ความสุขวงใน

ศิลปะแห่งการเคลื่อนไหว ท่วงทำนองแห่งการตื่นตัวภายใน

ยูริธมี (Eurythmy) หรือศิลปะแห่งการเคลื่อนไหว เป็นศิลปะแขนงหนึ่งใน ‘ศิลปะด้านใน’ ทั้ง 7 ซึ่งเปิดเผยกฎเกณฑ์และโครงสร้างภายในของภาษาพูดและดนตรี โดยดร.รูดอร์ฟ สไตเนอร์ (Rudolf Steiner) ผู้คิดค้นหลักมนุษยปรัชญา (สัจธรรมแห่งการเป็นมนุษย์) ยูริธมีช่วยจัดระเบียบและสร้างสัมพันธ์ทั้งร่างกายและจิตวิญญาณระดับต่างๆ รวมถึงส่งเสริมให้เกิดความตระหนักรู้ทั้งในด้านความคิด ความรู้สึก และการกระทำ ซึ่งจะทำให้ผู้ปฏิบัติค้นพบความดี ความงาม

ฝีเข็มแห่งความสุข

หากใครเคยไปตลาดนัดสวนจตุจักรแถวหลังธนาคารกรุงเทพฯ จะเห็นกลุ่มคนนั่งเย็บผ้าและพูดคุยกันอย่างออกรส พร้อมเสียงหัวเราะดังเป็นระยะๆ อยู่ข้างร้านขายของเก่าที่มีสินค้าทำมือห้อยเรียงรายให้ลูกค้าได้เลือกหลากหลาย ของแต่ละชิ้นนับได้ว่ามีความพิเศษอยู่ในตัว ไม่เคยเห็นที่ไหน แถมยังมีคนเย็บผ้าเทคนิคแบบโบราณให้ได้ดูกันสดๆ

ใจโล่งโปร่งสบายด้วยการยิงธนู

หลายๆ คนที่เคยเห็นแคตนิส เอเวอร์ดีน จากภาพยนตร์เรื่อง The hunger game อาจจะรู้สึกได้ถึงความเท่ ความแข็งแกร่ง และความเก่งกาจของเธอในการต่อสู้ แถมยังมีอาวุธคู่กายเป็นธนูอีกด้วย ในปัจจุบันธนูได้กลายเป็นกีฬาระดับโลกที่น่าสนใจ และทำให้คนหันมาเริ่มเรียนรู้กีฬายิงธนูนี้กันมากขึ้น เรามักรู้จักธนูในฐานะของอาวุธชนิดหนึ่ง ที่มักใช้ในศึกสงครามตั้งแต่โบราณ หรือใช้ในการล่าสัตว์ และบุคคลที่เราจะพาทุกท่านมาพบในวันนี้ เธอเป็นนักยิงธนู คุณโบว์กี้ วิศรุตา

เข้าใจตนเองผ่านศิลปะการแสดง

‘ศิลปะการแสดงเป็นวิชาที่ทุกคนควรเรียนรู้’ คุณหลุยส์ กฤษณ์ สงวนปิยะพันธ์ หนึ่งในผู้ก่อตั้ง Blind Theater ได้อธิบายให้เราได้เข้าใจถึงเนื้อในที่แท้จริงของคำว่าศิลปะการแสดงที่เป็นมากกว่าแค่การแสดง เส้นทางการแสดงของคุณหลุยส์ มาจากการจับพลัดจับผลูได้เข้าเรียนในสาขาวิชาศิลปะการแสดง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จากการที่ค้นหาตนเองในสิ่งที่คิดว่าจะทำอะไรดี จนมาวันนี้ วันที่คุณหลุยส์คิดที่จะนำสิ่งที่ได้เรียนรู้มา ไปทำประโยชน์เพื่อคนอื่น

สนทนาค้นหาความเข้าใจ วิถีไดอะล็อก

บางคนที่เคยเข้าวง ‘ไดอะล็อก’ อาจรู้สึกว่า ก็แค่ตั้งวงสนทนา โดยนั่งล้อมกันเป็นวงกลมเท่านั้น แม้การไดอะล็อกส่วนใหญ่ เราจะนิยมนั่งล้อมพูดคุยเป็นวงกลม ไม่ว่าจะนั่งกับพื้นหรือเก้าอี้ก็ตาม แต่นั่นเป็นเพียง ‘รูปแบบภายนอก’ เท่านั้น เรียกได้ว่ายังห่างไกลกับ ‘ความพิเศษ’ ของกระบวนการไดอะล็อกอยู่มากทีเดียว ก่อนที่เราจะเริ่มเข้าสู่กระบวนการสนทนาแบบไดอะล็อก สิ่งสำคัญอย่างยิ่งคือต้องแยกแยะ ‘ความแตกต่าง’ ระหว่างการสนทนาไดอะล็อก กับการสนทนารูปแบบอื่นๆ ในหนังสือ The Magic of Dialogue (2001) โดย Daniel

สถาบันโพชฌงค์ จุดเริ่มต้นสู่ความสุขวงกว้าง

ผมมองความสุขวงใน เหมือนการโยนก้อนหินลงไปในน้ำ เกิดเป็นระลอกน้ำเล็กๆ แล้วก็แผ่ขยายวงกว้างออกไป เริ่มจากตัวเราเองตอนที่มาสอนหรือมาเรียนก็เป็นความสุขเล็กๆ ของเรา และขยายเป็นความสุขวงใหญ่ของกลุ่มคนที่มาเรียนด้วยกัน ท้ายสุดมันก็สะท้อนออกไปเมื่อเรานำความรู้นี้ออกไปใช้ข้างนอก วงความสุขของเราก็จะใหญ่ขึ้น นี่คือทัศนคติเปื้อนยิ้มของคุณธนาทัศน์ เส็งชา ผู้อำนวยการสถาบันโพชฌงค์ สถาบันที่ยกให้ความสมดุล ความสมบูรณ์ ความมีคุณค่า และความเบิกบานเป็นคุณค่าหลักขององค์กร

ความสุขประเทศไทย
PDPA Icon

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save