เรื่องน่าสนใจ
สัมผัสความสุขแต่ละเส้นทางที่คุณสนใจ ผ่านบทความ คลิปวีดีโอ การร่วมกิจกรรม เพื่อให้คุณได้เข้าถึงความสุขจากการรู้จักความจริง
ภารกิจเพื่อจิตอาสารามาธิบดี
เช้าวันจันทร์ ณ ห้องประชุมกลุ่มจิตอาสา โรงพยาบาลรามาธิบดี “เดี๋ยวน้องคนนี้ไปช่วยงานแผนกพับผ้าสำหรับห้องผ่าตัด ส่วนคนนี้ไปแผนกไปรษณีย์ อีกคนหนึ่งไปห้องอาหารนะคะ” เสียงคุณธานัท อนินชลัย หรือคุณฝน พยาบาล ผู้ดูแลโครงการจิตอาสา รามาธิบดี กำลังทำหน้าที่แจกจ่ายงานจิตอาสาให้กับอาสาสมัครในโรงพยาบาลรามาธิบดีซึ่งเป็นสถานพยาบาลที่มีคนใช้บริการมากที่สุดแห่งหนึ่งในเมืองกรุงเทพฯ เธอเข้ามาทำงานประจำที่โรงพยาบาลแห่งนี้ตั้งแต่ปี 2555 เป็นต้นมาโดยเริ่มจากงานสร้างเสริมสุขภาพและร่วมดูแลฟาร์มสร้างสุขเพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรแถวรังสิต คลอง13 เลิกใช้สารเคมีก่อนจะย้ายมาดูแลโครงการนี้ตั้งแต่ปี 2559 ที่ผ่านมา
ความสุขจากการมองโลกด้วยหัวใจของ “ต่อพงศ์ เสลานนท์”
“พ่อแม่ที่มีลูกย่อมหวังจะได้พึ่งพิงยามแก่เฒ่า แต่ความหวังนี้ได้พังทลายลงหลังจากผมกลายเป็นคนตาบอด ผมรู้สึกกดดันเพราะไม่อยากเป็นภาระให้ครอบครัว และไม่อยากให้ทุกคนหมดหวัง มันเป็นจุดสะเทือนใจ แต่ขณะเดียวกันมันก็ทำให้ผมมีจุดหมายว่าผมต้องกลับมาเป็นที่พึ่งของพ่อแม่และคนรอบข้างให้ได้” ต่อพงศ์ เสลานนท์ หรือ “เติ๊ด” บุตรชายคนสุดท้องของครอบครัวเสลานนท์บอกเล่าเหตุการณ์ที่พลิกผันชีวิตครั้งสำคัญจากเด็กหนุ่มตาดีสู่เด็กหนุ่มตาบอดในวัยเพียง 16 ปีจากอุบัติเหตุทางรถยนต์เมื่อเดือนมกราคมปี 2535 ในวันนั้นเขารู้สึกเหมือนกำลังตกอยู่ในก้นบึ้งหุบเหวลึกที่มองไม่เห็นแสงสว่างจากขอบฟ้าส่องลงมาแม้เพียงนิดเดียว
เชฟเต้น…หญิงสาวผู้หลงรักขนมหวาน
จุดเริ่มต้น…สำหรับบางคนเพราะโอกาส แต่นั่นไม่ใช่ข้ออ้างหากไม่มีความรัก และความพยายามจนถึงฝั่งฝัน เส้นทางเดินกว่าจะได้เป็นเชฟขนมหวานของทะเลจันทร์ บุณยรักษ์ หรือ “เต้น” อาจเริ่มต้นด้วยโอกาสที่ดีกว่าคนอีกหลายคน แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าเส้นทางสู่ความสำเร็จจะโปรยด้วยกลีบกุหลาบอันหอมหวานเสมอไป เพราะหากเธอไม่ได้มีหัวใจรักการทำขนมหวานจนหมดใจแล้ว เธอก็อาจไม่ได้ก้าวขึ้นมาเป็นเจ้าของร้านขนมสไตล์ฝรั่งเศสที่หลายคนอยากแวะไปลิ้มลองมากที่สุดร้านหนึ่งในทุกวันนี้อย่างแน่นอน
ความสุขของการบริหารสื่อคุณภาพของ ดร.วิลาสินี พิพิธกุล
เมื่อเอ่ยถึงสื่อสาธารณะที่มีคุณภาพของสังคมไทย ชื่อ “ไทยพีบีเอส” จะต้องติดอยู่ในลิสต์อันดับต้นๆ ที่ผู้ชมนึกถึงอย่างแน่นอน การก้าวขึ้นมารับตำแหน่งผู้อำนวยการของ ดร.วิลาสินี พิพิธกุล เมื่อปีที่ผ่านมา จึงเป็นเรื่องท้าทายผู้หญิงตัวเล็กคนหนึ่งมากทีเดียว ท่ามกลางความรับผิดชอบพนักงานนับพันคนและผู้ชมหลายสิบล้านคนทั่วประเทศ ผู้บริหารหญิงแววตาอ่อนโยนคนนี้นำพาองค์การสถานีโทรทัศน์แห่งนี้ไปในทิศทางใด และเธอก้าวข้ามอุปสรรคต่างๆ ที่ถาโถมเข้ามาได้อย่างไร เราจะพาคุณไปค้นหาคำตอบด้วยกัน “หนึ่งในวิสัยทัศน์ตอนสรรหาผู้บริหารสถานี คือ เราจะใช้หัวใจความเป็นมนุษย์ในการบริหารองค์กร มันอาจจะฟังดูเป็นนามธรรมสักหน่อย แต่อย่างน้อยมันก็เป็นการแสดงเจตจำนงของเราว่า เรามุ่งมั่นเข้ามาเพื่อทำงานกับเขา
ครูคณิตจิตอาสานอกรั้วโรงเรียน
ใครทำงานประจำวันจันทร์ถึงศุกร์มักจะอยากให้ถึงวันหยุดสุดสัปดาห์ไวๆ เพื่อหาเวลาพักผ่อนนอนเอกเขนกอยู่บ้านชิลล์ ชิลล์ แต่สำหรับผู้ชายรูปร่างผอมบางใส่แว่นตาที่มีชื่อจริงว่า สิทธิพงษ์ ติยเวศย์ หรือ ครูไก่แจ้ กลับเลือกเดินทางออกจากบ้านเพื่อไปตามหาความสุขด้วยการเป็น “ครูคณิตจิตอาสา” ให้กับนักเรียน กศน. หรือ ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) เพราะการได้พบกับนักเรียนตั้งแต่วัยรุ่นไปจนถึงผู้สูงอายุคือ “โลกใบเล็ก” ที่ซ้อนทับอยู่ใน “โลกใบใหญ่” ของสังคม
สุขกายสุขใจ ปั่นไปไม่ทิ้งกัน
เมื่อพูดถึงความสุขของคนขี่จักรยาน การได้นั่งบนหลังอานปั่นจักรยานด้วยสองเท้าไปข้างหน้านับเป็นความสุขที่ทุกคนสัมผัสได้ไม่ยาก แต่ทว่า หากการปั่นมีเป้าหมายเพื่อสร้างความสุขให้ผู้อื่นด้วยแล้วละก็ คนปั่นคงจะมีความสุขเป็นสองเท่าทวีคูณอย่างแน่นอน เหมือนดังเช่นความสุขของคุณญาณิศา เอกมหาชัย หรือ คุณนี หนึ่งในนักปั่นจักรยานโครงการ “ปั่นไปไม่ทิ้งกัน” นำพาคนตาบอดขี่จักรยานสองตอนมุ่งหน้าจากกรุงเทพฯ สู่เชียงใหม่เพื่อระดมทุนสร้างศูนย์ฝึกอาชีพคนพิการที่อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่เมื่อต้นปี 2561 ที่ผ่านมา เธอเป็นหนึ่งในนักปั่นจิตอาสาที่มักปั่นร่วมงานการกุศลนับตั้งแต่เกษียณอายุก่อนกำหนด เพราะนอกจากจะทำให้สุขภาพกายของเธอแข็งแรงกว่าเพื่อนรุ่นเดียวกันที่เกษียณแล้วอยู่บ้านเฉยๆ สุขภาพใจของเธอก็ยังแข็งแรงตามไปด้วยเช่นกัน
เปิดโลกการเรียนรู้ธรรมะและธรรมชาติแบบไร้พรมแดน
“ฉันรักธรรมชาติมาตั้งแต่เด็ก ตั้งแต่จำความได้ฉันก็รู้สึกว่าตัวเองใช้เวลากับกิจกรรมกลางแจ้งตลอดเวลา เพราะฉันชอบสำรวจธรรมชาติ ค้นพบสิ่งใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นพืชหรือสัตว์ฉันมักสงสัยว่าสัตว์ป่าอยู่กันอย่างไร ฉันชอบพืชพันธุ์ที่เกิดจากธรรมชาติมากกว่าพืชที่ปลูกขึ้นโดยมนุษย์ ” Lynne Myers หรือ “ลีน” หญิงชาวอเมริกันผู้หลงรักธรรมชาติเล่าประสบการณ์วัยเด็กในรัฐแมรี่แลนด์ ประเทศสหรัฐอเมริกาให้เราฟัง ครอบครัวเธออาศัยอยู่ชานเมืองจนกระทั่งเธออายุได้เก้าขวบ จึงย้ายไปอยู่ที่บ้านในชนบทท่ามกลางป่าเขาที่ยังบริสุทธิ์ทำให้เธอมีโอกาสสัมผัสธรรมชาติอย่างใกล้ชิด และใช้ธรรมชาติช่วยเยียวยาบาดแผลในใจอันเกิดจากสมาชิกในครอบครัวเกือบทุกคนมีความผิดปกติทางจิตประสาทและอารมณ์(mental disorder)กล่าวคือ แม่เป็นไบโพล่าร์ ส่วนพี่น้องสามคนเป็นโรคเครียด “ทุกครั้งที่มีเรื่องไม่สบายใจ ฉันจะเลือกอยู่กับธรรมชาติ
เรียนรู้วิทยาศาสตร์แสนสนุกกับครูชาลี
เมื่อนึกถึงห้องเรียนวิทยาศาสตร์ทุกคนคงจินตนาการภาพห้องแล็บ มีหลอดแก้วทดลอง กล้องจุลทรรศน์ แต่ “ห้องเรียน” วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กมัธยมของครูชาลี มโนรมณ์ แห่งโรงเรียนรุ่งอรุณ โรงเรียนทางเลือกแถวหน้าของเมืองไทยกลับเป็นสายน้ำ ภูเขา ท้องทะเล ผืนทราย และโลกใบใหญ่รอบตัว นักเรียนของครูชาลีต้องแบกเป้หนักอึ้งเพื่อเดินทางหลายร้อยกิโลเมตรร่วมไปกับขบวนธรรมยาตราเพื่อเรียนรู้ปัญหาสิ่งแวดล้อมระหว่างเส้นทาง เด็กวัยรุ่นที่เคยชินกับโลกออนไลน์ต้องถูกตัดขาดจากโทรศัพท์มือถือเพื่อนอนหลับในเต้นท์ท่ามกลางป่าเขา มองดูท้องฟ้าและหมู่ดาวแทนแสงสีฟ้าจากจอมือถือ พวกเขาได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์จาก “โลกใบใหญ่” พร้อมกับเรียนรู้ “โลกใบเล็ก”
ดูแลหัวใจตัวเองกับนักจิตวิทยาชาวอเมริกัน
“เวลาที่เพื่อนเราทำผิดพลาด เรายังให้กำลังใจเขา แต่ทำไมเราจะให้อภัยและให้กำลังใจตัวเองเวลาที่ตัวเราทำพลาดบ้างไม่ได้ล่ะ” Benjamin Weinstein หรือ “เบน” นักจิตวิทยาชาวอเมริกันกล่าวถึงเป้าหมายของการอบรมเรื่อง “การให้ความเมตตาต่อตนเอง” ซึ่งจัดขึ้นเป็นพิเศษให้กับกลุ่มคนทำงานจิตอาสาหรือคนทำงานด้านสังคมในเมืองไทยมาตั้งแต่ปี 2560 ที่ผ่านมา เขากล่าวถึงเหตุผลที่อยากจัดอบรมให้กลุ่มคนทำงานตรงนี้ว่า คนทำงาน “เพื่อคนอื่น” มักละเลยการดูแลหัวใจตนเอง จนทำให้ขาดความสุขในการทำงานเพราะมักคาดหวังว่าตนเองควรช่วยเหลือคนให้ได้มากกว่าที่เป็นอยู่