เรื่องน่าสนใจ
สัมผัสความสุขแต่ละเส้นทางที่คุณสนใจ ผ่านบทความ คลิปวีดีโอ การร่วมกิจกรรม เพื่อให้คุณได้เข้าถึงความสุขจากการรู้จักความจริง
เปิดโลกการเรียนรู้คนรุ่นใหม่กับ ดร. อดิศร จันทรสุข
ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จังหวัดปทุมธานี บรรยากาศเปิดปีการศึกษาใหม่คึกคักไปด้วยนักศึกษาที่เพิ่งผ่านรั้วโรงเรียนเข้าสู่มหาวิทยาลัย คนหนุ่มสาวในวัยแสวงหาความหมายต่างก้มหน้าก้มตามองดูหน้าจอมือถือของตนเอง บ้างอ่านข่าวสารอัพเดทในโลกสังคมออนไลน์ บ้างค้นหาสินค้าไอทีรุ่นใหม่ บ้างค้นหาผลิตภัณฑ์เสริมความงามไปจนถึงสถาบันลดความอ้วน พอถึงเวลาเข้าเรียนชั่วโมงแรก ทุกคนแยกย้ายกันเข้าห้องเรียน เตรียมพร้อมจดเลคเชอร์ตามความเคยชิน ทว่า เมื่อย่างเท้าเข้าไปในห้อง พวกเขาต้องแปลกใจกับรูปแบบการจัดห้องที่เรียงเก้าอี้เป็นวงกลม ไม่มีโต๊ะกั้นกลางระหว่างอาจารย์และนักศึกษาเหมือนห้องเรียนทั่วไป ไม่กี่นาทีต่อมา อาจารย์คนแรกเดินเข้ามาในห้อง ตามด้วยคนที่สองและสาม นักศึกษาเริ่มทำหน้างงเพราะไม่แน่ใจว่า อาจารย์ประจำวิชานี้คือคนไหน
Happy Dolls Project เติมรอยยิ้มให้ผู้คนด้วยตุ๊กตาจิตอาสา
เด็กดีต้องเชื่อฟังผู้ใหญ่ แต่บางครั้งคำพูดของผู้ใหญ่ที่ไม่ได้ตั้งใจอาจสร้างปมให้เด็กเบนเข็มทิศชีวิตไปอีกทางหนึ่งได้เช่นกัน ด้วยเพราะความไร้เดียงสาเด็กจึงมักฟังเสียงผู้ใหญ่มากกว่าเสียงตัวเอง นงลักษณ์ พิทักษ์ธรรมนาถ หรือ “ลักษณ์” เป็นคนหนึ่งที่เคยมีปมวัยเด็กจากคำพูดของครูชั้นประถมซึ่งบอกว่า “เธอวาดรูปไม่สวยและไม่มีความคิดสร้างสรรค์” ความเสียใจทำให้นงลักษณ์เบนเข็มชีวิตถอยห่างจากงานศิลปะเข้าสู่เส้นทางสายงานคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานนับสิบปี ทว่า เมื่อเดินไปจนสุดทาง ความสุขกลับเริ่มลดลง เธอจึงย้อนกลับมาฟังเสียงหัวใจตนเองเพื่อคลี่คลายปมในใจวัยเด็ก ก้าวผ่านความหวาดกลัวไปสู่ความกล้าหาญ ลงมือออกแบบตุ๊กตาตัวแรกมีรอยยิ้มกว้างเป็นเอกลักษณ์จนเด็กทุกคนที่ได้เห็นมักยิ้มตามไปด้วย เธอจึงตั้งชื่อตุ๊กตาที่ออกแบบจากความคิดสร้างสรรค์ของตนเองตัวแรกว่า “Happy Doll”
ชัยฤทธิ์ อิ่มเจริญ ผู้ส่งมอบ “ฟาร์มสุข” ผ่านไอศกรีม
เมื่อเอ่ยถึง “ไอศกรีม” หรือ “ไอติม” ทุกคนคงนึกถึงความสุขและรอยยิ้มระหว่างการลิ้มรสความหวานเย็นชื่นใจ ไอศกรีมจึงเป็นสัญลักษณ์แห่งความสุขของมนุษย์อย่างหนึ่ง ยิ่งสำหรับเด็กๆ แล้ว ไอศกรีมแสนอร่อยยี่ห้อดังย่อมเป็นที่ปรารถนาให้ได้สัมผัสที่ปลายลิ้นยิ่งนัก ตามปกติ เวลาใครอยากเลี้ยงเด็กตามสถานสงเคราะห์ต่างๆ คนส่วนใหญ่มักนึกถึงไอติมกะทิสดสีขาวถังใหญ่เพราะราคาเหมาะสมกับการเลี้ยงเด็กจำนวนมาก เด็กๆ จึงได้กินไอติมสีขาวโพลนหวานมันกันจนชินลิ้น ลองคิดดูว่า ถ้าวันหนึ่งมี “ใครสักคน” ลงมือทำไอศกรีมที่ผลิตด้วยวัตถุดิบชั้นดี พร้อมท็อปปิ้งแบบจัดเต็มเหมือนร้านไอศกรีมชื่อดังไปแจกเด็กเหล่านี้ แววตาของเด็กน้อยจะมีความสุขมากเพียงใดยามปลายลิ้นได้สัมผัสรสชาติที่แตกต่างออกไปจากเดิม
มวยจีน…เส้นทางสู่การฝึกตนของหมอดิน
เมื่อพูดถึงมวยจีน คนส่วนใหญ่มักนึกการออกกำลังแบบที่เรียกกันว่า ไท่เก็ก(จีนแต้จิ๋ว) หรือไท่จี๋(จีนกลาง) สำหรับมวยจีนที่เรียกว่า “อี้เฉียน” (Yiquan) ซึ่งเป็นแนว “มวยจิต” เน้นสร้างความแข็งแกร่งจากภายในและใช้ท่าฝึกที่สอดคล้องกับการเคลื่อนไหวของร่างกายตอนเป็นเด็กอาจยังไม่ค่อยคุ้นหูนัก เพราะบ้านเรายังไม่มีการเปิดสอนมวยอี้เฉียนแพร่หลายนัก หนึ่งในคนไทยที่สนใจฝึกมวยจิตอย่างจริงจังมากว่าสิบปีที่ผ่านมา คือ “หมอดิน” หรือ ศิรฐเมฆา เวฬุภาค ผู้ให้การบำบัดรักษาตามศาสตร์การแพทย์แผนทิเบตจากประเทศอินเดียคนเดียวในเมืองไทยและผู้บำบัดด้วยคลื่นเสียง Crystal Singing
ลมหายใจแห่งความสุข ณ ต้นทางแห่งการเปลี่ยนแปลง
ทุกคนเกิดมาย่อมอยากมีชีวิตที่มีความสุข แต่ดูเหมือนความสุขมักจะอยู่กับเราประเดี๋ยวประด๋าวแล้วก็จากไป ขณะที่ความทุกข์หมุนเวียนเข้ามาแทนที่ความสุขอย่างรวดเร็ว และอยู่กับเรานานกว่าความสุข หลายคนจึงพยายามวิ่งไขว่คว้าหาความสุขมาเติมเต็มชีวิตอยู่เสมอ แต่ทว่า ยิ่งเติมมากเท่าไหร่ ความสุขก็ยังไม่เต็มสักที นั่นเป็นเพราะเรากำลังไขว่คว้าหาความสุขภายนอก โดยที่ไม่เคยรู้ว่า ยังมีความสุขอีกรูปแบบหนึ่งที่ไม่ต้องวิ่งไขว่คว้า เพราะเป็นความสุขจากภายในที่ซ่อนอยู่ในตัวมนุษย์ทุกคนตลอดเวลา นั่นคือ ความสุขจากการอยู่กับลมหายใจปัจจุบันของเรานั่นเอง
หมอต้นไม้…เมตตาธรรมค้ำจุนโลกสีเขียว
เมื่อเอ่ยถึงอาชีพ “หมอต้นไม้” อาจเป็นคำที่เพิ่งเริ่มคุ้นหูคนไทยในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา แต่แท้จริงแล้ว อาชีพนี้มีมานานแล้วและในหลายประเทศให้ความสำคัญมาก โดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่น เพราะหน้าที่หลักของหมอต้นไม้ คือ การดูแลรักษาต้นไม้เก่าแก่ให้อยู่คู่กับชุมชนเพื่อทำหน้าที่บอกเล่าประวัติศาสตร์ของชุมชนให้คนรุ่นต่อไปได้รับรู้ สำหรับบ้านเราเพิ่งเริ่มได้ยินคำนี้ในช่วงสิบปีที่ผ่านมาโดยมีศาสตร์จารย์กิตติคุณ เดชา บุญค้ำเป็นหมอต้นไม้รุ่นบุกเบิก และต่อมาอาจารย์บรรจง สมบูรณ์ชัย คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้นำแนวคิดหมอต้นไม้มาเผยแพร่จนเป็นที่รู้จักในวงกว้างมากยิ่งขึ้น
ค้นหาตัวตนผ่านศิลปะงานต่อผ้า
ถ้าใครเคยลองนำเศษผ้าเล็กๆ หลายชิ้น รูปร่างและขนาดแตกต่างกันมาเย็บต่อกันไปเรื่อยๆ ตอนแรกเราอาจนึกไม่ออกว่า สุดท้ายผ้าเล็กๆ ทั้งหมดจะกลายเป็นภาพอะไร หรือ ถ้าใครลองนำชิ้นผ้าขนาดสี่เหลี่ยมจัตุรัสเท่ากันหมดมาต่อกันให้เป็นผ้าห่มผืนใหญ่ เราก็จะพบว่าเศษผ้าชิ้นเล็กๆ เหล่านั้นได้กลายเป็นลวดลายใหม่บนผ้าห่มผืนใหญ่ให้เราห่มนอนอย่างน่าอัศจรรย์ นี่คือเสน่ห์ของงานต่อผ้าที่ใครได้ลองสัมผัสดูแล้วจะรู้สึกสนุก ตื่นเต้น ตอนที่เห็นชิ้นผ้าเล็กๆ เรียงรายต่อกันเพื่อสร้างจินตนาการไม่รู้จบ บางคนอาจนำเศษเสื้อผ้าของคนในครอบครัวที่ไม่ได้ใส่แล้วมาต่อกันจนเป็นกระเป๋า ของแต่งบ้าน หรือข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ เศษผ้าเหล่านั้นก็เหมือนถูกชุบชีวิตขึ้นมาใหม่และมีคุณค่าใหม่สำหรับทุกคนในครอบครัว
ร้านยิ้มสู้….คาเฟ่ของคนหัวใจไม่พิการ
บนถนนอรุณอมรินทร์ ซอย 39 มองจากถนนใหญ่เข้าไปด้านในไม่ถึง 20 เมตร จะเห็นคาเฟ่สองคูหาดีไซน์ทันสมัยตั้งอยู่ ก่อนเปิดประตูเข้าไปด้านในมีกระดาษเขียนว่า “กรุณาเลือกโต๊ะก่อนสั่งอาหารที่เคาน์เตอร์” พอเปิดประตูเข้าไป บรรยากาศร้านเงียบสงบ มีเสียงพูดคุยของลูกค้าเบาๆ แต่ไม่มีเสียง “สวัสดี” จากพนักงานเหมือนร้านอาหารทั่วไป เราเดินไปเลือกโต๊ะที่ว่าง พร้อมดูหมายเลขโต๊ะก่อนเดินไปสั่งอาหารที่เคาน์เตอร์ พนักงานสาวหน้าตาน่ารักสองคนยืนส่งยิ้มให้แต่ไกล แม้ไม่มีเสียงพูดเปล่งออกมา เราก็เข้าใจได้ถึงมิตรภาพที่พวกเธอมอบให้
มีใจเมตตาให้กันและกัน : วงจรของความสุข
Aeric McCoy ชายติดยาไร้บ้านในบัลติมอร์ มีชีวิตที่เปลี่ยนไปเพราะเขาได้พบกระเป๋าสะพายของ Kaitlyn Smith ในตรอกแห่งหนึ่งเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ระหว่างที่เขากำลังจะเสพยา ในกระเป๋าสะพายราคาแพงใบนั้นมีกระเป๋าใส่เงิน ใบเสร็จ ใบค่าสาธารณูปโภคและสมุดบันทึก ส่วนเงินและเครดิตการ์ดจะสูญหายไปแล้ว เขาเจอที่อยู่ที่ใบเสร็จค่าไฟและตั้งใจจะเอาไปคืนเจ้าของ เหตุที่เขาอยากเอากระเป๋าไปคืน เพราะเมื่อเร็วๆ นี้มีคนขโมยถุงนอนของเขาไปจากบ้านร้างที่เขาอาศัยอยู่และเขาก็คิดว่าเจ้าของกระเป๋าคงลำบากมากเหมือนอย่างที่เขาประสบ