เรื่องน่าสนใจ
สัมผัสความสุขแต่ละเส้นทางที่คุณสนใจ ผ่านบทความ คลิปวีดีโอ การร่วมกิจกรรม เพื่อให้คุณได้เข้าถึงความสุขจากการรู้จักความจริง
เส้นทางความสุข : การสัมผัสธรรมชาติ
การพัฒนาอะไรก็ตามที่ทำให้ยากขึ้น ซับซ้อนขึ้น มักนำไปสู่ความเสื่อม แต่การพัฒนาที่ทำให้ง่ายขึ้น เบาขึ้น ถือเป็นการทำให้ดีขึ้น การดูแลใจของเราก็เช่นกัน วิถีธรรมชาติที่พาให้เราสงบ เบา สบาย ย่อมทำให้เราเกิดสุขภาวะทางปัญญาได้ แม้มนุษย์และธรรมชาติจะพึ่งพาอาศัยกันมาเนิ่นนาน ทว่าวิถีการดำเนินชีวิตในยุคปัจจุบันกลับกำลังค่อยๆ แยกมนุษย์ให้ห่างไกลออกจากธรรมชาติไปทุกที จนหลายครั้งทำให้เราหลงลืม วิ่งวนเพื่อค้นหาวิธีเอาชนะ ขัดขืน ฝืนธรรมชาติ จนลืมไปว่านั่นคือหนทางที่พาเราให้ออกห่างจากความสุขที่แท้จริงไปเรื่อยๆ อย่างไม่รู้ตัว
สร้างสมดุลใจกายด้วย ‘โยคะ’
หากจะเอ่ยถึงกิจกรรมการเคลื่อนไหวร่างกายที่ได้รับความนิยม และได้รับความเชื่อมั่นว่าผู้ฝึกจะได้สมาธิจากการฝึกอย่างยิ่งยวด หนึ่งในนั้นจะต้องมีชื่อของ ‘โยคะ’ อยู่ในลำดับต้นๆ อย่างแน่นอน มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่พบว่า ‘โยคะ’ เกิดขึ้นตั้งแต่สมัย 2,500 ปีก่อนพุทธกาล แรกเริ่มเดิมทีเป็นวิถีของพราหมณ์หรือโยคี ที่ใช้ในการฝึกฝนควบคุมจิตให้นิ่งจนเกิดเป็นสมาธิ โยคะในยุคแรกไม่มีท่าทางใดๆ มากที่สุดเป็นแต่เพียงการฝึกสำรวมร่างกายให้เกิดความสมดุลที่สุด เพื่อฝึกให้ลมหายใจหรือปราณเกิดภาวะ ‘นิ่ง’ ที่สุด เข้าสู่การเพ่ง ฌาน
นางฟ้ากระดาษ…ของขวัญเปลี่ยนชีวิต
คุณอาจคาดไม่ถึงว่า การให้ของขวัญเพียงชิ้นเดียว อาจเป็นจุดเริ่มของการเปลี่ยนแปลงชีวิตของผู้คนได้นับพัน ในสามสิบปีต่อมา Charles และ Shirley Whites ทำงานให้กับ Salvation Army (องค์กรการกุศลของคริสต์) ในช่วงคริสต์มาสพวกเขามีหน้าที่จัดหาของขวัญและเสื้อผ้าให้เด็ก ๆ ยากไร้ ที่ห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่งในรัฐเวอร์จิเนียร์ พวกเขาริเริ่มโครงการ ด้วยการเขียนชื่อของขวัญที่เด็ก ๆ อยากได้ลงไปบนการ์ดที่มีรูปนางฟ้า
ฟังเพลงเศร้า ๆ อาจทำให้เราเป็นสุข
เพลงเศร้า ๆ มีมากมาย ไม่มีใครอยากเศร้าและทุกข์ระทม แต่ทำไมเราถึงชอบฟังเพลงเศร้า ๆ กันจัง (บางทีก็ไม่ได้สูญเสียอะไรในชีวิตจริงนะ) จากการศึกษาล่าสุดจากมหาวิทยาลัยโตเกียว นักวิจัยให้คน 44 คน ที่เป็นทั้งนักดนตรีและที่ไม่ใช่นักดนตรี ฟังเพลงเศร้า 2 เพลง และเพลงที่เกี่ยวกับความสุข 1 เพลง หลังจากพวกเขาให้คะแนนการรับรู้เกี่ยวกับดนตรีและอารมณ์ของตนเอง
รอยยิ้มของพ่อ
ผมทำงานจิตอาสาเพื่ออยากให้บ้านเรา ประเทศเรา ให้โลกใบนี้มันน่าอยู่ขึ้น ทำเท่าที่พลเมืองตัวเล็กๆ อย่างเราจะทำได้ ผมเชื่อว่าหากในหลวงท่านรู้ว่ามีคนทำแบบนี้เพื่อท่าน ท่านก็คงจะยิ้มเหมือนกัน อย่างน้อยท่านก็คงดีใจที่มีคนตัวเล็กๆ คนหนึ่งอยากเดินตามรอยของท่าน อยากทำความดีเพื่อท่าน การทำงานจิตอาสาในประเทศไทยปัจจุบันนี้ ยังคงมีลักษณะคล้ายงานอดิเรกหรือกิจกรรมที่ทำกันในยามว่างชั่วครั้งชั่วคราว ดังนั้น หากมีใครสักคนหนึ่งลุกขึ้นมาประกาศว่า งานหลักของเขาคือการทำกิจกรรมจิตอาสา ย่อมต้องไม่ใช่เรื่องธรรมดาแน่นอน และยิ่งถ้าเราได้รู้เหตุผลที่อยู่เบื้องหลัง เราอาจจะต้องทึ่ง และย้อนหันกลับมาถามตัวเองว่า วันนี้เราเริ่มทำอะไรแบบเขาบ้างหรือยัง?
เรียนรู้ใจในกายด้วย ‘ไท้เก๊ก’
การเคลื่อนไหวร่างกายพลิ้วไหวเนิบช้า ดุจดั่งท่วงท่าการร่ายรำของผู้สูงวัยที่เราเห็นกันจนคุ้นชินสายตาตามสวนสาธารณะ อาจทำให้เราเกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนไปว่า ‘ไท้เก๊ก‘ เป็นการออกกำลังกายที่เหมาะเฉพาะสำหรับผู้สูงอายุเท่านั้น ซึ่งในความเป็นจริงแล้วไม่ใช่เช่นนั้นเลย ไท้เก๊กเป็นศิลปยุทธ์จีนที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ เนื่องจากเป็นการเคลื่อนไหวทางกายที่ไม่ได้ใช้แรงปะทะ จึงเหมาะกับทุกเพศทุกวัย สามารถฝึกได้ตั้งแต่เด็กอายุ 3 – 5 ขวบ ความมหัศจรรย์ของไท้เก๊กยังอยู่ที่ผลของการฝึก ที่แม้จะฝึกด้วยรูปแบบเดียวกัน แต่ส่งผลได้ตั้งแต่ระดับการออกกำลังกายเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง การเป็นศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว ลึกไปจนถึงการฝึกให้เราเข้าถึงความสุขแท้จากภายในหรือ ‘สุขภาวะทางปัญญา‘ ครูบี
ความสุขเรียบง่ายที่ชุมชนสามแพร่ง
ช่วงเวลา 2 วันของการจัดงานคือการเปิดพื้นที่สร้างสรรค์ให้ผู้คนในเมืองหลวงที่มีวิถีชีวิตเร่งรีบเคร่งเครียด ได้ย้อนกลับมาเรียนรู้วิถีชีวิตที่ง่ายๆ สบายๆ เต็มไปด้วยรอยยิ้ม การเอื้อเฟื้อแบ่งปัน เกื้อกูลกันด้วยน้ำใจไมตรีอย่างที่ชุมชนแห่งนี้เคยเป็นมาตลอดนับร้อยปี ถ้าเราบินได้เหมือนนก แล้วมีโอกาสอยู่บนฟากฟ้า มองลงมายังพื้นที่กรุงเทพมหานครเพื่อกวาดสายตาหา ‘พื้นที่ของความสุข’ เราคงเห็นผู้คนมากมายกระจุกตัวอยู่ในกล่องสี่เหลี่ยมติดแอร์ที่เรียกว่าห้างสรรพสินค้า แต่เราจะใจชื้นขึ้น เมื่อมองมายังจุดเล็กๆ ใจกลางเมืองหลวงแล้วพบว่า ยังมีพื้นที่ของความสุขที่เรียบง่าย เปี่ยมด้วยรอยยิ้ม ดุจดังโอเอซิสที่มอบความชุ่มชื้นให้กับผู้อยู่อาศัย และผู้ที่มาเยี่ยมเยือนผ่านข้ามกาลเวลามาแล้วเป็นเวลาเนิ่นนาน
ใช้ใจแทนเงิน – Gift Economy
เมื่อปี 2012 Brice Royer นอนซมอยู่บนเตียงด้วยความเจ็บปวดอย่างมาก…และเขาคิดจะฆ่าตัวตาย ทุกวันนี้ความเจ็บปวดนั้นยังอยู่ มะเร็งในกระเพาะอาหารของเขาก็ไม่ได้เล็กลง แต่เขาไม่เคยมีความสุขมากเท่านี้มาก่อน เมื่อปีที่ผ่านมา เขาตัดสินใจที่จะใช้ชีวิตในรูปแบบใหม่ คือ “ให้และรับโดยไม่ใช้เงิน” เพื่อที่จะสร้างชุมชนที่ไม่พึ่งพาเงินตราเพื่อการแลกเปลี่ยน อยู่กับความเจ็บปวดครั้งละ 1 นาที ย้อนกลับไปที่ปี 2012 หมอวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร และเมื่อความเจ็บปวดมีมากขึ้น
ความสุขลูกโป่ง สุขนี้ไม่อยู่ที่ใจ
ว่ากันว่า สุขทุกข์อยู่ที่ใจ หากสุขอยู่ที่ใจจริง ๆ แล้ว การมีความสุขไม่น่าจะยากอะไร อยากสุขเมื่อไรก็ย่อมทำได้ แต่คนส่วนมากทำใจให้เป็นสุขไม่ได้ หรือ มีความสุขไม่เป็น ทั้งชีวิตอาจรู้จักแต่ “ความสุขลูกโป่ง” เท่านั้น เอ๊ะ เป็นอย่างไร มาฟังท่านผู้รู้เรื่องความสุข วิเคราะห์เรื่องนี้กัน สุขสมบัติ : ความสุขขั้นสามัญชน