอย่างสม่ำเสมอในชีวิตประจำวัน เดินบ้าง ลุกขึ้นจากเก้าอี้ทำงานมาขยับแขนขาบ้าง หรือแม้แต่ขณะที่แปรงฟัน หรือเคี้ยวอาหาร ลองรับรู้การเคี้ยว การขยับของปาก ลิ้น ฟัน เราจะรับรู้ได้ว่าเราโชคดีและร่ำรวยมากที่เรามีฟัน มีลิ้นที่คอยรับรสอาหาร ยิ่งสังเกตบ่อยๆ เราจะยิ่งรู้ว่าร่างกายนี้เป็นบ่อเกิดของความสุข

5 ขั้นตอน มอบของขวัญให้ร่างกาย

  1. กลับมารับรู้ร่างกายในตอนนี้เลย – ตอนนี้อยู่ในอิริยาบทไหน พลังงานในร่างกายเป็นอย่างไร
  2. สำรวจและฟังร่างกาย – สำรวจร่างกายว่าตอนนี้ส่วนไหนส่งเสียงเรียกดังเป็นพิเศษ เมื่อยน่อง ปวดไหล่ ปวดเอว เจ็บมือ ฯลฯ

 

อ่านต่อ

 

 

โยคะเก้าอี้

อยากเล่นโยคะ แต่อายุมาก ปวดข้อ ทรงตัวไม่ดี ยืนได้ไม่นานลอง “โยคะเก้าอี้” ซึ่งมีงานวิจัยรองรับว่า ช่วยบรรเทาความเจ็บปวดที่ข้อ ทำให้สามารถดำรงชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุขมากขึ้น ปัจจุบันมีคนหลายล้านคนเจ็บป่วยจากโรคข้อเสื่อมโดยเฉพาะที่บริเวณส่วนล่างของร่างกาย เช่น สะโพก เข่า ข้อเท้า หรือที่เท้า การทำโยคะเก้าอี้ สามารถลดความเจ็บปวด ช่วยลดการใช้ยา (ลดผลข้างเคียงจากการใช้ยา) และเพิ่มคุณภาพชีวิตได้

เส้นทางความสุข : การเคลื่อนไหวร่างกาย

ถ้าเราทำความเข้าใจกับเนื้อตัวร่างกายของเราเองอย่างลึกซึ้ง จะเห็นว่าร่างกายที่มันขับเคลื่อนไปนี้มีสิ่งซึ่งสถิตอยู่ข้างในก็คือ ‘ใจ’ ทำอย่างไรให้กายกับใจอิงอาศัยซึ่งกันและกันอย่างเกื้อกูล ตั้งแต่เราเริ่มจำความได้ นับจากวัยเด็กเล็กที่เริ่มเรียนรู้จักร่างกาย ตลอดชีวิตที่ผ่านมาเราเฝ้าสาละวนแต่งเสริมเติมสวยให้อวัยะส่วนต่างๆ ของร่างกาย เราอยากแข็งแรง อยากสูง อยากผอม อยากดูดีในสายตาของคนอื่นๆ….แต่จะมีสักครั้งไหม ที่เราจะหันมาตระหนักว่า แท้จริงแล้วร่างกายนี้คือพื้นที่อันเป็นที่อยู่ของ ‘ใจ’ ซึ่งเราควรจะเฝ้าดูแลและพิจารณาเพื่อให้นำทางเราไปถึงซึ่งความสุขที่ยั่งยืน

ผสานพลังการทำสมาธิ + การวิ่ง ลดความคิดฟุ้งซ่านและอาการซึมเศร้าได้

เสริมพลังต้านความฟุ้งซ่าน ด้วยการผนวกการทำสมาธิเข้ากับการออกกำลังกาย งานวิจัยใหม่พบว่าการผสมผสานการทำสมาธิและการวิ่งจะช่วยลดภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยได้ และทำให้คนธรรมดามีสมาธิดีขึ้นและมีความสุขมากขึ้นด้วยเช่นกัน มาลองทำกันดูไหม…? อาการอย่างหนึ่งที่พบในผู้ป่วยภาวะซึมเศร้า คือ ไม่สามารถหยุดคิดถึงเรื่องที่เศร้าๆ และความหลังฝังใจได้ อาการคิดซ้ำๆ ย้ำไปมานี้ น่าจะเกี่ยวข้องกับสมอง 2 ส่วน คือ prefrontal cortex ซึ่งเป็นส่วนที่ทำงานเกี่ยวกับความสามารถในการจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง และสมองส่วน hippocampus

สร้างสมดุลใจกายด้วย ‘โยคะ’

หากจะเอ่ยถึงกิจกรรมการเคลื่อนไหวร่างกายที่ได้รับความนิยม และได้รับความเชื่อมั่นว่าผู้ฝึกจะได้สมาธิจากการฝึกอย่างยิ่งยวด หนึ่งในนั้นจะต้องมีชื่อของ ‘โยคะ’ อยู่ในลำดับต้นๆ อย่างแน่นอน มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่พบว่า ‘โยคะ’ เกิดขึ้นตั้งแต่สมัย 2,500 ปีก่อนพุทธกาล แรกเริ่มเดิมทีเป็นวิถีของพราหมณ์หรือโยคี ที่ใช้ในการฝึกฝนควบคุมจิตให้นิ่งจนเกิดเป็นสมาธิ โยคะในยุคแรกไม่มีท่าทางใดๆ มากที่สุดเป็นแต่เพียงการฝึกสำรวมร่างกายให้เกิดความสมดุลที่สุด เพื่อฝึกให้ลมหายใจหรือปราณเกิดภาวะ ‘นิ่ง’ ที่สุด เข้าสู่การเพ่ง ฌาน

เรียนรู้ใจในกายด้วย ‘ไท้เก๊ก’

การเคลื่อนไหวร่างกายพลิ้วไหวเนิบช้า ดุจดั่งท่วงท่าการร่ายรำของผู้สูงวัยที่เราเห็นกันจนคุ้นชินสายตาตามสวนสาธารณะ อาจทำให้เราเกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนไปว่า ‘ไท้เก๊ก‘ เป็นการออกกำลังกายที่เหมาะเฉพาะสำหรับผู้สูงอายุเท่านั้น ซึ่งในความเป็นจริงแล้วไม่ใช่เช่นนั้นเลย ไท้เก๊กเป็นศิลปยุทธ์จีนที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ เนื่องจากเป็นการเคลื่อนไหวทางกายที่ไม่ได้ใช้แรงปะทะ จึงเหมาะกับทุกเพศทุกวัย สามารถฝึกได้ตั้งแต่เด็กอายุ 3 – 5 ขวบ ความมหัศจรรย์ของไท้เก๊กยังอยู่ที่ผลของการฝึก ที่แม้จะฝึกด้วยรูปแบบเดียวกัน แต่ส่งผลได้ตั้งแต่ระดับการออกกำลังกายเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง การเป็นศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว ลึกไปจนถึงการฝึกให้เราเข้าถึงความสุขแท้จากภายในหรือ ‘สุขภาวะทางปัญญา‘ ครูบี

ความสุข (ก็) วิ่งได้

การวิ่งช่วยสลัดความทุกข์ในใจ และได้ความคิดใหม่ๆ ที่สดใสเข้ามาแทนที่ – อ.ณรงค์ เทียมเมฆ – ที่ปรึกษาสมาพันธ์ชมรมเดิน – วิ่งสุขภาพไทย  นักวิ่งผู้ริเริ่มจอมบึงมาราธอน   ‘กีฬา กีฬา เป็นยาวิเศษ แก้กองกิเลสทำตนให้เป็นคน ผลของการฝึกตน เล่นกีฬาสากล ตะละล้า…’ เนื้อเพลงกราวกีฬาที่เราร้องคุ้นเคยกันจนติดปากตั้งแต่อนุบาล

ความสุขประเทศไทย
PDPA Icon

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save