การเคลื่อนไหวร่างกาย
ร่างกายของเราต้องการการเคลื่อนไหว ซึ่งนั่นไม่ได้หมายถึงการออกกำลังกายเท่านั้น แต่หมายถึง เ ค ลื่ อ น ไ ห ว — เมื่อร่างกายเราขยับ ระบบประสาทในตัวเราถูกกระตุ้น ต่อมต่างๆ ในร่างกายของเราตื่นตัว และช่วยให้กระปรี้กระเปร่า
เป็นเรื่องดีมากหากเราได้ออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาเป็นประจำ มันดีต่อสุขภาพในระยะยาว และก็ดีมากๆ เช่นกันถ้าเราจะขยับร่างกายอย่างสม่ำเสมอในชีวิตประจำวัน เดินบ้าง ลุกขึ้นจากเก้าอี้ทำงานมาขยับแขนขาบ้าง หรือแม้แต่ขณะที่แปรงฟัน หรือเคี้ยวอาหาร ลองรับรู้การเคี้ยว การขยับของปาก ลิ้น ฟัน เราจะรับรู้ได้ว่าเราโชคดีและร่ำรวยมากที่เรามีฟัน มีลิ้นที่คอยรับรสอาหาร ยิ่งสังเกตบ่อยๆ เราจะยิ่งรู้ว่าร่างกายนี้เป็นบ่อเกิดของความสุข
ความสุขจากการเคลื่อนไหว
สุขกายสุขใจ ปั่นไปไม่ทิ้งกัน
เมื่อพูดถึงความสุขของคนขี่จักรยาน การได้นั่งบนหลังอานปั่นจักรยานด้วยสองเท้าไปข้างหน้านับเป็นความสุขที่ทุกคนสัมผัสได้ไม่ยาก แต่ทว่า หากการปั่นมีเป้าหมายเพื่อสร้างความสุขให้ผู้อื่นด้วยแล้วละก็ คนปั่นคงจะมีความสุขเป็นสองเท่าทวีคูณอย่างแน่นอน เหมือนดังเช่นความสุขของคุณญาณิศา เอกมหาชัย หรือ คุณนี หนึ่งในนักปั่นจักรยานโครงการ “ปั่นไปไม่ทิ้งกัน” นำพาคนตาบอดขี่จักรยานสองตอนมุ่งหน้าจากกรุงเทพฯ สู่เชียงใหม่เพื่อระดมทุนสร้างศูนย์ฝึกอาชีพคนพิการที่อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่เมื่อต้นปี 2561 ที่ผ่านมา เธอเป็นหนึ่งในนักปั่นจิตอาสาที่มักปั่นร่วมงานการกุศลนับตั้งแต่เกษียณอายุก่อนกำหนด เพราะนอกจากจะทำให้สุขภาพกายของเธอแข็งแรงกว่าเพื่อนรุ่นเดียวกันที่เกษียณแล้วอยู่บ้านเฉยๆ สุขภาพใจของเธอก็ยังแข็งแรงตามไปด้วยเช่นกัน
โยคะภาวนา… ฝึกกายและจิตรวมเป็นหนึ่งเดียว
ทุกวันนี้เมื่อเอ่ยถึงการฝึกโยคะ เรามักได้ยินคำพ่วงตามมาหลากหลายรูปแบบนอกเหนือจาก “โยคะดั้งเดิม” ซึ่งเป็นโยคะท่าพื้นฐาน อาทิ โยคะฟลาย เพิ่มความยืดหยุ่นร่างกายด้วยท่วงท่าราวกับนกเหินฟ้าโยคะบอล เพิ่มความสนุกในการเล่นโยคะด้วยการใช้บอลยักษ์เป็นอุปกรณ์เสริม หรือโยคะร้อน เพิ่มอุณหภูมิช่วยรีดไขมันออกจากร่างกายได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งโยคะเหล่านี้มีเป้าหมายเพื่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงของ “รูปกาย” ภายนอก แต่ถ้าหากใครกำลังมองหาแนวทางฝึกโยคะเพื่อมุ่งสู่ความเปลี่ยนแปลงของ “จิต” แล้ว “โยคะภาวนา” เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าลองค้นหาคำตอบและพิสูจน์ด้วยตนเอง
โยคะสติบนวีลแชร์
“ตั้งแต่อายุ 5 จะย่างเข้า 6 ขวบ ขาเราก็เริ่มอ่อนแรงและค่อยๆลีบเล็ก ไม่สามารถเดินได้อย่างปกติเหมือนเด็กคนอื่น” อำไพ สราญรื่น ช่างเย็บผ้าในศูนย์ส่งเสริมอาชีพคนพิการเผยรอยยิ้มภายใต้ผมสีดอกเลาด้วยวัยใกล้เกษียณบอกเล่าถึงความทรงจำอันเลือนลางกว่า 50 ปีที่แล้ว หลายๆ ข้อจำกัดของมนุษย์ที่ถูกสร้างขึ้นมา บางครั้งเกิดจากความเหนื่อยล้า หมดกำลังใจ หมดแรงใจที่จะขับดันร่างกายให้เคลื่อนต่อ หากแต่บางคน โอกาสเหล่านั้นหมดไปตั้งแต่ข้อจำกัดทางร่างกาย แต่มุมมองความคิดของอำไพ
วิ่งสมาธิ…ฝึกจิตให้นิ่งสยบความเคลื่อนไหว
เมื่อพูดถึง “การวิ่ง” เรามักนึกถึงการเคลื่อนไหวไปข้างหน้าด้วยสองเท้าซ้ายขวา เมื่อพูดถึง “สมาธิ” เรามักนึกถึงการเพ่งจิตให้เป็นหนึ่งเดียว หากเรานำ “การวิ่ง” และ “สมาธิ” มารวมกันจะเกิดอะไรขึ้น ? คำตอบคือผู้ที่ฝึก “วิ่งสมาธิ” จะได้ทั้งร่างกายและจิตใจที่แข็งแรงไปพร้อมกันนั่นเอง เมื่อจิตนิ่งสยบความเคลื่อนไหว จิตจึงมีพลังสามารถเปลี่ยนแปลงชีวิตของคนๆ หนึ่งให้ดีขึ้นจากหลังมือเป็นหน้ามืออย่างไม่น่าเชื่อเช่นเดียวกัน
มวยจีน…เส้นทางสู่การฝึกตนของหมอดิน
เมื่อพูดถึงมวยจีน คนส่วนใหญ่มักนึกการออกกำลังแบบที่เรียกกันว่า ไท่เก็ก(จีนแต้จิ๋ว) หรือไท่จี๋(จีนกลาง) สำหรับมวยจีนที่เรียกว่า “อี้เฉียน” (Yiquan) ซึ่งเป็นแนว “มวยจิต” เน้นสร้างความแข็งแกร่งจากภายในและใช้ท่าฝึกที่สอดคล้องกับการเคลื่อนไหวของร่างกายตอนเป็นเด็กอาจยังไม่ค่อยคุ้นหูนัก เพราะบ้านเรายังไม่มีการเปิดสอนมวยอี้เฉียนแพร่หลายนัก หนึ่งในคนไทยที่สนใจฝึกมวยจิตอย่างจริงจังมากว่าสิบปีที่ผ่านมา คือ “หมอดิน” หรือ ศิรฐเมฆา เวฬุภาค ผู้ให้การบำบัดรักษาตามศาสตร์การแพทย์แผนทิเบตจากประเทศอินเดียคนเดียวในเมืองไทยและผู้บำบัดด้วยคลื่นเสียง Crystal Singing
ศิลปะแห่งการเคลื่อนไหว ท่วงทำนองแห่งการตื่นตัวภายใน
ยูริธมี (Eurythmy) หรือศิลปะแห่งการเคลื่อนไหว เป็นศิลปะแขนงหนึ่งใน ‘ศิลปะด้านใน’ ทั้ง 7 ซึ่งเปิดเผยกฎเกณฑ์และโครงสร้างภายในของภาษาพูดและดนตรี โดยดร.รูดอร์ฟ สไตเนอร์ (Rudolf Steiner) ผู้คิดค้นหลักมนุษยปรัชญา (สัจธรรมแห่งการเป็นมนุษย์) ยูริธมีช่วยจัดระเบียบและสร้างสัมพันธ์ทั้งร่างกายและจิตวิญญาณระดับต่างๆ รวมถึงส่งเสริมให้เกิดความตระหนักรู้ทั้งในด้านความคิด ความรู้สึก และการกระทำ ซึ่งจะทำให้ผู้ปฏิบัติค้นพบความดี ความงาม