เรื่องน่าสนใจ
สัมผัสความสุขแต่ละเส้นทางที่คุณสนใจ ผ่านบทความ คลิปวีดีโอ การร่วมกิจกรรม เพื่อให้คุณได้เข้าถึงความสุขจากการรู้จักความจริง
เทคนิคการฝึกสติตลอดวันทำงานของคุณ
คุณอาจเคยมีประสบการณ์เช่นนี้ ตอนเช้าคุณมาถึงที่ทำงานพร้อมแผนการอย่างดีว่าจะทำอะไรบ้าง เวลาผ่านไปมารู้สึกตัวอีกทีก็ตอนกำลังเดินทางกลับบ้านแล้ว เวลากว่า 9 – 10 ชั่วโมงที่ผ่านไป คุณทำงานตามที่ตั้งใจไว้ได้ไม่กี่อย่าง หรือจำไม่ได้ด้วยซ้ำว่าได้ทำอะไรไปบ้างในแต่ละวัน ถ้าคุณเคยเป็นแบบนี้ก็ไม่แปลก เพราะงานวิจัยชี้ว่า คนทั่วไปใช้เวลาเกือบครึ่งหนึ่ง (47%) คิดถึงเรื่องอื่นมากกว่าสิ่งที่กำลังทำตรงหน้า หรือพูดง่าย ๆ คนส่วนมากทำสิ่งต่าง ๆ ไปตามความเคยชินโดยไม่รู้สึกตัว
‘ซ โซ่ อาสา’ พลังขับเคลื่อนสังคมด้วยความรัก
ห่วงเหล็กชิ้นเล็กๆ เพียง 1-2 ชิ้นคงไร้ความหมาย แต่หากนำมาร้อยต่อกันเป็นเส้นยาว จะกลายเป็นสายโซ่อันแข็งแกร่ง เช่นเดียวจิตอาสาหากจับมือร่วมกัน ย่อมมีพลังขับเคลื่อนและสร้างสรรค์สิ่งดีๆ เพื่อชุมชนและสังคม ท่ามกลางความเจริญอย่างไม่หยุดยั้งของกรุงเทพมหานคร ยังมีพื้นที่เล็กๆ ของคนอีกกลุ่มหนึ่งที่มักถูกละเลยและมองข้ามอยู่เสมอ นั่นคือเด็กที่มาจากครอบครัวในชุมชนแออัด ครอบครัวคนไร้บ้าน ที่แม้ความพรั่งพร้อมทางวัตถุจะอยู่ใกล้เพียงปลายจมูก แต่กลับยากเกินกว่าจะไขว่คว้าถึง และนั่นคือเหตุผลที่ทำให้ครูปู่ – ธีระรัตน์ ชูอำนาจ
นิทานสร้าง…..ได้
การรวมกลุ่มของครอบครัวที่มีความทุกข์คล้ายๆ กัน เปรียบเหมือนการสร้างเครือข่ายแห่งความห่วงใย เกิดเป็นพลังที่เกาะเกี่ยวเดินไปข้างหน้าด้วยกันอย่างมีความสุข ไม่อ้างว้างหรือท้อแท้ “ทายสิคะ แม่ตุ่นกำลังจะเล่านิทานเรื่องอะไร?” ทันทีที่แม่ตุ่นชูมือที่ซ่อนไว้ข้างหลังออกมาให้เห็นทั่วกัน เสียงจ้อกแจ้กในห้องก็เงียบลง สายตาทุกคู่จับจ้องอยู่ที่มือของแม่ตุ่น ที่ตอนนี้ปรากฎหุ่นมือตัวนิ่มสีเขียวสด ใบหน้าเป็นรูปกบยิ้มทะเล้นส่งมา “เจ้าชายกบๆ…” หลายเสียงช่วยกันตอบ แม่ตุ่นยื่นหุ่นน้อยในมือไปหาเด็กหญิงคนหนึ่ง คุณแม่ของเด็กน้อยส่งสัญญาณบอกให้ลูกจุมพิตหุ่นน้อย เด็กน้อยจุ๊บเจ้าหุ่นอย่างเอียงอาย ตอนนั้นเองที่แม่ตุ่นพลิกหุ่นกลับอีกด้าน กลายเป็นเจ้าชายหนุ่มรูปหล่อ เรียกเสียงเสียงปรบมือจากทุกครอบครัว
เส้นทางความสุข : การร่วมแรงเป็นชุมชน
วันนี้ชุมชนคงไม่ได้มีความหมายเพียงแค่การอยู่ร่วมกันบนพื้นที่ทางกายภาพ เราอาจรวมกลุ่มเป็นชุมชนกันได้ผ่านทางสังคมออนไลน์ เป็นชุมชนในมิติใหม่ ไม่ปฏิเสธเทคโนโลยี แต่นำมาสร้างสรรค์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด มีคนเคยตั้งคำถามว่า ถ้ามีปลาอยู่ 1 ตัว ทำอย่างไรถึงจะกินได้นานที่สุด บางคนตอบว่าเอาไปหมัก บางคนตอบว่าเอาไปตากแห้ง หนึ่งในคำตอบที่น่าชวนให้คิดที่สุดก็คือ ‘เอาไปแบ่งให้คนอื่น’ การแบ่งปัน เอื้ออาทรซึ่งกันและกัน เป็นความงดงามที่อยู่คู่สังคมไทยมาช้านาน ปรากฎให้เห็นอย่างชัดเจนในการรวมกลุ่มของครอบครัว เครือญาติและชุมชนที่เข้มแข็ง ทว่าน่าเสียดายที่ภาพดังกล่าวกลับค่อยๆ
เส้นทางความสุข : การทำงาน
‘ถ้าอยากมีความสุข ให้ไปทำงาน’ ประโยคข้างต้นนี้ไม่ได้เป็นไปเพื่อการประชดประชัน เสียดสี หรือมีนัยยะแฝงตลกร้ายใดๆ ทั้งสิ้น หากแต่เป็นประโยคที่มีความหมายตรงตามนั้นจริงๆ หากใครอยากมีความสุข ขอให้ไปทำงาน เพียงแต่มีข้อแม้นิดเดียวว่า การจะทำงานเพื่อให้มีความสุขได้นั้น จำเป็นที่จะต้องมีการฝึกฝนสิ่งที่เรียกว่า ‘สุขภาวะทางปัญญา’ ควบคู่ไปด้วย เคยมีการคำนวณว่า คนเราใช้เวลากว่า 80% ของชีวิตอยู่ในที่ทำงาน ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่น่าเสียดายมาก ถ้าเราจะใช้เวลาจำนวนมากขนาดนี้ให้หมดเปลืองไปกับความทุกข์
ความเข้าใจผิดที่สำคัญสุดเกี่ยวกับความสุข
การพยายามมีความสุขเป็นสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งที่หลายคนไปปรึกษาจิตแพทย์ บางคนบอกว่าลองมาแล้วทุกอย่าง แต่ยังไม่พบกับความสุข หลายคนอ่านหนังสือและบทความมากมายว่าทำอย่างไรจึงจะมีความสุข แต่ก็ยังไม่มีความสุข และบางครั้งการตามหาความสุขก็กลับเป็นผลร้าย ทำให้เป็นทุกข์มากกว่าเดิมเสียอีก นั่นเป็นเพราะเรามีความเชื่อที่ผิด! ความเข้าใจผิดที่สำคัญสุดเกี่ยวกับความสุขคือ ความเชื่อที่ว่า การจะมีความสุขได้นั้นต้องพยายามหลีกเลี่ยงความเจ็บปวดทุกวิถีทางให้ได้ แต่โดยความจริงแล้ว ความเจ็บปวดเป็นส่วนหนึ่งของการมีความสุข นักวิจัยพบว่ามันทำให้เกิดความสุขได้หลาย ๆ ทาง
เส้นทางความสุข : การสัมผัสธรรมชาติ
การพัฒนาอะไรก็ตามที่ทำให้ยากขึ้น ซับซ้อนขึ้น มักนำไปสู่ความเสื่อม แต่การพัฒนาที่ทำให้ง่ายขึ้น เบาขึ้น ถือเป็นการทำให้ดีขึ้น การดูแลใจของเราก็เช่นกัน วิถีธรรมชาติที่พาให้เราสงบ เบา สบาย ย่อมทำให้เราเกิดสุขภาวะทางปัญญาได้ แม้มนุษย์และธรรมชาติจะพึ่งพาอาศัยกันมาเนิ่นนาน ทว่าวิถีการดำเนินชีวิตในยุคปัจจุบันกลับกำลังค่อยๆ แยกมนุษย์ให้ห่างไกลออกจากธรรมชาติไปทุกที จนหลายครั้งทำให้เราหลงลืม วิ่งวนเพื่อค้นหาวิธีเอาชนะ ขัดขืน ฝืนธรรมชาติ จนลืมไปว่านั่นคือหนทางที่พาเราให้ออกห่างจากความสุขที่แท้จริงไปเรื่อยๆ อย่างไม่รู้ตัว
สร้างสมดุลใจกายด้วย ‘โยคะ’
หากจะเอ่ยถึงกิจกรรมการเคลื่อนไหวร่างกายที่ได้รับความนิยม และได้รับความเชื่อมั่นว่าผู้ฝึกจะได้สมาธิจากการฝึกอย่างยิ่งยวด หนึ่งในนั้นจะต้องมีชื่อของ ‘โยคะ’ อยู่ในลำดับต้นๆ อย่างแน่นอน มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่พบว่า ‘โยคะ’ เกิดขึ้นตั้งแต่สมัย 2,500 ปีก่อนพุทธกาล แรกเริ่มเดิมทีเป็นวิถีของพราหมณ์หรือโยคี ที่ใช้ในการฝึกฝนควบคุมจิตให้นิ่งจนเกิดเป็นสมาธิ โยคะในยุคแรกไม่มีท่าทางใดๆ มากที่สุดเป็นแต่เพียงการฝึกสำรวมร่างกายให้เกิดความสมดุลที่สุด เพื่อฝึกให้ลมหายใจหรือปราณเกิดภาวะ ‘นิ่ง’ ที่สุด เข้าสู่การเพ่ง ฌาน