การเคลื่อนไหวร่างกาย

ร่างกายของเราต้องการการเคลื่อนไหว ซึ่งนั่นไม่ได้หมายถึงการออกกำลังกายเท่านั้น แต่หมายถึง เ ค ลื่ อ น ไ ห ว — เมื่อร่างกายเราขยับ ระบบประสาทในตัวเราถูกกระตุ้น ต่อมต่างๆ ในร่างกายของเราตื่นตัว และช่วยให้กระปรี้กระเปร่า
เป็นเรื่องดีมากหากเราได้ออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาเป็นประจำ มันดีต่อสุขภาพในระยะยาว และก็ดีมากๆ เช่นกันถ้าเราจะขยับร่างกายอย่างสม่ำเสมอในชีวิตประจำวัน เดินบ้าง ลุกขึ้นจากเก้าอี้ทำงานมาขยับแขนขาบ้าง หรือแม้แต่ขณะที่แปรงฟัน หรือเคี้ยวอาหาร ลองรับรู้การเคี้ยว การขยับของปาก ลิ้น ฟัน เราจะรับรู้ได้ว่าเราโชคดีและร่ำรวยมากที่เรามีฟัน มีลิ้นที่คอยรับรสอาหาร ยิ่งสังเกตบ่อยๆ เราจะยิ่งรู้ว่าร่างกายนี้เป็นบ่อเกิดของความสุข

5 ขั้นตอน มอบของขวัญให้ร่างกาย

  1. กลับมารับรู้ร่างกายในตอนนี้เลย – ตอนนี้อยู่ในอิริยาบทไหน พลังงานในร่างกายเป็นอย่างไร
  2. สำรวจและฟังร่างกาย – สำรวจร่างกายว่าตอนนี้ส่วนไหนส่งเสียงเรียกดังเป็นพิเศษ เมื่อยน่อง ปวดไหล่ ปวดเอว เจ็บมือ ฯลฯ

 

อ่านต่อ

 

 

เพียงกล้า เราจะก้าว

เรื่องและภาพ : วาสนา หอมชื่น ในชีวิตผู้หญิงคนหนึ่ง ที่ดูเหมือนจะพกพาความเจ็บป่วยติดตัวมาตั้งแต่เด็ก และฝังลึกอยู่ในจิตใต้สำนึกของเธอมาตลอดจนอายุ 30 เข้าออกโรงพยาบาลทุกปีจนเป็นที่รู้กันว่า สุขภาพเธอไม่แข็งแรง  

Soul Motion เมื่อจิตและกายเคลื่อนไหวเป็นหนึ่งเดียว

 ใจเป็นนาย กายเป็นบ่าว เรามักได้ยินสำนวนนี้กันจนเคยชิน แต่ถ้าใครได้ลองมาสัมผัสการเต้นรำที่เรียกว่า Soul Motion แล้วละก็ คุณอาจเปลี่ยนคำพูดใหม่ว่า “ร่างกายก็มีปัญญาของตัวเองเช่นกัน”    ข้างต้นเป็นคำพูดของวริวรรณ์ วิทยฐานกรณ์ หรือ ซอย หญิงสาวผู้เติบโตมาในครอบครัวนักธุรกิจชาวจีน เธอสนใจแนวคิดทางจิตวิทยาเพื่อทำความเข้าใจตนเองมาตั้งแต่สมัยเรียนมหาวิทยาลัย หลังจากเรียนจบปริญญาตรีด้านธุรกิจ เธอจึงเรียนต่อปริญญาโททางด้านจิตตปัญญาศึกษาที่มหาวิทยาลัยมหิดล  รวมทั้งสนใจหลักสูตรอบรมด้านจิตวิทยาหลากหลายแนวทาง

สุขกายสุขใจวัยเกษียณ

สังคมไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุมากขึ้นเรื่อยๆ ปัญหาของผู้สูงอายุที่พบร่วมกันคืออาการเจ็บป่วย รวมไปถึงโรคซึมเศร้าเพราะลูกหลานต่างมีภาระหน้าที่หรือโลกส่วนตัวบนหน้าจอมากเกินไป  ผู้สูงวัยจึงต้องหากิจกรรมทำร่วมกันเพื่อผ่อนคลายเหงา รวมไปถึงการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับวัย เพราะจะทำให้ไม่ต้องเป็นภาระกับลูกหลานมากเกินไป สำหรับผู้สูงวัยบางคนอาจใช้เวลาว่างเป็นจิตอาสาตามองค์กรต่างๆ เพื่อให้ชีวิตที่เหลืออยู่มีคุณค่ามากยิ่งขึ้น ดังเช่น สุรีย์ นาวีเรืองรัตน์ หรือคุณเจี้ยบ ครูสอนออกกำลังกายแบบเต้าเต้อจิง ณ ศูนย์ผู้สูงอายุ จังหวัดนนทบุรี ที่นี่มีเพื่อนวัยเดียวกันมากมายให้พูดคุยกันคลายเหงาและกลายเป็นแก๊งเพื่อนสนิทไปไหนไปกันทำให้ชีวิตไม่เหงาเกินไปนัก

เยียวยากายและใจด้วยอาชาเพื่อนรัก

เมื่อเอ่ยชื่อครูอุ้ย-อภิสิรี จรัลชวนะเพท คนในวงการศึกษาทางเลือกต่างเคยได้ยินชื่อเสียงของเธอกันมานานกว่าสามสิบปี เพราะเธอคือผู้ก่อตั้งอนุบาลบ้านรัก และผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาแนววอลดอร์ฟรุ่นบุกเบิกของเมืองไทย  รวมทั้งยังได้รับรางวัลอาโชก้า ในฐานะ “นักบริหารงานเพื่อสร้างสรรค์สังคม” และได้รับเชิญให้เป็นวิทยากรด้านการศึกษามานับไม่ถ้วน ภาพความสำเร็จในชีวิตของผู้หญิงผมสั้นสีสีดอกเลาท่าทางทะมัดทแมงคนนี้ ก้าวเข้ามาในชีวิตตั้งแต่เธอเรียนจบปริญญาตรีไม่นาน วงรอบชีวิตการทำงานของเธอหมุนเร็วกว่าเพื่อนวัยเดียวกันทั่วไป เพราะเธอทำทุกอย่างด้วยหัวใจและทุ่มเทจนสุดกำลัง ทว่า ความสำเร็จที่ได้เปรียบเสมือนเหรียญสองด้านที่สามารถทำให้ชีวิตพลิกผันได้เสมอ เมื่อโชคชะตาเล่นตลกกับผู้หญิงทะมัดทแมง ทำอะไรคล่องแคล่วว่องไว ใจเดินเร็วกว่าสองเท้า ต้องกลายเป็นคนที่ถูกบังคับให้เดินช้าลงและทรมานจากอาการเจ็บปวดตั้งแต่กระดูกก้นกบ สะโพก

ส่งความรักผ่านการออกกำลังกายจากแม่สู่ลูกภาวะออทิสติก

ณ สนามกีฬาโรงเรียนแห่งหนึ่งย่านจังหวัดนนทบุรี ชายหนุ่มร่างท้วมวัยสามสิบปีกำลังฝึกซ้อมวิ่งด้วยแววตามุ่งมั่น รอยยิ้มเหมือนเด็กน้อยไร้เดียงสาส่งให้หญิงวัยหกสิบปีที่ยืนอยู่ข้างสนามด้วยความรัก หลังฝึกจบ ชายหนุ่มเดินมากอดและหอมหญิงสูงวัยผู้ทุ่มเทชีวิตทุกลมหายใจเพื่อทำให้ลูกชายที่มีภาวะออทิสติกมีพัฒนาการที่ดีขึ้น  วรรณวิชญ์ เหล่าตระกูลงาม หรือ ปาล์ม เป็นลูกชายคนโตของทรรศน์วรรธ์น เหล่าตระกูลงาม หรือแม่อู๊ด แม่เลี้ยงเดี่ยวลูกสองผู้ตัดสินใจลาออกจากงานเพื่อทุ่มเทเวลาดูแลลูกตั้งแต่ลูกอายุได้ 8 ปี  แม่อู๊ดเริ่มสังเกตเห็นความผิดปกติของลูกตั้งแต่อายุ  4 ขวบ เพราะลูกไม่พูดและไม่สบตาใคร

ไอคิโด…เรียนรู้การแพ้เพื่อชนะ

เมื่อพูดถึงศิลปะการป้องกันตัว  ไอคิโดเป็นศาสตร์ที่คนไทยยังไม่นิยมแพร่หลายมากนัก หากเทียบกับเทควันโดหรือกีฬาประเภทอื่นๆ ที่มีการแข่งขันทั่วไป เพราะไอคิโดเป็นศิลปะการป้องกันตัวที่ไม่มีการแข่งขันกับผู้อื่น แต่เป็นศาสตร์ของการ “แข่งขันกับตนเอง” โดยผู้เรียนจะได้ค้นพบกับความเปลี่ยนแปลงภายในจิตใจตนเองมากขึ้นจนรู้ว่า “ศัตรูที่แท้จริง” ไม่ใช่ใครที่ไหนนอกจาก “ความคิด” ของตัวเรานั่นเอง รักชนก ชยุตม์กุล หรือ ครูป๋อม เริ่มฝึกไอคิโดตั้งแต่ปี 2538 หรือ 22

ความสุขประเทศไทย
PDPA Icon

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save