การสัมผัสธรรมชาติ
เมื่อพูดถึงธรรมชาติเรามักนึกถึงป่า ภูเขา ทะเล สวนสาธารณะ หรือการดูดาว การได้ใช้เวลาให้กับสิ่งเหล่านี้เป็นระยะๆ ย่อมดีต่อใจเรา แต่หากเราใช้ชีวิตในเมืองและไม่มีโอกาสแบบนั้น เราก็ยังสามารถสัมผัสธรรมชาติได้ตลอดเวลา เพราะธรรมชาติอยู่ใกล้เรากว่าที่คิด
ลองให้เวลากับตัวเองสัก 5 นาที มองต้นไม้ใบหญ้าใกล้ตัว ชมดอกไม้ เงยหน้ามองฟ้า วางโทรศัพท์มือถือแล้วฟังเสียงที่เกิดขึ้นรอบตัว เสียงลม เสียงของความเงียบ หรือเสียงของความคิด ลองเปิดดวงตา เปิดหู เปิดประสาทสัมผัสของเราให้รู้จักผืนดิน ไอแดด หยดน้ำ สิ่งเหล่านี้คือการได้สัมผัสกับธรรมชาติ
ความสุขของชายหนุ่มเพื่อนรักสุนัขบาดเจ็บ
บนถนนจากจังหวัดเชียงใหม่ถึงตำบลปาดังเบซาร์ จังหวัดสงขลาระยะทางกว่า 1,600 กิโลเมตร ชายหนุ่มวัยกลางคนพร้อมเพื่อนร่วมทีมตัดสินใจเดินทางไกลจากดินแดนตอนเหนือสู่ปลายด้ามขวานเพื่อช่วยเหลือสุนัขบาดเจ็บเพราะถูกคนทำร้ายและมีคนแจ้งข่าวไว้ในโลกโซเชียลมาแล้วหลายวัน แต่ยังไม่มีใครสามารถเข้าช่วยเหลือมันได้ หลังจากเดินทางข้ามวันข้ามคืนไปถึงจุดหมาย ชายหนุ่มเฝ้าติดตามสุนัขเป้าหมายจนเจอและพานำกลับมารักษาตัวที่เชียงใหม่ได้ตามที่ตั้งใจ แม้ว่าบางคนอาจตั้งคำถามถึงความคุ้มค่าของเวลาและค่าใช้จ่ายสำหรับการช่วยสุนัขตัวนี้ แต่สำหรับผู้ชายที่ชื่อบัณฑิต หมื่นเรือคำ หรือ ดิ๊พ ประธานมูลนิธิ ดิ อาร์ค แล้ว เขามีคำตอบสุดท้ายให้ตนเองอย่างชัดเจนว่า คุณค่าของความช่วยเหลือระหว่างคนและสุนัขเพื่อให้รอดพ้นจากความทุกข์ทรมานมีค่าเท่ากับ “หนึ่งชีวิต”
แมว…ความรักที่ไร้เงื่อนไข
“สิ่งที่มีค่าที่สุดของที่บ้านคือแมวและสิ่งห่วงที่สุดในชีวิตก็คือแมว” ความรัก คือสิ่งที่ทุกคนจะพบได้เองโดยไม่ต้องออกแสวงหา คือสิ่งที่จะเติบโต เคียงข้าง และสร้างความสุขในทุกๆ วัน หากสิ่งเหล่านี้คือความรัก สำหรับนุ่นตัวแทนนิยามเหล่านั้นก็คือ “แมว” เจ้าสิ่งมีชีวิตตัวกลม ขนฟูนุ่ม ตาแป๋วแหวว เป็นตัวป่วนที่จะคอยส่งเสียงออดอ้อน หรือโวยวายอย่างเอาแต่ใจในทุกๆ เช้า “แมวเหมือนเด็กที่ไม่มีวันโต เราต้องดูแลเขาเหมือนเป็นเด็กตลอด” รอยยิ้มพรายทางดวงตา ส่งออกมาสู่ใบหน้า
คนรุ่นใหม่หัวใจสีเขียว
“เร่เข้ามา เร่เข้ามา น้ำยาล้างจาน น้ำยาซักผ้าของแท้ แบ่งขาย จ่ายน้อย ช่วยลดขยะจ้า ซื้อเท่าไหร่ก็ได้ เข้ามาดูก่อนได้นะคะ ” เสียงนักศึกษาสาวว่าที่ด็อกเตอร์กำลังตะโกนเรียกลูกค้าเข้ามาใช้บริการร้าน “Refill Station” กลางตลาดนัดย่านธุรกิจใจกลางกรุง ผู้คนที่เดินผ่านหันมามองสินค้าด้วยใบหน้าแปลกใจเพราะบนโต๊ะเรียงรายไปด้วยแกลลอนน้ำยาทำความสะอาดหลากหลายยี่ห้อติดตั้งหัวปั๊มไว้ด้านบนแทนฝาปิด ใกล้กันมีตาชั่งไว้ให้ลูกค้าชั่งปริมาณน้ำยาที่ต้องการซื้อตามความต้องการ “เราพยายามหาทางลดการใช้พลาสติกในชีวิตประจำวันด้วยการนำขวดน้ำหรือขวดพลาสติกที่ไม่ใช้แล้วมาเติมน้ำยาทำความสะอาดที่ต้องใช้ในชีวิตประจำวันโดยเราแบ่งขายให้ตามปริมาณที่ลูกค้าต้องการ” สุภัชญา เตชะชูเชิด หรือ “แอน” นักศึกษาปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยชื่อดังย่านศาลายาบอกเล่าความเป็นมาของธุรกิจอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่ลองลงมือทำตามความฝันของคนหนุ่มสาวไฟแรง แม้ว่าเธอและเพื่อนจะไม่มีใครเรียนด้านการตลาดโดยตรง แต่แรงบันดาลใจอยากทำสิ่งที่ฝันก็ผลักดันให้คนหนุ่มสาวกล้าลองผิดลองถูกด้วยตนเองเสมอ
ความสุขสีเขียวบนดาวเคราะห์มอส
“คนเมืองอย่างเรา ๆ นั่นแหละที่โหยหาธรรมชาติ” แดดอ่อนๆ ยามเช้า ส่องผ่านเข้ามาภายในห้องกระจกสีขาวของร้านลิตเติ้ลทรีการ์เด้นทำให้ภายในอบอุ่นและถูกเติมแต่งไปด้วยสีเขียว แปลกที่ยามเช้าในวันธรรมดาของคนกรุงอย่างเราๆ สนใจจดจ้องมองแค่หน้าปัดนาฬิกาและวิ่งไล่ล่ารถเมล์สายสำคัญเพียงเพื่อการดำเนินชีวิตในแต่ละวัน หากแต่บนพื้นที่สีเขียวกว่า 4 ไร่ ริมแม่น้ำท่าจีนแห่งนี้ เสมือนดึงเราให้หันกลับมาใส่ใจนาฬิกาธรรมชาติที่อยู่รอบตัว ศิริวิทย์ ริ้วบำรุง หรือวิทย์ ชายเจ้าของใบหน้าอ่อนเยาว์วัย 45 ปี ที่มี
แสนสุขสมนั่งชมวิหค…ยาบำรุงหัวใจของหมอนักอนุรักษ์
“การได้เห็นสิ่งที่อยู่ในธรรมชาติจริงๆ ปรากฎขึ้นตรงหน้าโดยที่เราไม่ได้คาดคิด มันมีพลังมาก จับหัวใจเรา ในนาทีที่ผมนั่งเฝ้านกนานๆ แล้วนกบินมา หัวใจมันพองโต มันมากกว่าความสุข เป็นความปีติอิ่มเอม นาทีนั้นอยากขอบคุณโชคชะตา ขอบคุณธรรมชาติ ขอบคุณใครก็ตามที่ทำให้ผมมีโอกาสได้อยู่ตรงนี้ วินาทีที่วิถีชีวิตของเรามาตัดกันพอดีช่างวิเศษเหลือเกิน” น้ำเสียงของนายแพทย์รังสฤษฎ์ กาญจนะวณิชย์ หรือ “หมอหม่อง” แพทย์โรคหัวใจและนักอนุรักษ์แถวหน้าของเมืองไทยถ่ายทอดความปลื้มปิติยามนึกถึงวินาทีสำคัญที่ได้เห็นนกหายากปรากฎขึ้นในสายตา
หมอต้นไม้…เมตตาธรรมค้ำจุนโลกสีเขียว
เมื่อเอ่ยถึงอาชีพ “หมอต้นไม้” อาจเป็นคำที่เพิ่งเริ่มคุ้นหูคนไทยในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา แต่แท้จริงแล้ว อาชีพนี้มีมานานแล้วและในหลายประเทศให้ความสำคัญมาก โดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่น เพราะหน้าที่หลักของหมอต้นไม้ คือ การดูแลรักษาต้นไม้เก่าแก่ให้อยู่คู่กับชุมชนเพื่อทำหน้าที่บอกเล่าประวัติศาสตร์ของชุมชนให้คนรุ่นต่อไปได้รับรู้ สำหรับบ้านเราเพิ่งเริ่มได้ยินคำนี้ในช่วงสิบปีที่ผ่านมาโดยมีศาสตร์จารย์กิตติคุณ เดชา บุญค้ำเป็นหมอต้นไม้รุ่นบุกเบิก และต่อมาอาจารย์บรรจง สมบูรณ์ชัย คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้นำแนวคิดหมอต้นไม้มาเผยแพร่จนเป็นที่รู้จักในวงกว้างมากยิ่งขึ้น