การสัมผัสธรรมชาติ

เมื่อพูดถึงธรรมชาติเรามักนึกถึงป่า ภูเขา ทะเล สวนสาธารณะ หรือการดูดาว การได้ใช้เวลาให้กับสิ่งเหล่านี้เป็นระยะๆ ย่อมดีต่อใจเรา แต่หากเราใช้ชีวิตในเมืองและไม่มีโอกาสแบบนั้น เราก็ยังสามารถสัมผัสธรรมชาติได้ตลอดเวลา เพราะธรรมชาติอยู่ใกล้เรากว่าที่คิด
ลองให้เวลากับตัวเองสัก 5 นาที มองต้นไม้ใบหญ้าใกล้ตัว ชมดอกไม้ เงยหน้ามองฟ้า วางโทรศัพท์มือถือแล้วฟังเสียงที่เกิดขึ้นรอบตัว เสียงลม เสียงของความเงียบ หรือเสียงของความคิด ลองเปิดดวงตา เปิดหู เปิดประสาทสัมผัสของเราให้รู้จักผืนดิน ไอแดด หยดน้ำ สิ่งเหล่านี้คือการได้สัมผัสกับธรรมชาติ

ถ่ายรูปท้องฟ้า 5 ขั้นตอน ใน 7 วัน

 

ท้องฟ้าไม่เคยเหมือนกันเลยสักวัน และเรากำกับท้องฟ้าไม่ได้ บางวันท้องฟ้าสีคราม บางวันฟ้าหม่น บางวันฟ้าใส บางวันเมฆเยอะ บางวันมีพระอาทิตย์ทรงกลด

 

อ่านต่อ

 

 

วิธีง่ายๆ ในการเปิดใจให้ธรรมชาติ – รู้จักความสุขจากการสัมผัสธรรมชาติ

จริงหรือไม่ที่เราต้องออกไปต่างจังหวัดไกลๆ ทุกครั้งเพื่อสัมผัสธรรมชาติ? อยู่ในเมืองหรืออยู่ในบ้านจะเปิดใจให้ธรรมชาติได้หรือไม่?

ทำไม “หัวใจ” ต้องการธรรมชาติ – รู้จักความสุขจากการสัมผัสธรรมชาติ

ทำไมเราถึงรู้สึกดีเมื่อเห็นสีเขียว? ทำไมเรารู้สึกผ่อนคลายเมื่อได้อยู่ในธรรมชาติ? ทำไมบางประเทศถึงมีการ”อาบป่า”?

Folk Rice ตลาดข้าวอินทรีย์ในมือคนรุ่นใหม่

เขียนโดย เพ็ญนภา หงษ์ทอง “เพราะทุกคนมีความฝัน และมีสิทธิ์ที่จะเดินตามฝันโดยไม่ต้องเดินตามคนอื่น” คือสิ่งที่อนุกูล ทรายเพชร ชายหนุ่มวัย 30 เชื่อมาตลอด และเพราะความเชื่อมั่นในพลังแห่งความฝันทำให้เขามีเส้นทางชีวิตที่ไม่เหมือนใคร เพราะฝันของเขาไม่มีใครเหมือน   จากเด็กนักเรียนโรงเรียนวัด ลูกชาวนาจังหวัดสุรินทร์ที่ขอให้แม่ขายที่นาเพื่อส่งให้ตัวเองเรียนวิศวกรรมศาสตร์ หลักสูตรอินเตอร์ฯ ในสถาบันการศึกษาแห่งหนึ่ง แต่วุฒิการศึกษาที่ติดมือกลับบ้านกลายเป็นปริญญาตรีด้านสังคมศาสตร์ ก่อนจะกลับบ้านพร้อมด้วยบาดแผลในใจที่สุดท้ายต้องกลับมาเช่าผืนนาคนอื่นปลูกข้าวเพื่อทำข้าวอินทรีย์หลากหลายพันธุกรรมและทำการตลาดโดยผ่าน IT

ปลูกจิตสำนึกรักษ์นก รักษ์ป่าเมืองน่านผ่านสามเณร

สามเณรชนเผ่า เด็กในพื้นที่ห่างไกล และเด็กเมือง กลุ่มเยาวชน 3 กลุ่มที่ถูกหล่อหลอมด้วยระบบการศึกษาและบริบททางสังคมที่แตกต่างกันของจังหวัดน่าน ได้รับโอกาสที่ผู้ใหญ่ใจดีจากคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำโครงการเรียนรู้มาพาพวกเขาให้เดินทางออกจากโลกของตนเองที่อาจแตกต่างเหลื่อมล้ำกับโลกของคนอื่น แล้วร่วมกันสร้างโลกแห่งการเรียนรู้ใบใหม่ที่มีธรรมชาติเป็นห้องเรียนและครูผู้สอน

เพชร มโนปวิตร ความสุขของนักอนุรักษ์จากภูเขาถึงทะเล

เด็กชายที่ชอบอ่านหนังสือและดูสารคดีชีวิตสัตว์โลก ใช้เวลาส่วนใหญ่ในรั้วมหาวิทยาลัยหมดไปกับกิจกรรมชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติ เริ่มงานแรกในชีวิตด้วยการเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายวิชาการของมูลนิธิสืบนาคะเสถียร ข้ามฟ้าไปศึกษาต่อปริญญาโทด้านนิเวศวิทยาเขตร้อน ที่มหาวิทยาลัยเจมส์คุ๊ก ประเทศออสเตรเลีย ขณะทำวิจัยเรื่องนกกินแมลงในป่าฝนเขตร้อนก็หาเวลาไปเรียนดำน้ำและท่องโลกใต้ทะเลที่เกรทแบริเออรีฟไปด้วย พอกลับมาเมืองไทยสานต่องานอนุรักษ์กับองค์กรอนุรักษ์ธรรมชาติหลายแห่งตั้งแต่สมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า (Wildlife Conservation Society) สมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทย กองทุนสัตว์ป่าโลก (World Wide Fund for Nature) และองค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN)

เปิดโลกการเรียนรู้ธรรมะและธรรมชาติแบบไร้พรมแดน

“ฉันรักธรรมชาติมาตั้งแต่เด็ก ตั้งแต่จำความได้ฉันก็รู้สึกว่าตัวเองใช้เวลากับกิจกรรมกลางแจ้งตลอดเวลา เพราะฉันชอบสำรวจธรรมชาติ ค้นพบสิ่งใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นพืชหรือสัตว์ฉันมักสงสัยว่าสัตว์ป่าอยู่กันอย่างไร ฉันชอบพืชพันธุ์ที่เกิดจากธรรมชาติมากกว่าพืชที่ปลูกขึ้นโดยมนุษย์ ” Lynne Myers  หรือ “ลีน” หญิงชาวอเมริกันผู้หลงรักธรรมชาติเล่าประสบการณ์วัยเด็กในรัฐแมรี่แลนด์ ประเทศสหรัฐอเมริกาให้เราฟัง ครอบครัวเธออาศัยอยู่ชานเมืองจนกระทั่งเธออายุได้เก้าขวบ จึงย้ายไปอยู่ที่บ้านในชนบทท่ามกลางป่าเขาที่ยังบริสุทธิ์ทำให้เธอมีโอกาสสัมผัสธรรมชาติอย่างใกล้ชิด และใช้ธรรมชาติช่วยเยียวยาบาดแผลในใจอันเกิดจากสมาชิกในครอบครัวเกือบทุกคนมีความผิดปกติทางจิตประสาทและอารมณ์(mental disorder)กล่าวคือ แม่เป็นไบโพล่าร์ ส่วนพี่น้องสามคนเป็นโรคเครียด “ทุกครั้งที่มีเรื่องไม่สบายใจ ฉันจะเลือกอยู่กับธรรมชาติ

ความสุขประเทศไทย
PDPA Icon

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save