เรื่องน่าสนใจ

สัมผัสความสุขแต่ละเส้นทางที่คุณสนใจ ผ่านบทความ คลิปวีดีโอ การร่วมกิจกรรม เพื่อให้คุณได้เข้าถึงความสุขจากการรู้จักความจริง

สายใยรักกลางชุมชนแออัด

เมื่อเอ่ยคำว่า “ชุมชนแออัด”  ภาพที่คนทั่วไปนึกถึงคือเด็กหน้าตามอมแมม บ้านมุงสังกะสีเรียงต่อกันเป็นแนวยาว ผู้ใหญ่มีอาชีพหาเช้ากินค่ำ เด็กส่วนใหญ่เรียนหนังสือแค่จบชั้นประถมก็ต้องออกมาช่วยพ่อแม่ทำงาน หลายคนมีลูกตั้งแต่วัยทีน ทิ้งให้ปู่ย่าตายายเลี้ยงหลาน เมื่อเงินไม่พอใช้ก็เข้าสู่วงจรของยาเสพติดวนเวียนเป็นวัฎจักรเช่นนี้จนเป็นเรื่องธรรมดา โอกาสที่เด็กสักคนจะหลุดพ้นออกจากวังวนปัญหาเหล่านี้จึงเปรียบได้กับแสงเทียนริบหรี่ที่พร้อมจะถูกลมพัดให้วูบดับในชั่ววินาที ชุมชนวัดดวงแขข้างสถานีรถไฟหัวลำโพงนับเป็นชุมชนที่มองหาแสงสว่างแห่งความหวังสำหรับเด็กเยาวชนให้ก้าวเดินออกจากวัฎจักรของเด็กวิ่งยาจนกลายเป็นทาสยาเสพติดได้ยาก  แต่ด้วยเพราะมีผู้หญิงสองคนที่คอยช่วยดูแลสอดส่องให้ความรู้และความรักกับเด็กๆ แทนพ่อแม่ที่ไม่มีเวลาเอาใจใส่   จนเด็กๆ สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม คิดดี พูดดี ทำดี เปลี่ยนภาพลักษณ์ “เด็กสลัม”

I SEE U จิตอาสาข้างเตียง

ความตายเป็นสิ่งที่ทุกคนหนีไม่พ้น…ทุกคงต้องได้เผชิญกับสถานการณ์คนรอบตัวที่กำลังจะหมดหายใจไม่วันใดก็วันหนึ่ง…ถ้าถึงวันนั้น…วันที่คุณต้องไปเยี่ยมผู้ป่วยที่รู้ตัวว่ากำลังจะตาย…คุณจะปฏิบัติตัวอย่างไรเพื่อให้ผู้ป่วยจากโลกนี้ไปด้วยหัวใจสงบ “สู้ๆ นะ เป็นคำที่ผู้ป่วยที่รู้ตัวว่ากำลังจะตายฟังแล้วยิ่งหมดกำลังใจ บางคนอาจเบือนหน้าหนีเพราะเขารู้ว่าเขากำลังจะเป็นผู้แพ้ สิ่งที่ผู้ป่วยระยะสุดท้ายต้องการอาจไม่ใช่คำพูดใดๆ แต่แค่การมีใครสักคนจับมือ อยู่เคียงข้างจนเขารู้สึกผ่อนคลายและจากไปอย่างสงบด้วยพลังที่เราส่งให้เขาเท่านั้นเอง”

เข้าใจชีวิตผ่านสีน้ำภาวนา

เมื่อเอ่ยถึง “สีน้ำ”…เรามักนึกถึงศิลปะ เมื่อเอ่ยถึง “ภาวนา”…เรามักนึกถึงการทำจิตให้นิ่งอยู่กับปัจจุบันขณะ กิจกรรม “สีน้ำภาวนา” จึงเป็นเสมือน “ถนนสองสาย” ที่มาเจอกันตรงทางแยกและกลายเป็น “ถนนสายใหม่” ที่นำทางให้คนทั่วไปสามารถเข้าถึงธรรมะด้วยวิถีปฏิบัติในชีวิตประจำวัน ถนนสายนี้มีปัญจรัตน์ นิลพันธ์พิทักษ์ หรือ ละอ่อน เป็นผู้แผ้วถางเส้นทางให้ผู้คนได้ลองย่างเท้าเข้ามาเดินด้วยตนเองเมื่อ 3 ปีที่ผ่านมา ณ สวนโมกข์กรุงเทพฯ

ถนนแห่งความสุขของ Life Coach

ชีวิตทุกคนล้วนต้องการก้าวเดินไปสู่จุดหมายปลายทางที่ฝันไว้ แต่เรามักจะเจอทางแยกหลากหลายเส้นทางจนบางครั้งเดินอ้อมไปไกล หรือหลงทางไปสู่จุดหมายที่ไม่ได้ใฝ่ฝันจนความสุขในชีวิตลดลงเรื่อยๆ กลายเป็นคนที่ตื่นเช้าไปทำงานด้วยความซังกะตายไปวันๆ เพราะขาดแรงบันดาลใจที่จะก้าวไปสู่ปลายทางที่เคยฝันไว้   คุณทัศนีย์ จารุสมบัติหรือ โค้ชอ้อม หญิงวัยห้าสิบเก้าปีคนนี้เคยเป็นคนหนึ่งที่เดินวกวนอยู่บนเส้นทางที่ “ไม่ใช่ความสุข” มากว่าครึ่งชีวิต  จนวันหนึ่งตัดสินใจหยุดเดินไปบนถนนสายเดิมด้วยการลาออกจากงานหน้าจอคอมพิวเตอร์เพื่อมาเป็นแม่บ้าน ระหว่างที่ “หยุดพัก” เธอจึงเริ่มมองเห็น “ทางเลือกใหม่” ให้ลองก้าวเดิน จนได้ค้นพบความสุขที่ตามหามาเนิ่นนานด้วยอาชีพ “Life Coach”

ปลูกรัก…ปลูกตัวตนให้เติบโต

คุณรู้หรือไม่ว่า จิตของมนุษย์มีดีเอ็นเอที่สามารถถ่ายทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่งได้โดยที่คุณไม่รู้ตัว จนกลายเป็น “แบบแผน”ของบุคลิกหรือการเลี้ยงดูที่ถูกส่งต่อจากคนรุ่นก่อนสู่คนปัจจุบัน และบางเรื่องอาจนำไปสู่พฤติกรรมที่เป็นปัญหาโดยที่คุณไม่รู้จะเริ่มแก้ไขได้อย่างไรจนกว่าจะมีคนถอดรหัสพฤติกรรมดังกล่าวเพื่อให้คุณค้นพบต้นตอที่แท้จริงของปัญหา ทำให้คุณสามารถเปลี่ยนแปลงตนเองไปสู่ชีวิตที่มีความสุขมากยิ่งขึ้น  ดร.พงษธร ตันติฤทธิศักดิ์ หรือ คุณเอ๋ นักจัดกระบวนการเรียนรู้ (กระบวนกร) และอาจารย์อภิฤดี พานทอง หรือ คุณกิ๊ก นักจิตวิทยา ทั้งคู่ร่วมก่อตั้งบริษัทปลูกรัก องค์กรซึ่งทำหน้าที่พัฒนาระดับจิตให้กับผู้คนมายาวนานกว่าสิบปีบอกเล่าถึงดีเอ็นเอของจิตมนุษย์ให้ฟังอย่างน่าสนใจว่า

ไอคิโด…เรียนรู้การแพ้เพื่อชนะ

เมื่อพูดถึงศิลปะการป้องกันตัว  ไอคิโดเป็นศาสตร์ที่คนไทยยังไม่นิยมแพร่หลายมากนัก หากเทียบกับเทควันโดหรือกีฬาประเภทอื่นๆ ที่มีการแข่งขันทั่วไป เพราะไอคิโดเป็นศิลปะการป้องกันตัวที่ไม่มีการแข่งขันกับผู้อื่น แต่เป็นศาสตร์ของการ “แข่งขันกับตนเอง” โดยผู้เรียนจะได้ค้นพบกับความเปลี่ยนแปลงภายในจิตใจตนเองมากขึ้นจนรู้ว่า “ศัตรูที่แท้จริง” ไม่ใช่ใครที่ไหนนอกจาก “ความคิด” ของตัวเรานั่นเอง รักชนก ชยุตม์กุล หรือ ครูป๋อม เริ่มฝึกไอคิโดตั้งแต่ปี 2538 หรือ 22

ลมหายใจแห่งความสุขของครูประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ

เมื่อเอ่ยชื่อครูประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ ผู้ก่อตั้งมูลนิธิดวงประทีปและเจ้าของรางวัลแมกไซไซ สาขาบริการสาธารณะปี 2521   หลายคนคงนึกถึงผู้หญิงตัวเล็กแววตามุ่งมั่นกล้าต่อสู้เพื่อสิทธิของชาวชุมชนแออัดหรือที่คนทั่วไปเรียกว่า “สลัมคลองเตย”  ตลอดเวลากว่าห้าสิบปีที่ผ่านมา ผู้หญิงคนนี้ทำหน้าที่ “ครู” ทุกลมหายใจเข้าออก เฝ้ามองหาโอกาสทางการศึกษาที่ดีขึ้นให้กับเด็กด้อยโอกาสมากที่สุดของเมืองหลวง เพราะรอยยิ้มของเด็กๆ เป็นดั่งอากาศอันสดใสที่ทำให้ทุกเช้าวันใหม่เริ่มต้นด้วยความสุขและมีกำลังใจต่อสู้เพื่ออนาคตที่ดีกว่าของคนด้อยโอกาสมาตลอดชีวิตของครูวัยกว่าหกสิบปีท่านนี “เราพยายามแสวงหาช่องทางที่จะช่วยบรรเทาปัญหาของผู้ยากไร้ อยากทำสิ่งที่ขาดหายไปจากสังคมไทย คือความเท่าเทียมกันในสังคม”

ภารกิจเพื่อจิตอาสารามาธิบดี

เช้าวันจันทร์ ณ ห้องประชุมกลุ่มจิตอาสา โรงพยาบาลรามาธิบดี “เดี๋ยวน้องคนนี้ไปช่วยงานแผนกพับผ้าสำหรับห้องผ่าตัด ส่วนคนนี้ไปแผนกไปรษณีย์ อีกคนหนึ่งไปห้องอาหารนะคะ” เสียงคุณธานัท อนินชลัย หรือคุณฝน พยาบาล ผู้ดูแลโครงการจิตอาสา รามาธิบดี กำลังทำหน้าที่แจกจ่ายงานจิตอาสาให้กับอาสาสมัครในโรงพยาบาลรามาธิบดีซึ่งเป็นสถานพยาบาลที่มีคนใช้บริการมากที่สุดแห่งหนึ่งในเมืองกรุงเทพฯ เธอเข้ามาทำงานประจำที่โรงพยาบาลแห่งนี้ตั้งแต่ปี 2555 เป็นต้นมาโดยเริ่มจากงานสร้างเสริมสุขภาพและร่วมดูแลฟาร์มสร้างสุขเพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรแถวรังสิต คลอง13 เลิกใช้สารเคมีก่อนจะย้ายมาดูแลโครงการนี้ตั้งแต่ปี 2559 ที่ผ่านมา

ความสุขจากการมองโลกด้วยหัวใจของ “ต่อพงศ์ เสลานนท์”

“พ่อแม่ที่มีลูกย่อมหวังจะได้พึ่งพิงยามแก่เฒ่า แต่ความหวังนี้ได้พังทลายลงหลังจากผมกลายเป็นคนตาบอด  ผมรู้สึกกดดันเพราะไม่อยากเป็นภาระให้ครอบครัว และไม่อยากให้ทุกคนหมดหวัง  มันเป็นจุดสะเทือนใจ แต่ขณะเดียวกันมันก็ทำให้ผมมีจุดหมายว่าผมต้องกลับมาเป็นที่พึ่งของพ่อแม่และคนรอบข้างให้ได้” ต่อพงศ์ เสลานนท์ หรือ “เติ๊ด” บุตรชายคนสุดท้องของครอบครัวเสลานนท์บอกเล่าเหตุการณ์ที่พลิกผันชีวิตครั้งสำคัญจากเด็กหนุ่มตาดีสู่เด็กหนุ่มตาบอดในวัยเพียง 16 ปีจากอุบัติเหตุทางรถยนต์เมื่อเดือนมกราคมปี 2535  ในวันนั้นเขารู้สึกเหมือนกำลังตกอยู่ในก้นบึ้งหุบเหวลึกที่มองไม่เห็นแสงสว่างจากขอบฟ้าส่องลงมาแม้เพียงนิดเดียว

ความสุขประเทศไทย
PDPA Icon

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save