เรื่องน่าสนใจ
สัมผัสความสุขแต่ละเส้นทางที่คุณสนใจ ผ่านบทความ คลิปวีดีโอ การร่วมกิจกรรม เพื่อให้คุณได้เข้าถึงความสุขจากการรู้จักความจริง
ดร.ภาสกร แช่มประเสริฐ มิสเตอร์เตือนภัยพิบัติ
ย้อนกลับไปเมื่อสิบกว่าปีก่อน คนไทยเพิ่งรู้สึกสึนามิเป็นครั้งแรก เหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้มีผู้เสียชีวิตนับไม่ถ้วน หลายคนเดินทางลงไปช่วยเป็นอาสาสมัครกู้ภัยในรูปแบบต่างๆ ที่ตนเองถนัด ทว่าในอีกซีกโลกหนึ่งของดินแดนอเมริกา นักศึกษาปริญญาเอกด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์จากประเทศไทยคนหนึ่งกลับไม่ได้นิ่งเฉยกับภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในแผ่นดินเกิด เขาตั้งคำถามว่า ถ้าเราห้ามแผ่นดินไหวไม่ให้เกิดขึ้นไม่ได้ สิ่งที่เราทำได้คือการมีข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับแผ่นดินไหวล่วงหน้าเพื่อลดความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นน้อยที่สุด “ผมทำบอร์ดไดอารี่ประจำวันเพื่อเก็บข้อมูลด้านภัยพิบัติ วันนี้เกิดพายุที่ไหน ไฟป่าที่ไหน ตื่นเช้าขึ้นมาตีห้าครึ่งจะนั่งหาข่าวก่อนเลย นั่งโพสต์เก็บรวบรวมสถานการณ์ทั่วโลกเลย ผมรู้ว่าแผ่นดินไหวที่ไหน พายุทั่วโลกเป็นยังไง ติดตามเส้นทางเดินพายุเป็นยังไง ตอนนั้นคือทำเองเหมือนงานอดิเรกแทนที่เราจะตื่นเช้าขึ้นมาตีห้าครึ่งเพื่อใส่บาตรเป็นตื่นเช้าตีห้าครึ่งขึ้นมาเพื่อเผยแพร่ความรู้ให้วิทยาทาน”
เดอะเรนโบว์รูม ครอบครัวหัวใจสีรุ้ง
“ความสุขของเราคือการที่เราได้เห็นการเติบโตของครอบครัว ของตัวเด็กเอง ของพ่อแม่ที่มีความเข้าใจ แล้วเราได้ชื่นชมกับพัฒนาการของเขาที่ขยับขึ้นไปข้างหน้าเรื่อยๆ ในจังหวะเวลาของตัวเอง” คุณโรสซาลีน่า อเล็กซานเดอร์ แม็คเคย์ ผู้ร่วมก่อตั้งมูลนิธิ เดอะ เรนโบว์ รูม กล่าวถึงความสุขจากการสร้างเครือข่ายเพื่อครอบครัวเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ด้วยเป้าหมายเพื่อสร้างความเข้าใจในสังคมให้กับครอบครัว คุณโรสค้นพบด้วยประสบการณ์ตรงว่า ความเข้าใจทั้งในระดับครอบครัวและสังคม เริ่มต้นจากคำพูดและทัศนคติ “ก่อนที่จะมีลูกคนเล็ก ลูกคนโต 5
จากเด็กท้องนาสู่อาจารย์สอนศิลปะเพื่อชุมชน
“คนที่มาเป็นครูส่วนใหญ่จะมีความสุขจากการเห็นคนอื่นมีความสุข ตั้งแต่สมัยเรียน เราได้รับจากคนอื่น ได้รับจากครู ได้รับทุนการศึกษา ทั้งน้ำใจไมตรี หรือเห็นคนอื่นเป็นผู้ให้ แล้วเห็นความสุขของเขา วันหนึ่งเราอยากจะเป็นผู้ให้อย่างนั้นบ้าง” ผศ. ดร.อภิชาติ พลประเสริฐ หัวหน้าภาควิชาศิลปะ ดนตรีและนาฏศิลป์ศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บอกเล่าถึงแรงบันดาลใจของการเป็นครูสอนศิลปะที่พร้อมจะเป็น “ผู้ให้” สิ่งดีๆ คืนกลับสู่สังคมเหมือนที่ตนเองเคยได้รับมาในวัยเยาว์
บางกอกนี้ดีจัง สร้างพื้นที่ศิลปะวัฒนธรรมให้คนเมืองกรุง
“บางกอกนี้ดีจังเป็นกลุ่มเครือข่ายชุมชนที่มีทั้งองค์ประกอบเด็กเยาวชนแล้วก็ผู้นำชุมชนที่ทำกิจกรรมทางสังคมต่างๆ” คุณตัน-สุรนาถ แป้นประเสริฐ เล่าถึงกลุ่มที่เขาเป็นแกนนำก่อตั้งขึ้นเพื่อใช้กระบวนการชุมชนแก้ไขปัญหา “ผมรู้สึกว่าการทำงานแบบนี้มันสนุกนะ ให้เด็กเยาวชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขโดยใช้ความเป็นธรรมชาติของเขา ใช้ทักษะบางอย่างที่เขามีในด้านบวก เช่น งานรณรงค์ กิจกรรมสร้างกระบวนการเรียนรู้ผ่านตัวประเด็นปัจจัยเสี่ยงชุมชน”
วิถีการเรียนรู้รักปลอดภัยในกลุ่มชายรักชาย
สังคมยุคนี้ดูเหมือนจะเปิดกว้างเรื่องความหลากหลายทางเพศมากขึ้น แต่ในกลุ่มชายรักชายก็ยังมีปัญหาซ่อนอยู่ อย่างเช่นเรื่องการขาดความรู้ความเข้าใจในการป้องกัน HIV และการเปิดเผยตัวตนกับครอบครัวคนใกล้ชิด เพราะมองเห็นปัญหาเหล่านี้ คุณออฟ (ผู้ถูกสัมภาษณ์ไม่สะดวกเปิดเผยชื่อจริง) ชายหนุ่มวัยทำงานซึ่งเรียนจบทางด้านวิทยาศาสตร์และเภสัชวิทยาจึงนำความรู้ที่ร่ำเรียนมาทำงานช่วยเหลือกลุ่มชายรักชาย เพื่อให้มีรักได้อย่างปลอดภัย “ที่อยากทำกลุ่มนี้เพราะ ด้วยความที่เราพอจะมีความรู้ด้านนี้ มีแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ อย่างน้อยมันเป็นแรงขับเคลื่อนจุดเล็กๆ ของสังคมในกลุ่มเราเอง ทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยที่เราไม่ได้ไปหวังว่าจะต้องมีผลตอบแทนอะไร”
ความสุขของนักเสริมพลังการเรียนรู้เพื่อครูปฐมวัย
ครูเปรียบเสมือนแม่คนที่สองของเด็ก ครูคนแรกที่เด็กได้เจอหลังจากผละจากอ้อมอกแม่คือครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็กหรือครูโรงเรียนอนุบาล ครูคนนี้ต้องมีคุณสมบัติที่สำคัญที่สุดไม่ใช่ “ความรู้” แต่ต้องมี “ความรัก” และ “ความเข้าใจ” พัฒนาการของเด็กในช่วงปฐมวัยมากที่สุด ทว่า ในสายตาของคนทั่วไปอาจมองเห็นครูเด็กเล็กเป็นเพียงพี่เลี้ยงที่ทำให้เด็กกินอิ่มนอนหลับไปวันๆ เท่านั้น ครูหลายคนจึงขาดโอกาสในการเสริมศักยภาพที่ซ่อนอยู่ภายใน ทว่าในสายตาของสรวงธร นาวาผล และสายใจ คงทนกลับไม่ได้มองเช่นนั้น ทั้งคู่มองเห็น “พลังความรักในอาชีพครู” ที่ซุกซ่อนอยู่ในหัวใจ
ความสุขจากการถ่ายภาพธรรมดาที่ไม่ธรรมดา
โลกยุคดิจิทัลทุกวันนี้ทำให้ทุกคนกลายเป็นช่างภาพกันแทบจะทุกอิริยาบถกันเลยทีเดียว แต่ถ้าเราสังเกตให้ดีจะพบว่า ภาพถ่ายส่วนใหญ่ที่เราถ่ายมักจะ “ถูกจัดวาง” ทั้งท่วงท่านายแบบนางแบบ หรือองค์ประกอบฉากเพื่อความสวยงาม ถ้าไม่ถูกใจก็จะกดถ่ายใหม่กันได้ทันที ภาพถ่ายเหล่านี้จึงถูก “ปรุงแต่ง” ด้วยความรู้สึกของช่างภาพจนกว่าจะพอใจ ทว่า หากใครได้ลองฝึกถ่ายภาพแบบ Contemplative Photography หรือภาพถ่ายที่ “ไร้การปรุงแต่ง” ดูแล้วละก็ คุณจะได้สัมผัสกับความรู้สึกถ่ายภาพในมุมใหม่และภาพถ่ายที่ดูเหมือนธรรมดาจะกลายเป็นภาพถ่ายที่ไม่ธรรมดาไปได้เช่นกัน อาจารย์นิตยา เกษมโกสินทร์ เป็นคนหนึ่งที่หลงใหลการถ่ายภาพแนวนี้มานานหลายปี
เสกโรคซึมเศร้าให้เป็นรอยยิ้มด้วยกิจกรรมมนตร์อาสา
เพราะเริ่มไม่มีความสุขกับการใช้ชีวิต ทิพย์ชยพล ปารีณาพัฒน์นรีหรือ คุณเน จึงรวมกลุ่มทำงานจิตอาสา เหมือนที่เคยทำกิจกรรมสมัยเป็นนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในช่วงแรกยังไม่ได้มุ่งเน้นกิจกรรมใดเป็นพิเศษ จะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ จนกระทั่งมีโอกาสเข้ารับการอบรมที่จัดโดยธนาคารจิตอาสา “ตอนนั้นผมเป็นโรคซึมเศร้าเนื่องจากครอบครัวมีปัญหา ผมรู้สึกว่าชีวิตเริ่มดีขึ้นหลังจากได้ไปทำกิจกรรมจิตอาสา เพราะทำให้รู้สึกว่าเราเริ่มมีคุณค่าเพิ่มขึ้น รู้สึกว่าจิตอาสาช่วยชีวิตเราได้ เลยตั้งกลุ่มมนตร์อาสาขึ้นมาเพราะรู้สึกว่าการทำงานอาสาเป็นเหมือนเวทมนตร์ที่ช่วยบำบัดคนที่เป็นซึมเศร้าหรือคนที่มีภาวะความเครียดในสังคมปัจจุบันให้มีความสุขมากขึ้นได้เพราะไม่ได้คิดหมกมุ่นแต่เรื่องของตนเอง”
สุขกายสุขใจวัยเกษียณ
สังคมไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุมากขึ้นเรื่อยๆ ปัญหาของผู้สูงอายุที่พบร่วมกันคืออาการเจ็บป่วย รวมไปถึงโรคซึมเศร้าเพราะลูกหลานต่างมีภาระหน้าที่หรือโลกส่วนตัวบนหน้าจอมากเกินไป ผู้สูงวัยจึงต้องหากิจกรรมทำร่วมกันเพื่อผ่อนคลายเหงา รวมไปถึงการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับวัย เพราะจะทำให้ไม่ต้องเป็นภาระกับลูกหลานมากเกินไป สำหรับผู้สูงวัยบางคนอาจใช้เวลาว่างเป็นจิตอาสาตามองค์กรต่างๆ เพื่อให้ชีวิตที่เหลืออยู่มีคุณค่ามากยิ่งขึ้น ดังเช่น สุรีย์ นาวีเรืองรัตน์ หรือคุณเจี้ยบ ครูสอนออกกำลังกายแบบเต้าเต้อจิง ณ ศูนย์ผู้สูงอายุ จังหวัดนนทบุรี ที่นี่มีเพื่อนวัยเดียวกันมากมายให้พูดคุยกันคลายเหงาและกลายเป็นแก๊งเพื่อนสนิทไปไหนไปกันทำให้ชีวิตไม่เหงาเกินไปนัก