เรื่องน่าสนใจ

สัมผัสความสุขแต่ละเส้นทางที่คุณสนใจ ผ่านบทความ คลิปวีดีโอ การร่วมกิจกรรม เพื่อให้คุณได้เข้าถึงความสุขจากการรู้จักความจริง

“ศิลปะบำบัด” (Art Therapy) : เยียวยาจิตวิญญาณให้สมดุล

มนุษย์พบแล้วว่า “ศิลปะ” มิใช่เป็นเพียงกิจกรรมสร้างสรรค์ที่มีไว้ผ่อนคลายหรือเพื่อความเพลิดเพลินเท่านั้น แต่ยังสามารถนำศิลปะมาเยียวยาปัญหาด้านจิตใจได้อย่างดีเยี่ยม เป็นเวลาเนิ่นนานมากแล้วที่ในต่างประเทศได้ใช้ “ศิลปะบำบัด” (Art Therapy) รักษาผู้ป่วยทาง กายและจิตใจ กระทั่งในประเทศไทยเราก็ใช้ ศิลปะบำบัดมานานกว่า 20 ปี แต่กลับเป็นที่รู้จักในวงแคบๆเท่านั้น ผมคิดว่าศิลปะเป็นเรื่องลึกซึ้งมาก ยิ่งเรียนรู้มากขึ้นเท่าไหร่ก็ยิ่งรู้สึกว่าไม่มีจุดสิ้นสุดและศิลปะก็ทำงานกับจิตใจของคนได้น่าสนใจทีเดียวเพราะศิลปะมีศักยภาพที่จะเปลี่ยนแปลงมนุษย์ได้… – อนุพันธ์ พฤกษ์พันธ์ขจี

การเคลื่อนไหวอย่างมีสติ : อยู่กับที่นี่เดี๋ยวนี้เพื่อชีวีเป็นสุข

ตลอดชีวิตที่ผ่านมา “ชีวิต” หากไม่ดับสูญหรือไม่พิกลพิการ ก็ย่อมจะเคลื่อนไหวอยู่แทบจะตลอดเวลา แต่การเคลื่อนไหวของคนเรานั้น หลายต่อหลายครั้งมักเป็นไปอย่างขาดสติจึงก่อให้เกิดอุบัติเหตุอยู่เสมอ หรืออย่างน้อยก็นำความผิดพลาดเสียหายมาให้อย่างคาดไม่ถึง ปุถุชนโดยทั่วไปจิตใจมักจะไม่ตั้งมั่นอยู่กับปัจจุบัน แต่ติดยึดอยู่กับสัญญา(ความทรงจำในอดีต) สังขาร(กังวลกับอนาคต) และเวทนา(ความรู้สึกสุข ทุกข์) กระทั่งเกิดหลงๆลืมๆจนไม่รู้ด้วยซ้ำว่าตนเองจะไปไหนหรือกำลังทำอะไรอยู่! เรียกได้ว่าอยู่ไปวันๆอย่างไร้สติสัมปัญชัญญะ

กระบวนการละคร

“กระบวนการละคร” เป็นสิ่งสร้างเสริมสุขภาวะทีน่าสนใจอย่างยิ่ง ทั้งสุขภาวะทางปัญญาของเยาวชน การเรียนรู้ของเยาวชนที่ส่งเสริมกระบวนการคิดวิเคราะห์ มีวิจารณญาณ และสามารถสื่อสารความคิดเพื่อการแกัปัญหาอย่างเสมอภาคเท่าเทียม เป็นทักษะที่จำเป็นอย่างยิ่งของโลกในศตวรรษที่ 21 ทั้งหมดทั้งปวงผมเชื่อว่ากระบวนการละครจะช่วยฝึกสิ่งเหล่านี้ได้ เพราะละครสนใจในความเป็นมนุษย์ – พฤหัส พหลกุลบุตร มูลนิธิสื่อชาวบ้าน (มะขามป้อม) หัวหน้าโครงการพัฒนาเครือข่ายละครสร้างปัญญาเพื่อเยาวชน (Theatre for Transformation Network) และสร้างสุขภาวะปัญญาของสังคม

การทำงานอย่างมีความสุข : ก้าวย่างแห่งการพัฒนาจิต

ทั้งๆที่ “การทำงาน” คือความจำเป็นในการดำรงชีพ และเป็นวิถีชีวิตของผู้คนโดยทั่วไป แต่หลายต่อหลายคนมันได้กลายเป็นความฝืนใจ ความกดดันและความทุกข์ทรมาน กระทั่งเกิดคำถามขึ้นในใจอยู่เสมอว่า จะเป็นไปได้หรือไม่ ที่การทำงานกับ “ความสุข” จะก้าวเดินคู่กันไปอย่างสมดุลและยั่งยืน ซึ่งคำถามนี้ได้นำมาสู่แนวทางหลากหลายที่น่าสนใจยิ่ง เพราะแม้มีเป้าหมายร่วมกันคือ การทำงานอย่างมีสุข ซึ่งกรมสุขภาพจิตได้ระบุว่า หากคนเราทำงานอย่างมีความสุข ผลพวงที่ตามมาก็ย่อมคือ “คุณภาพ” และ “ความสำเร็จ”

ชุมชนนิเวศน์ : สถานพักผ่อนแห่งจิตวิญญาณ

โลกยุคดิจิตอล… ผู้คนส่วนใหญ่หลงใหลไปกับแสงสีเสียง เทคโนโลยี่ และวัฒนธรรมโซเชียลมีเดีย กระทั่งหลงลืมไปแล้ว่า ภูมิปัญญาชาวบ้าน คืออะไร ? ไม่เข้าใจเรื่องการจัดการทรัพยากรให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมประเพณีพื้นถิ่น ในสิ่งที่ดูเหมือนจะรุดไปข้างหน้า ยังมีผู้คนอีกมิใช่น้อย ที่ไร้ความสุข ทั้งเหนื่อยทั้งเครียด ว้าเหว่อ้างว้าง เขาเหล่านั้นเริ่มใฝ่ฝันถึงชีวิตที่เรียบง่ายสงบเย็นดังเป็นมาแต่อดีต และยังคงอยู่แม้ปัจจุบัน ดังเช่นในชุมชนท้องถิ่นอันอบอุ่นไปด้วยความจริงใจไมตรี และนี่เองที่ยังผลให้ผู้คนทั้งต่างแดนและบ้านเรามุ่งสานฝัน สร้าง “วันที่เคยชื่น

ธนาคารจิตอาสา : ต้นทุนเพื่อสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์

ธนาคารนี้คงเป็นแห่งเดียวในเมืองไทยที่ไม่รับฝากเงินทอง แต่รับบริจาค “เวลา” ! ภายใต้ 3 ภารกิจหลัก นั่นคือ ระบบฝากเวลา (Time Bank) ปฐมนิเทศและการอบรม (Orientation and Training) งานอาสาสัมพันธ์ (VRM-Volunteer Relation Management) แม้ธนาคารน้องใหม่ดังกล่าว

ซาเทียร์ : ขุมพลังอันยิ่งใหญ่ในตัวเรา

“ความสุขที่แท้จริง” คืออะไร ? ดูเหมือนทุกคนบนโลกต่างก็ไขว่คว้าหา “ความสุข” อย่างแสนจะเหน็ดเหนื่อย และโดยมากมักจะเชื่อกันว่า ความสุขก็คือ วัตถุภายนอก ข้าวของเงินทอง กระทั่ง ลาภ ยศ สรรเสริญ ทุกคนต่างแย่งชิงไล่ล่าอย่างไม่รู้จบ แต่มักจะได้บ้าง ไม่ได้บ้าง ได้มากบ้าง น้อยบ้าง ไม่เคยสมใจหรือพอใจ หนำซ้ำเมื่อได้มากลับนำความทุกข์มาให้อย่างหนักหนายิ่งกว่าเดิม

Deep Listening : ฟังกันอย่างเมตตากรุณา

ปัญหาใหญ่ของมนุษย์ทุกวันนี้ก็คือ “ไม่มีใครฟังใคร” ทุกคนล้วนแย่งกันพูด ถึงแม้จะฟังก็ฟังแบบแกนๆผ่านๆ หูซ้ายทะลุหูขวา ไม่มีใครใจเย็นพอที่จะฟังใครอย่างลึกซึ้งเพื่อความเข้าใจอย่างแท้จริง ทั้งๆที่ผู้ที่ตกอยู่ในห้วงทุกข์ต่างก็ต้องการระบายความทุกข์ที่อัดอั้นเก็บกด และหวังว่าจะมีใครสักคนที่รับฟังเขาอย่างมีเมตตากรุณา โดยไม่ตำหนิติด่า และไม่ต้องยัดเยียดความคิดใดๆทั้งสิ้น

สุนทรียสนทนา : ชนะร่วมกันอย่างสมานฉันท์

แม้ว่า “การสนทนา” คือชีวิตประจำวันของผู้คนส่วนใหญ่ แต่หลายต่อหลายครั้งมันกลับไม่ได้เป็นไปอย่าง “สุนทรียะ” ซึ่งมักนำมาสู่ความขัดแย้งแตกคอ และแตกแยก หรือแม้แต่เกิดการห่างเหินเย็นชา รากเหง้าแห่งปัญหาก็คือ “ตัวตน” ที่ห่อหุ้มภายในใจของแต่ละคน เช่น การยึดมั่นถือมั่นในชนชั้น ฐานะ ตำแหน่ง วัยวุฒิ สังกัด หรือแม้แต่ความเชื่อส่วนบุคคล (ศาสนา การเมือง

ความสุขประเทศไทย
PDPA Icon

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save