Uncategorized
เปิดโลกกว้างผ่านความทุกข์
“ผมลาออกจากงาน ใช้เงินเก็บก้อนสุดท้ายมาทำธุรกิจส่วนตัว แต่กลับโดนโกงไปหมด เศรษฐกิจซบเซา ไม่เป็นท่า มองไปทางไหนก็มีแต่เรื่องเครียด แต่การออกมา ‘ให้’ ในวันนี้ ทำให้ผมมองเห็นโลกกว้างมากขึ้น เห็นว่ายังมีอะไรที่ทุกข์กว่าเราอีกตั้งมากมาย”
ท้าทายกับความทุกข์
เป็นปกติทุกสัปดาห์ที่คุณป้าพรภินันท์จะมาเรียนการใช้ Tablet ที่สมาคมบ้านปันรัก ที่นี่จะมีอาสาสมัครหนุ่มสาวมาช่วยสอนกันหลายคน วันนี้อาสาสมัครที่มาช่วยสอนคุณป้าเป็นคนใหม่ เพิ่งเจอกันครั้งแรก พอเอ่ยทักทายกันคุณป้าก็สะดุดใจที่เสียงหวานแหลมของเขาที่ ‘ไม่เหมือนใคร’ แต่ก็เป็นแค่แว้บเดียวเท่านั้น เพราะหลังจากนั้นสิ่งที่ ‘เด่นชัด’ กว่าคือความตั้งใจและความปรารถนาดีที่เขานำมามอบให้กับคุณป้า โดยไม่ต้องการสิ่งตอบแทนใดๆ คุณบิล – สิงหราช รัตนพันธ์ เป็นหนึ่งในผู้โชคดีจากแคมเปญทุก(ข์)ชีวิตมีค่า เว็บไซต์ความสุขประเทศไทย แรงผลักดันที่ทำให้คุณบิลตัดสินใจส่งความทุกข์เข้ามาในแคมเปญนี้
เปลี่ยนความทุกข์เป็นโอกาส
การให้ คือ โอกาสที่ทำให้เธอเข้าใจความทุกข์ ที่สามีต้องจากไป ในขณะที่เธอกำลังจะมีลูก
ให้ความทุกข์เป็นสะพาน
เรียนไม่จบ ตกงาน ต้องอดมื้อกินมื้อ ชีวิตที่ไม่สมบูรณ์ของเขา ได้นำพาเขามาพบกับเด็กตาบอด จากการส่งเรื่องราวความทุกข์มาชิงโชค กับโปรโมชั่น ทุก(ข์)ชีวิตมีค่า และการมาเที่ยวทะเลครั้งนี้ ก็ช่วยเติมเต็มชีวิตของทั้งคู่ให้สมบูรณ์ขึ้น
“ระบบอาหารปลอดภัย” รูปธรรมของการสร้างจิตวิญญาณแห่งการเปลี่ยนแปลง
สังคมมนุษย์เลือก “อาหารการกิน” เป็นหนึ่งในรูปธรรมของการสร้างความสุขในชีวิตมาเนิ่นนาน เมื่อดีใจก็ฉลองด้วยการรับประทานอาหารดีๆ เมื่อกังวล เครียด หรือเศร้าใจก็ใช้อาหารเป็นเครื่องมือ ปลอบประโลมชีวิตให้รู้สึกดีขึ้น ปัจจุบันพบว่าอาหารยังกลายสภาพเป็นตัวแบ่งสถานะทางสังคมของผู้คน คำว่า “อยู่ดีกินดี” ถูกแปลความหมายใกล้เคียงกับคำว่า “กินหรูดูแพง” เข้าไปทุกวัน ขณะเดียวกัน สังคมบริโภคนิยมก็จัดการแยกผู้ผลิตและผู้บริโภคให้ห่างไกลออกจากกัน ไม่มีใครตั้งคำถามถึงที่มาของอาหารว่ามีที่มาจากที่ไหนอีกต่อไป คำว่า “อาหารปลอดภัย” กลายเป็นเรื่องไกลตัว