เรื่องน่าสนใจ
สัมผัสความสุขแต่ละเส้นทางที่คุณสนใจ ผ่านบทความ คลิปวีดีโอ การร่วมกิจกรรม เพื่อให้คุณได้เข้าถึงความสุขจากการรู้จักความจริง
ง่ายงามในความธรรมดา : ธรรมดาที่ไม่ธรรมดา
ความปรารถนาอย่างยิ่งอีกสิ่งของปุถุชนก็คือ ความแน่นอนมั่นคง ทั้งๆที่โดยสัจจะแล้ว มันเป็นไปไม่ได้ หนำซ้ำความอยากดังกล่าวยังนำทุกข์มาให้อย่างจีรัง ! ฉะนั้น มนุษย์จึงควรตั้งคำถามกับตนเองว่า ท่ามกลางความไม่แน่นอนของชีวิตนั้น เขาควรจะดำเนินชีวิตอย่างไร ? เมื่อในโลกแห่งความจริงนั้นฝันของเราไม่มีทางเป็นจริงได้ทุกอย่าง จึงควรหาหนทางผ่อนคลายความทุกข์ไว้ล่วงหน้า และหาคำตอบให้แก่ตนเอง ท่ามกลางมรสุมแห่งชีวิต โดยยังคงมีกำลังใจ และสนุกกับการเดินทางบนเส้นทางแห่งชีวิต
NLP : เปลี่ยนความคิดชีวิตเปลี่ยน
การดึงสิ่งไม่ดีเข้ามาในชีวิต มาจากความรู้สึกผิด ลงโทษตัวเอง โดยไม่รู้ตัว – ครูอ้อย ฐิตินาถ ณ พัทลุง โลกของเราใบนี้ ยังมีผู้คนอีกมากมายที่จมอยู่กับความทุกข์โศก กังวลกลัว ยังตกอยู่ในบ่วงของความรู้สึกผิดอยู่แทบทุกขณะจิต เหล่านี้ล้วนกลายเป็นอุปสรรคอันสำคัญในชีวิต ยังผลให้ผู้นั้นดำเนินกิจวัตรไปอย่างไร้สุข และไม่ประสบความสำเร็จแทบทุกเรื่อง ทั้งเรื่องการเรียน เพื่อนฝูง ความรัก การทำงาน
การปฏิบัติทองเลน (Tonglen) : รับทุกข์-ส่งสุขด้วยรักและเมตตา
“ส่งจิตให้ผู้อื่นมีความสุข และตั้งจิตให้ตนเองพ้นทุกข์” นั่นคือวิธีคิดที่มีมาแต่ดั้งเดิม แต่หลายท่านอาจถึงกับตะลึง เมื่อทราบว่า มรรควิธีแห่ง “ทองเลน” (Tonglen Tib. གཏོང་ལེན་) นอกจากเผื่อแผ่ความสุขให้ผู้อื่น(Tong) ยังยินดีที่จะรับทุกข์รับโศกจากผู้อื่นมาสู่ตนเองอีกด้วย(Len)
นพลักษณ์ : ศาสตร์ระดับจิตวิญญาณ
“นพลักษณ์” (Enneagram) คือศาสตร์แห่งการเรียนรู้ เพื่อทำความเข้าใจ และเปลี่ยนแปลงตนเองในระดับจิตวิญญาณ อดีตกาลนานโพ้นกว่า 2 พันปี เมื่อครั้งที่นักบวชซูฟี (นิกายหนึ่งในศาสนาอิสลาม) ได้ตั้งปุจฉาว่า เหถุใดแม้นักปฏิบัติธรรมก็ยังมีปัญหาบาดหมางกัน นั่นนำมาซึ่งการค้นคว้าแสวงหา กระทั่งค้นพบสัจจธรรมแห่งการมองเข้าไปในตน มิใช่มุ่งจะอยากเปลี่ยนแปลงหรือเพ่งโทษผู้อื่น แต่นี่คือการเปลี่ยนแปลงอย่างลึกซึ้งในระดับจิตวิญญาณซึ่งยึดโยงกับความสุขความทุกข์
เครือข่ายจิตอาสา Volunteerspirit : สร้างสังคมและตนเองให้เติบโตและเป็นสุข
มหันตภัยสึนามิเมื่อปลายปี พ.ศ.2547 นำความวิปโยคใหญ่หลวงมาสู่หลายประเทศในแถบเอเชีย (รวมทั้งประเทศไทย) แต่ ท่ามกลางความสูญเสียเศร้าโศกกันเกินบรรยายนั้น ได้ก่อให้เกิด “อาสาสมัคร” จากหลายชาติหลายภาษาผู้เข้าร่วมเป็นพลังกายใจช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์อย่างไม่เห็นแก่เหนื่อยยาก แล้วต่อมายังได้เชื่อมโยงติดต่อกันเป็นเครือข่ายจิตอาสา (Volunteer Spirit Network) มีกิจกรรมสาธารณประโยชน์อย่างต่อเนื่องอย่างเป็นรูปธรรม
การสื่อสารอย่างสันติ : นำสู่กัลยาณมิตร
ที่ใดมีคนมากกว่า 1 คนขึ้นไปย่อมยากที่จะไม่มีความขัดแย้ง คำถามจึงไม่ใช่จะทำอย่างไรจึงจะไม่เกิดความขัดแย้งใดๆเลย แต่ปัญหาคือ จะบริหารจัดการกับความขัดแย้งอย่างไรจึงจะสร้างสรรค์สันติและก่อเกิดเป็นกัลยาณมิตร ความมีเมตตา มีสัมมาทิฐิ ย่อมนำมาซึ่งสติและมีใจที่เป็นกลาง คลายความยึดมั่นถือมั่นและเข้าใจผู้อื่นอย่างกระจ่างแจ้งยิ่งขึ้น ซึ่งนั่นจะทำให้ความขัดแย้งไม่ใช่ความน่ากลัว แต่หาก ปฎิสัมพันธ์ของคู่กรณีอัดแน่นไปด้วยอคติ และทิฐินั่นก็ย่อมทำให้ความขุ่นเคืองชิงชัง ความรุนแรงขยายยิ่งขึ้นอย่างยากจะเยียวยา ความขัดแย้งตั้งแต่ระดับ คู่รัก ครอบครัว กระทั่งประเทศชาติ หากไม่ได้รับการแก้ปัญหาที่ถูกต้องก็ย่อมแผ่ขยายลุกลามบานปลายไปอย่างน่ากลัว
ฝึกทักษะการจับประเด็น … เพื่อชีวิตที่ไม่หลงทาง
แม้มนุษย์จะได้ชื่อว่าเป็นสัตว์โลกที่ฉลาดล้ำลึกที่สุด แต่ต้องยอมรับว่ามนุษย์มีข้อจำกัดในหลายๆประการ เช่น มีความทรงจำที่จำกัด จึงไม่สามารถจำทุกถ้อยกระบวนความในแต่ละวันได้หมด มีความอดทนที่จำกัดจึงมักจะไม่ทนพอที่จะฟังใครพูดอะไรที่ยาวๆนานๆ หรือการพูดจาที่ซ้ำซากวกวน มีเวลาที่จำกัด จึงไม่อาจจะนั่งคุยหรือเสวนากับใครได้นานเป็นวันๆ ได้
มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม : สะพานสายรุ้งแห่งสันติภาพ
“หากสังคมใดมีความเป็นธรรม สังคมนั้นย่อมมีสันติภาพ และเราทุกคนสามารถเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างการเปลี่ยนแปลงนี้ร่วมกันได้” นี่คือหลักการของมูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม(มอส.) ซึ่งเชื่อว่า สำนึกแห่งจิตอาสานั้นเป็นสิ่งที่ปลูกฝังได้ หากมาเรียนรู้กระบวนการทำงานของอาสาสมัคร เพราะจะก่อให้เกิดจิตสำนึกของการช่วยเหลือเพื่อนร่วมสังคมด้วยจิตที่เมตตากรุณา พร้อมกันกับจะได้ตรวจทานตนเองอยู่เสมอว่า สิ่งที่กำลังทำอยู่เป็นประโยชน์จริงหรือไม่ ?ทำเพื่อประโยชน์สุขของใคร ? และสิ่งที่ทำนี้ได้ช่วยยกระดับคุณค่าแห่งความเป็นมนุษย์ใช่หรือไม่ ? เหล่านี้จะเป็นดังแสงสว่างที่คอยนำทางไปสู่คุณงามความดี เพื่อการอยู่ร่วมกันในสังคมนี้อย่างมีความเป็นธรรมและสันติสุข
อาสาข้างเตียง … เราจะก้าวผ่านความทุกข์ยากไปด้วยกัน
“อาสาข้างเตียง” คือ อาสาสมัครผู้อยู่เคียงข้างผู้ป่วยเรื้อรัง หรือผู้ป่วยระยะสุดท้าย เพื่อเป็นกำลังใจ เป็นเพื่อนชวนพูดคุยรับฟัง หรือชวนทำกิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อให้ผู้ป่วยสบายใจ ผ่อนคลายจากความกังวลกลัว ความเงียบเหงา มีชีวิตที่เหลืออย่างมีความสุข และ ก้าวข้ามความทุกข์ยากไปด้วยกัน จริงอยู่ โรงพยาบาลย่อมมีแพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์พร้อมอยู่แล้ว แต่เป็นที่ทราบกันอยู่ว่า ทุกท่านล้วนแล้วมีภาระหนักอึ้ง การมีจิตอาสาซึ่งมีเมตตาจิตและผ่านการอบรมมาจนมีความเข้าอกเข้าใจผู้ป่วยเป็นอย่างดี ย่อมเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระแก่โรงพยาบาลได้แน่นอน