เรื่องน่าสนใจ
สัมผัสความสุขแต่ละเส้นทางที่คุณสนใจ ผ่านบทความ คลิปวีดีโอ การร่วมกิจกรรม เพื่อให้คุณได้เข้าถึงความสุขจากการรู้จักความจริง
พระจันทร์พเนจร ความสุขของคนเล่นเงา
“เราเป็นคนขี้อาย การเล่นหุ่นเงาทำให้เรารู้สึกเป็นตัวของตัวเองมากที่สุด เพราะไม่ต้องออกไปแสดงหน้าเวที เรารู้สึกสนุกที่ได้ใช้หุ่นเป็นสื่อเพื่อบอกเล่าเรื่องราวปัญหาของสังคมโดยไม่ต้องมีใครมองเห็นเรา” มณฑาทิพย์ สุขโสภา หรือ ทิพย์บอกถึงเหตุผลที่อยู่เบื้องหลังการเลือกอยู่ด้านหลังฉากสีขาวมาตลอดเวลากว่ายี่สิบปีที่ผ่านมาภายใต้ชื่อคณะละครเงาที่หลายคนคุ้นหูกันดีว่า “พระจันทร์พเนจร” หรือชื่อเต็มว่า “พระจันทร์พเนจร และการเดินทางที่ไม่สิ้นสุด ”
เติมพลังบวกในหัวใจของจิตอาสาตาบอด
ฉันเป็นคนตาบอดที่มีชีวิตอยู่ในโลกมืดสนิท แต่ไม่เคยปล่อยให้ความสูญเสียการมองเห็นผ่านตาเนื้อคอยบั่นทอนจิตใจให้หม่นหมอง ยังคงใช้ชีวิตเช่นปุถุชนทั่วไปได้อย่างมีอิสระ เวลาว่างส่วนใหญ่ของฉันอุทิศให้กับการทำกิจกรรมจิตอาสาตามที่ต่างๆ อย่างแข็งขัน เชื่อเหลือเกินว่าความพิการไม่เคยมีคำว่าอุปสรรคในหัวใจ พร้อมมอบความสุขแก่ทุกคนที่ผ่านเข้ามาในชีวิต ฉันพร้อมเสมอที่จะสร้างประโยชน์สู่สาธารณะ แม้จะรู้สึกขาดความมั่นใจในกิจกรรมครั้งแรกๆ แต่เมื่อได้พบกัลยาณมิตรที่ร่วมอุดมการณ์ซึ่งหมั่นเติมพลังใจสม่ำเสมอ นานๆเข้าความหวั่นไหวค่อยๆ เลือนหายกลับแทนที่ด้วยความรู้สึกเปี่ยมสุขอิ่มเอม
จากนักดำน้ำจิตอาสาสู่นัก (อยาก) เขียนตาบอด
ในทะเลก็มีสวนสวย หันมองไปทางไหน ก็เห็นราวกับดอกกุหลาบสีขาวดอกใหญ่กำลังแบ่งบานเต็มไปหมด เหมือนเรากำลังเดินชมดอกไม้งาม ที่นี้คือ ใต้ท้องทะเลชุมพร เรากำลังดำน้ำ (สกูบ้า) ดูหอยมือเสือ ที่เรานำมาปล่อยไว้เมื่อวาน มีหอยมือเสือบางตัว อาจถูกกระแสน้ำพัดจนล้มลง ไม่สามารถตั้งตัวขึ้นได้ เราก็จะช่วยจับหอยมือเสือตั้งขึ้น หอยมือเสือขนาดเท่าฝ่ามือ เป็นหอยสองฝา ขณะนี้อ้าฝาออกเห็นเนื้อข้างในเป็นสีรุ้งสวยงาม เปลือกหอยสะอาดตาราวกับกลีบกุหลาบสีขาวกำลังคลี่แย้ม เมื่อฉันได้ใช้ชีวิต สะสมความสุขเข้าหาตัวเอง ความเต็มอิ่มที่ได้รับ ทำให้ฉันรู้สึกพอเพียง และอยากแบ่งปันสิ่งที่ฉันทำได้ให้กับสังคม ฉันเคยเป็นนักดำน้ำสกูบ้า ชอบท่องเที่ยวไปในโลกสีคราม ความตื่นตางดงามใต้ทะเล ที่ฉันได้ไปพบและชื่นชม เวลาผ่านไปความสมบูรณ์สวยงามก็ลดน้อยถอยลง ด้วยสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไป และด้วยน้ำมือของผู้คน
Soul Motion เมื่อจิตและกายเคลื่อนไหวเป็นหนึ่งเดียว
ใจเป็นนาย กายเป็นบ่าว เรามักได้ยินสำนวนนี้กันจนเคยชิน แต่ถ้าใครได้ลองมาสัมผัสการเต้นรำที่เรียกว่า Soul Motion แล้วละก็ คุณอาจเปลี่ยนคำพูดใหม่ว่า “ร่างกายก็มีปัญญาของตัวเองเช่นกัน” ข้างต้นเป็นคำพูดของวริวรรณ์ วิทยฐานกรณ์ หรือ ซอย หญิงสาวผู้เติบโตมาในครอบครัวนักธุรกิจชาวจีน เธอสนใจแนวคิดทางจิตวิทยาเพื่อทำความเข้าใจตนเองมาตั้งแต่สมัยเรียนมหาวิทยาลัย หลังจากเรียนจบปริญญาตรีด้านธุรกิจ เธอจึงเรียนต่อปริญญาโททางด้านจิตตปัญญาศึกษาที่มหาวิทยาลัยมหิดล รวมทั้งสนใจหลักสูตรอบรมด้านจิตวิทยาหลากหลายแนวทาง
Music Sharing สร้างดนตรีในหัวใจเด็กด้อยโอกาส
ดนตรีอาจสร้างจุดเปลี่ยนของชีวิตใครหลายคน สำหรับเด็กด้อยโอกาสแล้ว การเล่นดนตรีสักชิ้นอาจไม่ใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะเครื่องดนตรีสากลที่ต้องมีครูมาช่วยสอนและชี้แนะ หากมีใครสักคนนำเครื่องดนตรีมาแบ่งปันพร้อมกับครูสอนในชุมชนของเด็กเหล่านี้ เด็กๆ คงจะมีความสุขไม่น้อยเลยทีเดียว ศิริพร พรมวงศ์ หรือ “ครูแอ๋ม” หนึ่งในผู้ริเริ่มโครงการ Music Sharing แบ่งปันเครื่องดนตรีให้กับกลุ่มเด็กด้อยโอกาสตั้งแต่สมัยยังเป็นนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อสิบกว่าปีที่แล้ว แม้ว่าเธอจะเรียนสายวิชาชีพสาธารณสุข แต่เธอก็หลงรักการเล่นกีตาร์มาตั้งแต่วัยเยาว์ จึงรวมกลุ่มกับเพื่อนที่เรียนด้านดนตรีมาทำค่ายเด็กด้วยกัน โดยเปิดรับบริจาคเครื่องดนตรีให้น้องๆ ชนเผ่าในจังหวัดน่าน
เรียนรู้นิทานธรรมผ่านศิลปะบนตาลปัตร
เมื่อพูดถึงธรรมะ คนส่วนใหญ่มักรู้สึกว่าเป็นเรื่องน่าเบื่อ ยิ่งการสอนธรรมะให้เด็กด้วยแล้ว โอกาสที่เด็กจะง่วงหงาวหาวนอนจึงมีมากกว่าจะเข้าใจแก่นธรรมะ ทว่า หากธรรมะถูกนำมาบอกเล่าผ่านนิทานสนุกๆ พร้อมภาพวาดสวยงาม การฟังธรรมะก็คงไม่น่าเบื่ออีกต่อไป เมื่อ 20 ปี ก่อน พระอาจารย์ประสงค์ ปริปุณฺโณ ช่วยครูบาอาจารย์ที่วัดจัดโกดัง พบตาลปัตรเก่ามากมายที่ต้องนำออกมาเผาทิ้ง ก็คิดหาทางว่าจะนำมาใช้ทำประโยชน์อะไรได้บ้าง “ตอนหลังมีโอกาสไปสวนโมกข์ เห็นอาจารย์พุทธทาส ท่านเอาตาลปัตรมาเขียนว่าการทำงานคือการปฏิบัติธรรม
Folk Rice ตลาดข้าวอินทรีย์ในมือคนรุ่นใหม่
เขียนโดย เพ็ญนภา หงษ์ทอง “เพราะทุกคนมีความฝัน และมีสิทธิ์ที่จะเดินตามฝันโดยไม่ต้องเดินตามคนอื่น” คือสิ่งที่อนุกูล ทรายเพชร ชายหนุ่มวัย 30 เชื่อมาตลอด และเพราะความเชื่อมั่นในพลังแห่งความฝันทำให้เขามีเส้นทางชีวิตที่ไม่เหมือนใคร เพราะฝันของเขาไม่มีใครเหมือน จากเด็กนักเรียนโรงเรียนวัด ลูกชาวนาจังหวัดสุรินทร์ที่ขอให้แม่ขายที่นาเพื่อส่งให้ตัวเองเรียนวิศวกรรมศาสตร์ หลักสูตรอินเตอร์ฯ ในสถาบันการศึกษาแห่งหนึ่ง แต่วุฒิการศึกษาที่ติดมือกลับบ้านกลายเป็นปริญญาตรีด้านสังคมศาสตร์ ก่อนจะกลับบ้านพร้อมด้วยบาดแผลในใจที่สุดท้ายต้องกลับมาเช่าผืนนาคนอื่นปลูกข้าวเพื่อทำข้าวอินทรีย์หลากหลายพันธุกรรมและทำการตลาดโดยผ่าน IT
ปลูกจิตสำนึกรักษ์นก รักษ์ป่าเมืองน่านผ่านสามเณร
สามเณรชนเผ่า เด็กในพื้นที่ห่างไกล และเด็กเมือง กลุ่มเยาวชน 3 กลุ่มที่ถูกหล่อหลอมด้วยระบบการศึกษาและบริบททางสังคมที่แตกต่างกันของจังหวัดน่าน ได้รับโอกาสที่ผู้ใหญ่ใจดีจากคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำโครงการเรียนรู้มาพาพวกเขาให้เดินทางออกจากโลกของตนเองที่อาจแตกต่างเหลื่อมล้ำกับโลกของคนอื่น แล้วร่วมกันสร้างโลกแห่งการเรียนรู้ใบใหม่ที่มีธรรมชาติเป็นห้องเรียนและครูผู้สอน
ความสุขไร้กรอบเพศภาวะของอวยพร เขื่อนแก้ว
เมื่อเอ่ยชื่ออวยพร เขื่อนแก้ว นักสตรีนิยมในสังคมไทยคงคุ้นหูกันดี เพราะผู้หญิงคนนี้ก้าวเดินบนถนนสายนักต่อสู้เพื่อความเท่าเทียมทางเพศมานานกว่าสามสิบปีแล้ว ความสนใจเรื่องประเด็นผู้หญิงของเธอเริ่มขึ้นเมื่อ 30 ปีก่อน ตอนที่รัฐบาลออกนโยบายตั้งกลุ่มแม่บ้านทั่วประเทศ ทำให้เกิดคำถามในใจว่า “รัฐบาลตั้งกลุ่มแม่บ้านนี่มันส่งผลต่อชีวิตผู้หญิงไหม คำตอบที่พบคือมันไม่ได้ช่วย แต่มันผลักให้ผู้หญิงไปอยู่ในกรอบการเป็นภรรยาเป็นแม่ที่ดี ไม่ได้สนับสนุนผู้หญิงให้เข้าไปอยู่ในพื้นที่ทางการเมือง สังคมและการทำงานที่ดีขึ้น” นโยบายนั้นจุดประกายให้เธอหยิบหนังสือเกี่ยวกับสิทธิสตรีขึ้นมาอ่าน “นั่นเป็นครั้งแรกที่อ่านหนังสือเฟมินิสต์ พออ่านก็ยิ่งชัด เราเห็นความไม่เป็นธรรมทางเพศมาตั้งแต่เล็กๆ ได้เรียนรู้กับเพื่อนเฟมินิสต์ตะวันตกที่เขาจริงจังเรื่องขบวนการเคลื่อนไหวทางสิทธิสตรี ซึ่งบ้านเรายังไม่มีขบวนการเคลื่อนไหวเรื่องนี้เลย