การทำงาน
บ่อยครั้งที่เราอาจจะรู้สึกว่าการงานทำให้เราเครียดและเบื่อหน่าย เราจะเข้าใกล้ความสุขได้ก็ต่อเมื่อถึงวันหยุดหรือได้ลาพักร้อน แต่แท้ที่จริงแล้วการงานคือคุณค่าที่เราสร้าง การทำงานเป็นรูปธรรมที่เรากำลังสร้างสรรค์ให้แก่โลก ถ้าเราได้เห็นว่างานของเรากำลังสร้างการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ ทำให้หลายชีวิตมีความสุขมากขึ้น เราก็จะกลับมาชื่นชมกับงานตรงหน้า และรู้ว่าเราเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์อันน่าภาคภูมิใจ โลกกำลังดีขึ้นเพราะงานที่เราทำ
เรามีความสุขได้ในขณะกำลังทำงาน ผ่อนลดความคิดความคาดหวังผลลัพธ์ มองเห็นความสนุกสนานในความท้าทาย มองเห็นความพยายามจากการจัดการกับอุปสรรค และชื่นชมตัวเองกับการเอาใจใส่ในสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ตรงหน้า
ความสุขจากการทำงาน
ก้าวย่างเพื่อชีวิตไร้สารพิษของปรกชล อู๋ทรัพย์
คุณรู้หรือไม่ว่าทุกวันนี้มีทารกบางคนเกิดมาพร้อมกับสารเคมีจากยาฆ่าหญ้าตกค้างในขี้เทา หรืออุจจาระของทารกแรกคลอดที่สะสมตั้งแต่เป็นตัวอ่อนอายุสามเดือนและคนใกล้ตัวของเราต่างเป็นโรคมะเร็งกันมากขึ้นทุกวัน เพราะเราอยู่ท่ามกลางอาหารที่มีสารพิษรอบตัว และดูเหมือนเราจะหลีกเลี่ยงชีวิตที่เต็มไปด้วยสารพิษได้ยากเหลือเกิน ท่ามกลางปัญหาที่ดูยากจะแก้ไข ปรกชล อู๋ทรัพย์ หญิงสาวตัวเล็กผมซอยสั้นแววตามุ่งมั่นกลับมีความฝันอยากเห็นคนไทยห่างไกลจากสารพิษมากขึ้น เธอตัดสินใจเข้ามาทำงานรณรงค์เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบายของภาครัฐเพื่อชีวิตไร้สารพิษของคนไทยในฐานะผู้ประสานงานเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืชหรือไทยแพน (Thai-PAN)
อุ๊ มดงานตัวจิ๋วแต่แจ๋ว
ณ หมู่บ้านเล็กๆ แห่งหนึ่งในจังหวัดบุรีรัมย์ ย้อนกลับไปเมื่อ 32 ปีก่อน เด็กหญิงกรองแก้ว ชัยอาคม หรือ อุ๊ ลืมตาดูโลกด้วยขนาดตัวใหญ่กว่าฝ่ามือเพียงนิดเดียว ด้วยขนาดตัวเล็กจิ๋ว หูได้ยินเสียงแผ่วเบา และเสียงเล็กแหลมเหมือนเด็กน้อย เธอจึงรู้สึกอายไม่กล้าคุยกับใครจนคนส่วนใหญ่คิดว่าเธอเป็นคนใบ้ เมื่อเริ่มเข้าสู่วัยเรียน เด็กหญิงตัวจิ๋วมักกลับถึงบ้านพร้อมคราบน้ำตาเปรอะเปื้อนบนสองแก้ม เพราะถูกเพื่อนล้อเลียน แกล้งตีและผลักเป็นประจำจนกลายเป็นตัวตลกประจำห้อง แต่หากย่างเท้ากลับเข้าบ้านเมื่อไหร่
เกตุวดี Marumura นักเขียนไทยหัวใจญี่ปุ่น
“เวลาไปญี่ปุ่นไม่ได้รู้สึกว่าไปเที่ยว แต่รู้สึกเหมือนเป็นบ้านหลังที่สอง เพราะมีความสุขกับการใช้ชีวิตที่นั่นมาก” “เกตุวดี Marumura” ถ่ายทอดความรู้สึกต่อประเทศญี่ปุ่นผ่านรอยยิ้มสดใส หากดูเพียงชื่อประกอบกับใบหน้าผิวพรรณ เชื่อว่าหลายคนคงเข้าใจผิดว่าเธอมีเชื้อสายญี่ปุ่นอย่างแน่นอน แต่ความจริง เธอคือนักเขียนไทยหัวใจญี่ปุ่นเจ้าของเพจ “เกตุวดี Marumura” ซึ่งมีผู้ติดตามกว่า 7 หมื่นคน รวมทั้งยังเป็นคอลัมนิสต์ให้สื่อออนไลน์และมีผลงานรวมเล่มพ็อคเก็ตบุ๊คที่ตีพิมพ์มาแล้วหลายเล่ม และยังเป็นด็อกเตอร์ด้านการตลาดรุ่นใหม่ไฟแรงแห่งคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยด้วยเช่นกัน ดร.กฤตินี พงษ์ธนเลิศ
ร้านยิ้มสู้….คาเฟ่ของคนหัวใจไม่พิการ
บนถนนอรุณอมรินทร์ ซอย 39 มองจากถนนใหญ่เข้าไปด้านในไม่ถึง 20 เมตร จะเห็นคาเฟ่สองคูหาดีไซน์ทันสมัยตั้งอยู่ ก่อนเปิดประตูเข้าไปด้านในมีกระดาษเขียนว่า “กรุณาเลือกโต๊ะก่อนสั่งอาหารที่เคาน์เตอร์” พอเปิดประตูเข้าไป บรรยากาศร้านเงียบสงบ มีเสียงพูดคุยของลูกค้าเบาๆ แต่ไม่มีเสียง “สวัสดี” จากพนักงานเหมือนร้านอาหารทั่วไป เราเดินไปเลือกโต๊ะที่ว่าง พร้อมดูหมายเลขโต๊ะก่อนเดินไปสั่งอาหารที่เคาน์เตอร์ พนักงานสาวหน้าตาน่ารักสองคนยืนส่งยิ้มให้แต่ไกล แม้ไม่มีเสียงพูดเปล่งออกมา เราก็เข้าใจได้ถึงมิตรภาพที่พวกเธอมอบให้
สายใยความสุขในองค์กรแห่งการรับฟัง
พนักงานอาจจะไม่ได้คิดอย่างที่เราคิด คำบอกเล่าของคุณณรงค์ ออศิริชัยเวทย์ CEO (ประธานบริหารสูงสุด) บริษัทยงเจริญศูนย์เครื่องเขียน ธุรกิจค้าส่งเครื่องเขียนของคนไทยเชื้อสายจีนที่อยู่คู่เมืองไทยมายาวนานกว่า 50 ปี โดยเติบโตมาในย่านสำเพ็ง ไชน่าทาวน์บางกอก และยังยืนหยัดต่อสู้ modern trade (ธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่) อย่าง Office Mate หรือ makro
ทำทัวร์บนความชั่วคราว เบาใจเมื่อได้ส่งต่อ
คุณศุภกิจ ซื้อตระกูล ลูกศิษย์พระอาจารย์นวลจันทร์ กิตติปัญโญ เจ้าของศุภกิจทัวร์ ซึ่งเป็นทัวร์แนวธรรมะที่มีสโลแกนคุ้นหูว่า ‘คุณธรรมนำการท่องเที่ยว’ เมื่อเราขอเข้าไปสัมภาษณ์เขาเกี่ยวกับความสุขวงในเกี่ยวกับการทำงาน ก็ได้รับคำตอบอย่างตรงไปตรงมาจากเจ้าของทัวร์ว่า “พี่ก็ไม่ได้มีความสุขนะ ก็ไม่รู้นะว่าจะช่วยได้แค่ไหน แต่ก็ยินดีครับ” ต่างจากคำนิยมที่เราได้ฟังจากลูกทัวร์หลายๆ ท่านที่ไปร่วมทัวร์กับเขามา ที่ตอบเป็นเสียงเดียวกันว่ากลับมาด้วยรอยยิ้มและความอิ่มเอิบใจ