เรื่องน่าสนใจ

สัมผัสความสุขแต่ละเส้นทางที่คุณสนใจ ผ่านบทความ คลิปวีดีโอ การร่วมกิจกรรม เพื่อให้คุณได้เข้าถึงความสุขจากการรู้จักความจริง

ความรักหล่นหาย หรือ เรามองไม่เห็น ?

มีใครบางคนเคยตั้งข้อสังเกตว่า สาเหตุของความยุ่งเหยิงและขัดแยังบนโลกใบนี้ ส่วนหนึ่งน่าจะเกิดขึ้นเพราะพวกเราเป็นมนุษย์ที่ ‘ขาดความรัก’ ซึ่งก็น่าแปลกใจเหลือเกินว่า พวกเราพากันทำความรักหล่นหายไปที่ตรงไหน ? หรือแท้จริงแล้วความรักไม่ได้หาย…แต่เป็นตัวเราที่สัมผัสถึงมันไม่ได้เอง ? Jim George นักประพันธ์ชาวอเมริกันกล่าวไว้ว่า “Listening is an act of love.” แปลเป็นไทย ๆ

เพราะเปิดใจฟัง รักจึงยั่งยืน

กันยาแต่งงานกับเดชมาร่วมสิบปีแล้ว แต่ ๒-๓ ปีหลังเธอมีปากเสียงกับเขาอยู่เป็นประจำ  ไม่ใช่เพราะว่าเขานอกใจเธอ  เขายังคงใส่ใจเธอและรับผิดชอบกับครอบครัวไม่แปรเปลี่ยน แต่สิ่งที่เธอทนเขาไม่ค่อยได้ก็คือ เขาชอบโทรศัพท์มาถามเธอแทบทุกเย็นว่าจะกลับบ้านกี่โมง ตอนนี้อยู่ที่ไหนแล้ว ฯลฯ  เธอไม่เข้าใจว่าทำไมเขาต้องโทรมาถามบ่อย ๆ ราวกับว่าเธอมีพฤติกรรมไม่น่าไว้วางใจ  ระยะหลังเพียงแค่เห็นเบอร์โทรศัพท์ของเขาขึ้นที่หน้าจอ เธอก็หัวเสียทันที บ่อยครั้งที่เธอตวาดใส่เขาทางโทรศัพท์ แต่เขาก็ไม่โกรธเธอ  ยังคงพูดกับเธอด้วยดี  สิ่งหนึ่งที่เขาขอร้องจากเธอก็คือ ขอให้มากินข้าวบ้านทุกเย็น

3 เทคนิค ฝึกฟังด้วย ‘ใจ’

….เพราะการรับฟังไม่ใช่แค่การได้ยินผ่านหู แต่ต้องรับรู้ด้วย ‘ใจ’……. ทุกวันนี้เหมือนโลกจะเล็กลง เราสามารถติดต่อ พูดคุย อ่าน มองเห็น ได้ยิน คนจากทั่วทุกมุมโลกผ่านเทคโนโลยีการสื่อสาร โลกออนไลน์กลายเป็นโลกเสมือนจริงที่ดูคล้ายจะทำให้เราเข้าใกล้กันมากขึ้น แต่ในทางตรงกันข้าม เรากลับพบว่าเราโดดเดี่ยว แตกแยก ห่างเหินจากกันและกันมากขึ้นทุกทีในโลกชีวิตจริง ถ้าไม่นับข้อความผ่านแชทในช่องทางต่าง ๆ จำได้ไหมว่า…เราได้พูดคุย สบตา สนทนากับคนที่เรารักครั้งสุดท้ายเมื่อไร

คุยอย่างไร ให้เข้าใจและไม่ให้โกรธกัน

ที่เราไม่เข้าใจกันอาจไม่ใช่เพราะคุยคนละเรื่องแต่เพราะคุยคนละรูปแบบต่างหาก มาเข้าใจการสนทนาสองรูปแบบกัน… การสนทนาอาจเป็น “พร” หรือ “คำสาป” ก็ได้ และเป็นปัญหาที่พบบ่อยสุดในความสัมพันธ์ เพราะการสื่อสารเป็นพื้นฐานของความสัมพันธ์แต่ก็มีความซับซ้อนที่จะทำอย่างถูกต้อง หลายคนพยายามศึกษาเทคนิคในการสื่อสารสารพัดซึ่งก็ชวนสับสน เราขอสรุปรวบยอดว่าการพูดคุยมีสองรูปแบบใหญ่ ๆ เท่านั้น คือ การแลกเปลี่ยน และ เพื่อแก้ปัญหา โดยการสนทนาสองแบบนี้มีจุดหมายต่างกัน คุยแบบแลกเปลี่ยน ก็เพื่อแบ่งปันความรู้สึก มุมมอง

เคล็ดลับถนอมความสัมพันธ์

“…เมื่อความสัมพันธ์เดินทางมาถึงจุดเปราะบางที่สุด คุณมีเคล็ดลับถนอมความสัมพันธ์ของคุณอย่างไร?…” มนุษย์เราเป็นสัตว์สังคม ส่วนใหญ่เราไม่ชอบที่จะอยู่คนเดียวนักหรอก เราชอบที่จะมีความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง  ความสัมพันธ์ที่ว่าเป็นไปได้หลายรูปแบบ ทั้งพ่อแม่ พี่น้อง เจ้านายลูกน้อง เพื่อนสนิท คนรัก คู่สามีภรรยา ฯลฯ พลังของความสัมพันธ์ที่ดีจะกระตุ้นชีวิตของเราให้เต็มเปี่ยมไปด้วยความสุขและมีชีวิตชีวา Harvard Study of Adult Development คือชื่อของงานวิจัยที่ยาวนานที่สุดในโลก

สามล้อหัวใจทองคำ

เมื่อพูดถึงการเป็น ‘ผู้ให้’ หลายคนมักจะพูดถึงความพร้อม ไม่ว่าจะเป็นความพร้อมของร่างกาย เงินทอง เวลา ความรู้ ฯลฯ และมักจะรอเวลาหรือรออะไรบางอย่าง เพื่อให้เรามีพร้อมแล้วจึงจะเริ่มเป็น ‘ผู้ให้’ ทั้งที่จริงแล้ว ความพร้อมที่ว่านี้ เป็นเรื่องที่หลายคนเองก็ยังไม่เคยรู้ด้วยซ้ำว่ามันจะมาถึงเมื่อไร? บางทีหลังจากอ่านเรื่องราวต่อไปนี้ อาจมีบางอย่างที่เปลี่ยนแปลงไป…. ย้อนกลับไปที่เมืองเทียนจิน ประเทศจีน เย็นย่ำของวันหนึ่งในปี ค.ศ.1987

ภาวนากับความทุกข์

บอกสิ่งที่คุณทำเป็นอย่างแรกเมื่อเจอ ‘ความทุกข์’ ก. นั่งจ่อมจมขังตัวเองอยู่กับความทุกข์ ร้องไห้ให้สาสมใจ ข. พาตัวเองออกไปปาร์ตี้ยันสว่าง ราตรีเต็มไปด้วยสีสัน ค. ไปเม้าท์มอยกับเพื่อนฝูง กินบุฟเฟ่ต์ให้สาแก่ใจ ง. ออกไปผลาญเงินช้อปปิ้ง เทกันให้หมดกระเป๋า ถ้าใครพยักหน้าว่าเคยทำครบทุกข้อ แต่ก็ยังไม่เจอทางออกจากทุกข์เสียที วันนี้ชวนมาลองใช้วิธีใหม่เพื่อรับมือกับความทุกข์กันดีกว่า กับ นพ.สตางค์ ศุภผล

เปิดใจใสๆ กับวิชา ‘ความสุข’

‘ชีวิต คือ การเรียนรู้’ เป็นวลีฮิตที่เราได้ยินกันบ่อยมาก ซึ่งถ้าไม่นับการเรียนวิชาการในรั้วโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยที่หลายคนรู้สึกแสนจะหนักและเหน็ดเหนื่อย ลองย้อนกลับไปดู ‘วิชาชีวิต’ ที่เราได้เรียนรู้จากโลกนอกห้องเรียนอันกว้างใหญ่กันบ้างดีกว่า ประสบการณ์ชีวิตครั้งไหนที่ทำให้เราได้เรียนรู้ถึงความสุขที่แท้จริงบ้าง? ถ้ายังนึกไม่ออก….ขอให้ลองกลับไปนึกถึงครั้งที่คุณได้มีโอกาสเป็น ‘ผู้ให้’ เพราะนั่นคือบทเรียนสำคัญที่สุดบทหนึ่งของการเรียนรู้วิชา ‘ความสุข’ ที่แท้จริง… วันนี้ความสุขประเทศไทย ชวนคุณมาเปิดใจใส ๆ เรียนรู้ความสุขจากการเป็นผู้ให้กับ ผศ.ดร.จงดี โตอิ้ม

คุณยายยอดนักเขียน

หลายสิ่งหลายอย่างในโลกนี้อาจมีวันหมดอายุ แต่ ‘ความฝัน’ ไม่เคยเป็นเช่นนั้น ขอแนะนำให้รู้จักคุณยายชาวจีนนาม ‘เจียง ซู่ เหม่ย’ ผู้ซึ่งบรรลุความฝันในยามเยาว์วัยของเธอ ด้วยการฝึกหัดอ่านเขียนหนังสือด้วยตัวเองเมื่ออายุ 60 และก้าวเป็นนักเขียนเต็มตัวในวัย 70 ปี ! ‘เจียง ซู่ เหม่ย’ เกิดที่เมืองชางตง ประเทศจีน

ความสุขประเทศไทย
PDPA Icon

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save