เรื่องน่าสนใจ
สัมผัสความสุขแต่ละเส้นทางที่คุณสนใจ ผ่านบทความ คลิปวีดีโอ การร่วมกิจกรรม เพื่อให้คุณได้เข้าถึงความสุขจากการรู้จักความจริง
แผนที่สู่ความสุขบนเส้นทางนพลักษณ์
ช่วงหนึ่งของชีวิตก่อนได้เจอนพลักษณ์ อัญชลี อุชชิน บอกว่าเธอรู้สึกบางช่วงเหมือนตัวเองเป็นคนบ้า มักหงุดหงิดกับเรื่องเล็กๆ แค่เดินเข้าบ้านมาแล้วแม่ถามว่าวันนี้เป็นไงบ้าง หรือย้อนกลับไปถึงตอนเรียนมหาวิทยาลัย เธอเข้าร่วมทำกิจกรรมทางสังคมกับกลุ่มเพื่อนนักศึกษา แต่ขณะเดียวกันก็หวงความเป็นส่วนตัว และเบื่อหน่ายรำคาญกับการต้องเข้าร่วมวงคุยกับใครต่อใคร “คิดว่าเราเป็นโรคประสาทหรือเปล่า ชอบอยู่คนเดียว ไม่ชอบยุ่งกับใครและไม่ชอบให้ใครมายุ่ง แต่เวลาทำกิจกรรมมันมีจุดที่ต้องไปอยู่รวมกัน ไปร่วมประชุม ร่วมแก้ปัญหาสังคม ต้องอยู่ท่ามกลางคนเยอะๆ ต้องคุย ด้านหนึ่งก็อยากเข้าร่วม ด้านหนึ่งก็อยากมีโลกส่วนตัว
รอยยิ้มแห่งความสุขบนเส้นทางภาวนา
“เมื่อก่อนเงื่อนไขในชีวิตเยอะมาก ต้องไปกินข้าวเฉพาะร้านที่ชอบ แต่งตัวดูดีตั้งแต่หัวจรดเท้า หงุดหงิดและโกรธง่ายจนนักศึกษาไม่กล้ามาขอสอบด้วยเพราะขึ้นชื่อว่าดุ” อาจารย์วรวรรณ วัฒนาวงศ์สว่าง หรืออาจารย์แอนประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์สื่อความหมายและความผิดปกติของการสื่อความหมาย คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เริ่มต้นบทสนทนาด้วยการย้อนอดีตก่อนค้นพบหนทางเปลี่ยนแปลงตนเอง “ตอนนี้เงื่อนไขในชีวิตลดลง โกรธน้อยลง ฟุ่มเฟือยน้อยลง ความอยากน้อยลง ทุกข์น้อยลง วิธีการพูดกับคนอื่นและวิธีแต่งตัวต่างไปจากเดิมเลย”
เยียวยาหัวใจด้วยศิลปะบำบัดกับครูเชอรี่
“กฎของการทำงานศิลปะวันนี้มีอย่างเดียว คือ ทำอะไรก็ได้ที่มันไม่สวย” เสียงผู้นำกิจกรรมหญิงชี้แจงกฎกติกา ใครบางคนตะโกนถามกลับมาว่า “ถ้าบังเอิญทำแล้วสวยล่ะ” “ถ้าอย่างนั้นก็ช่วยไม่ได้” คนยืนหน้าห้องตอบกลับด้วยรอยยิ้ม บรรยากาศในห้องจึงเปลี่ยนจากความกังวลใจอบอวลไปด้วยเสียงหัวเราะแทน ทุกคนเริ่มละเลงสีน้ำลงบนแผ่นกระดาษอย่างอิสระ หมดห่วงเรื่อง “ความสวยงาม” ต่างคนต่าง “ระบาย” เรื่องราวปมในใจผ่านสีสันบนแผ่นกระดาษ จนกระทั่งได้ผลงาน “สวยในแบบของตนเอง” พร้อมกับหัวใจที่โปร่งเบาสบายมากขึ้น “หัวใจของการทำศิลปะบำบัดคือการใช้อวัจนภาษา แต่คนไทยเรามักติดกรอบคำว่า
ภารกิจเตรียมตัวตายอย่างมีความสุขกับชายหนุ่มชื่อ “มาร์ท”
ถ้าคุณรู้ตัวว่ากำลังจะตาย หรือคนที่คุณรักกำลังจะตาย คุณจะรู้สึกอย่างไร ความกลัวมักเป็นความรู้สึกแรกที่มาเยือน ตามมาด้วยความเศร้า สัญลักษณ์ของความตายจึงเป็น “สีดำ” และ “ควันธูป” ไม่มีใครอยากเอ่ยถึงความตายเพราะกลัวเป็นลางร้ายของชีวิต ความตายจึงเป็นสิ่งที่มนุษย์ทำใจยอมรับได้ยากมากที่สุด และคงจะยากมากขึ้นไปอีกหากต้องเปลี่ยนมุมมองต่อความตายจาก “ความเศร้า” เป็น “ความสุข”
สุขใจที่ได้เรียนรู้…เก่งคันจิได้แบบเด็กญี่ปุ่น
“ผ่านแล้วค่ะ ดีใจมากเลย ขอบคุณมากค่ะพี่เคน” หนึ่งในเสียงตอบรับจากแฟนเพจที่ส่งถึงเคนทางกล่องข้อความเฟซบุ๊ค เคน หรือสารัช วงศ์สุนทรพจน์ เป็นเจ้าของเพจ “เก่งคันจิได้แบบเด็กญี่ปุ่น by พี่เคน” ซึ่งมีผู้ติดตามมากถึง 2.9 หมื่นคน แต่เจ้าของเพจบอกว่าหากการเผยแพร่ความรู้แบบให้เปล่าของเขา ช่วยให้ใครดีขึ้นได้แม้เพียงคนเดียวเขาก็พอใจแล้ว เคนรู้ซึ้งถึงความสำคัญของการได้รับโอกาสเรียนรู้ด้านภาษาจากประสบการณ์ของตัวเขาเอง เคนเป็นเด็กเชื้อสายจีนเติบโตมาในย่านสำเหร่ วงเวียนใหญ่ พ่อของเขาเป็นคนขับมอเตอร์ไซค์รับจ้าง
วิ่งสมาธิ…ฝึกจิตให้นิ่งสยบความเคลื่อนไหว
เมื่อพูดถึง “การวิ่ง” เรามักนึกถึงการเคลื่อนไหวไปข้างหน้าด้วยสองเท้าซ้ายขวา เมื่อพูดถึง “สมาธิ” เรามักนึกถึงการเพ่งจิตให้เป็นหนึ่งเดียว หากเรานำ “การวิ่ง” และ “สมาธิ” มารวมกันจะเกิดอะไรขึ้น ? คำตอบคือผู้ที่ฝึก “วิ่งสมาธิ” จะได้ทั้งร่างกายและจิตใจที่แข็งแรงไปพร้อมกันนั่นเอง เมื่อจิตนิ่งสยบความเคลื่อนไหว จิตจึงมีพลังสามารถเปลี่ยนแปลงชีวิตของคนๆ หนึ่งให้ดีขึ้นจากหลังมือเป็นหน้ามืออย่างไม่น่าเชื่อเช่นเดียวกัน
เกตุวดี Marumura นักเขียนไทยหัวใจญี่ปุ่น
“เวลาไปญี่ปุ่นไม่ได้รู้สึกว่าไปเที่ยว แต่รู้สึกเหมือนเป็นบ้านหลังที่สอง เพราะมีความสุขกับการใช้ชีวิตที่นั่นมาก” “เกตุวดี Marumura” ถ่ายทอดความรู้สึกต่อประเทศญี่ปุ่นผ่านรอยยิ้มสดใส หากดูเพียงชื่อประกอบกับใบหน้าผิวพรรณ เชื่อว่าหลายคนคงเข้าใจผิดว่าเธอมีเชื้อสายญี่ปุ่นอย่างแน่นอน แต่ความจริง เธอคือนักเขียนไทยหัวใจญี่ปุ่นเจ้าของเพจ “เกตุวดี Marumura” ซึ่งมีผู้ติดตามกว่า 7 หมื่นคน รวมทั้งยังเป็นคอลัมนิสต์ให้สื่อออนไลน์และมีผลงานรวมเล่มพ็อคเก็ตบุ๊คที่ตีพิมพ์มาแล้วหลายเล่ม และยังเป็นด็อกเตอร์ด้านการตลาดรุ่นใหม่ไฟแรงแห่งคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยด้วยเช่นกัน ดร.กฤตินี พงษ์ธนเลิศ
แสนสุขสมนั่งชมวิหค…ยาบำรุงหัวใจของหมอนักอนุรักษ์
“การได้เห็นสิ่งที่อยู่ในธรรมชาติจริงๆ ปรากฎขึ้นตรงหน้าโดยที่เราไม่ได้คาดคิด มันมีพลังมาก จับหัวใจเรา ในนาทีที่ผมนั่งเฝ้านกนานๆ แล้วนกบินมา หัวใจมันพองโต มันมากกว่าความสุข เป็นความปีติอิ่มเอม นาทีนั้นอยากขอบคุณโชคชะตา ขอบคุณธรรมชาติ ขอบคุณใครก็ตามที่ทำให้ผมมีโอกาสได้อยู่ตรงนี้ วินาทีที่วิถีชีวิตของเรามาตัดกันพอดีช่างวิเศษเหลือเกิน” น้ำเสียงของนายแพทย์รังสฤษฎ์ กาญจนะวณิชย์ หรือ “หมอหม่อง” แพทย์โรคหัวใจและนักอนุรักษ์แถวหน้าของเมืองไทยถ่ายทอดความปลื้มปิติยามนึกถึงวินาทีสำคัญที่ได้เห็นนกหายากปรากฎขึ้นในสายตา
ครูณา…สร้างสายใยรักในครอบครัวด้วยโรงเรียนพ่อแม่
“ที่นี่บ้านผม คุณนั่นแหละออกไปจากบ้านนี้” เสียงสามีท้าทายภรรยาหลังจากทะเลาะกันถี่ขึ้นทุกวัน แม่ลูกสองเก็บเสื้อผ้าใส่กระเป๋าด้วยน้ำตานองหน้า พาลูกชายสองคนขับรถออกจากบ้านจังหวัดนครสวรรค์ไปจนถึงอยุธยา นั่งร้องไห้ระบายความเสียใจพร้อมกับคำถามมากมายผุดขึ้นในใจ เกิดอะไรขึ้นกับผู้หญิงที่คนรอบข้างต่างยกย่องว่าประสบความสำเร็จในชีวิตอย่างเธอ? อดีตวิศวกรการสื่อสารผู้มีอนาคตไกลแต่ตัดสินใจลาออกเพื่อกลับมาเปิดโรงเรียนสอนเสริมแห่งแรกในจังหวัดบ้านเกิดจนประสบความสำเร็จมีสาขาถึงสามแห่ง