การสัมผัสธรรมชาติ

เมื่อพูดถึงธรรมชาติเรามักนึกถึงป่า ภูเขา ทะเล สวนสาธารณะ หรือการดูดาว การได้ใช้เวลาให้กับสิ่งเหล่านี้เป็นระยะๆ ย่อมดีต่อใจเรา แต่หากเราใช้ชีวิตในเมืองและไม่มีโอกาสแบบนั้น เราก็ยังสามารถสัมผัสธรรมชาติได้ตลอดเวลา เพราะธรรมชาติอยู่ใกล้เรากว่าที่คิด
ลองให้เวลากับตัวเองสัก 5 นาที มองต้นไม้ใบหญ้าใกล้ตัว ชมดอกไม้ เงยหน้ามองฟ้า วางโทรศัพท์มือถือแล้วฟังเสียงที่เกิดขึ้นรอบตัว เสียงลม เสียงของความเงียบ หรือเสียงของความคิด ลองเปิดดวงตา เปิดหู เปิดประสาทสัมผัสของเราให้รู้จักผืนดิน ไอแดด หยดน้ำ สิ่งเหล่านี้คือการได้สัมผัสกับธรรมชาติ

ถ่ายรูปท้องฟ้า 5 ขั้นตอน ใน 7 วัน

 

ท้องฟ้าไม่เคยเหมือนกันเลยสักวัน และเรากำกับท้องฟ้าไม่ได้ บางวันท้องฟ้าสีคราม บางวันฟ้าหม่น บางวันฟ้าใส บางวันเมฆเยอะ บางวันมีพระอาทิตย์ทรงกลด

 

อ่านต่อ

 

 

เส้นทางความสุข : การสัมผัสธรรมชาติ

การพัฒนาอะไรก็ตามที่ทำให้ยากขึ้น ซับซ้อนขึ้น มักนำไปสู่ความเสื่อม แต่การพัฒนาที่ทำให้ง่ายขึ้น เบาขึ้น ถือเป็นการทำให้ดีขึ้น การดูแลใจของเราก็เช่นกัน วิถีธรรมชาติที่พาให้เราสงบ เบา สบาย ย่อมทำให้เราเกิดสุขภาวะทางปัญญาได้ แม้มนุษย์และธรรมชาติจะพึ่งพาอาศัยกันมาเนิ่นนาน ทว่าวิถีการดำเนินชีวิตในยุคปัจจุบันกลับกำลังค่อยๆ แยกมนุษย์ให้ห่างไกลออกจากธรรมชาติไปทุกที จนหลายครั้งทำให้เราหลงลืม วิ่งวนเพื่อค้นหาวิธีเอาชนะ ขัดขืน ฝืนธรรมชาติ จนลืมไปว่านั่นคือหนทางที่พาเราให้ออกห่างจากความสุขที่แท้จริงไปเรื่อยๆ อย่างไม่รู้ตัว

เปลี่ยนชีวิตได้ด้วย ‘การรู้คุณ’

  ใครเคยอ่านนิทานเรื่อง ‘เสื้อแห่งความสุข‘ ของนักประพันธ์เอกชาวรัสเซีย ลีโอ ตอลสตอย บ้างยกมือขึ้น…. นิทานเรื่องนี้เล่าถึงพระราชาที่สุดแสนจะร่ำรวย แต่ก็พบว่าตัวเองยังไม่มีความสุขเสียที จึงได้เรียกเหล่านักปราชญ์มาปรึกษาหาวิธีที่จะทำให้พระองค์มีชีวิตที่มีแต่ความสุข ประชุมกันอยู่นานก็มีนักปราชญ์คนหนึ่งแนะนำขึ้นมาว่า พระราชาจะต้องออกตามหาผู้ชายที่มีแต่ความสุข แล้วนำเสื้อของเขามาสวมไว้เท่านั้นเอง เรื่องเหมือนจะง่าย แต่ไม่ง่าย เพราะไม่ว่าจะออกตามหาเท่าไร ก็ไม่พบผู้ชายที่มีแต่ความสุขเลยสักคน ทุกคนล้วนมีความทุกข์ในชีวิตไม่เรื่องใดก็เรื่องหนึ่ง จนกระทั่งทหารของพระราชาได้เดินผ่านกระท่อมซอมซ่อหลังหนึ่ง พลันได้ยินเสียงชายในกระท่อมร้องออกมาอย่างปิติว่า

เมื่อศิลปะ ทำให้ค้นพบทางออกของชีวิต : คามิน เลิศชัยประเสริฐ

เมื่อศิลปินที่ทำงานศิลปะมาอย่างต่อเนื่อง มีชื่อเสียง เป็นที่รู้จักทั้งใน และต่างประเทศ เป็นผู้ก่อตั้ง พิพิธภัณฑ์จิตวิญญาณร่วมสมัยแห่งศตวรรษที่ 31 (31th Century Museum Contemporary of Spirit), มูลนิธิที่นา (The Land) ตลอดจน อุโมงค์ศิลปธรรม อย่าง คามิน เลิศชัยประเสริฐ

เมื่อฝรั่งหันมาหยิบจอบแบกเสียมไปลงแขก

โลกนี้ใครกำหนด? ผมจำไม่ได้ว่าใครเป็นคนกำหนดประโยคนี้ขึ้นมา มันช่างเป็นคำถามที่น่าสงสัยและน่าสนใจดีเหลือเกิน ถ้าลองเหลียวหลังแลประวัติศาสตร์โลกในช่วงร้อยกว่าปีที่ผ่านมา เราคงได้เห็นว่า โลกนี้หมุนไปโดยแรงเหวี่ยงของประเทศตะวันตก ชาวประเทศโลกที่สามอย่างพวกเรา (ซึ่งฝรั่งมังค่าเป็นคนจัดหมวดหมู่ให้)

มาฟังความในใจที่ธรรมชาติอยากจะพูดมานาน

คงจะมีหลายสื่อและอาจจะหลายครั้งแล้วที่มีการนำเสนอเรื่องราวความแปรปรวนของสภาพอากาศโลก สำหรับหนังสั้นชุด The Nature Is Speaking นี่ก็เช่นกัน เพียงแต่รูปแบบนำเสนอออกจะแตกต่างไปจากที่เคยดู ภาพสวยๆ ถูกถ่ายทำอย่างประณีต ประกอบเนื้อเรื่องที่พูดถึง ราวกับว่าเรากำลังฟังธรรมชาติพูดใส่หน้า จะเรียกว่าเป็นการยิงหมัดตรงเข้าหาผู้ชมก็คงไม่ผิดนัก

ชวน “นักเล่าเรื่อง” ร่วมประกวดสร้างสรรค์โปรแกรมท่องเที่ยวและโปรโมท 7 ชุมชนสีเขียว | Green Rangers

[ เปิดรับสมัครแล้ว ] CreativeMOVE และ ททท. ชวน “นักเล่าเรื่อง” (บทความ ภาพถ่าย หรือคลิปวิดีโอ) ร่วมประกวดสร้างสรรค์ชุมชนท่องเที่ยว Green Rangers ชิงรางวัลเงินสด 270,000 บาท

ความสุขประเทศไทย
PDPA Icon

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save