8 ช่องทางความสุข, การฟื้นคืน (Resilience), ความกรุณาต่อตัวเอง

ล้มแล้วลุกยืนขึ้นใหม่ แต่ถ้ายืนไม่ไหวขอความช่วยเหลือยังไงดี?

ในชีวิตคนเราล้วนพบเจอปัญหาด้วยกันทั้งนั้น บางคนล้มแล้วลุกยืนขึ้นใหม่ได้ ใช้เวลาผ่านปัญหาไม่นาน บางคนก็จมอยู่กับปัญหาหลายปี ล้มแล้วกว่าจะลุกได้ก็นาน และก็คงปฏิเสธได้ยากว่าการผ่านปัญหาบางครั้ง ถ้าไม่สามารถผ่านได้ด้วยตัวเอง ก็มาด้วยการขอความช่วยเหลือจากใครสักคน

.


● ไม่มีใครไม่เคยเจออุปสรรคในชีวิต เพียงแต่เราปล่อยให้ตัวเองล้มบ้างก็ได้ ล้มแล้วลุกขึ้นใหม่ เพื่อให้เราได้ทบทวนตัวเอง และเมื่อล้มครั้งต่อไปจะได้มีความเข้มแข็งพอที่จะกลับมาใหม่ได้
● ทักษะของการเป็นคนล้มแล้วลุกยืนขึ้นใหม่ได้ คือรู้ว่าเมื่อไรที่ควรขอความช่วยเหลือจากคนรอบข้าง โดยฝึกตั้งคำถามกับตัวเอง ดูแลอารมณ์ ฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง และเราจะมีนิสัยในการดูแลตัวเองให้ดีได้
● จุดเริ่มต้นสำคัญของการพัฒนาทักษะการฟื้นตัว หรือความสามารถในการฟื้นคืนของสังคมและชุมชน (social resilience) ฟื้นฟู เข้าใจการอยู่ร่วมกัน จะช่วยกันจัดการปัญหาและฟื้นตัวหลังเจอวิกฤตต่างๆ ได้ดี

.

ในชีวิตคนเราล้วนพบเจอปัญหาด้วยกันทั้งนั้น บางคนล้มแล้วลุกยืนขึ้นใหม่ได้ ใช้เวลาผ่านปัญหาไม่นาน บางคนก็จมอยู่กับปัญหาหลายปี ล้มแล้วกว่าจะลุกได้ก็นาน และก็คงปฏิเสธได้ยากว่าการผ่านปัญหาบางครั้ง ถ้าไม่สามารถผ่านได้ด้วยตัวเอง ก็มาด้วยการขอความช่วยเหลือจากใครสักคน

.

พัฒนาทักษะความยืดหยุ่นทางจิตใจ ให้เราล้มแล้วลุกขึ้นใหม่ได้

การฟื้นตัวจากความยากลำบาก เป็นเรื่องสำคัญมากในยุคนี้ ซึ่งการเป็นคนที่มีความยืดหยุ่นทางจิตใจจะเข้าใจว่า ชีวิตคนเราสามารถผิดพลาดได้ ซึ่งเราสามารถฝึกตัวเองได้ ด้วยการอยู่อย่างที่เป็น รู้อย่างที่เป็น และอนุญาตให้ตัวเองล้มเหลว รับรู้ว่าเราก็เป็นมนุษย์คนหนึ่งที่ทำได้บ้าง ไม่ได้บ้าง กลับมารู้ว่าเราขณะนี้รู้สึกอะไร และอนุญาตให้มันเป็น ซึ่งเราสามารถตระหนักรู้แบบนี้ได้ทั้งวัน นั่นคือการฝึก resilience ของตัวเองแล้ว
ขณะเดียวกัน ถ้าปัญหานั้นเหนือบ่ากว่าแรง การขอความช่วยเหลือจากคนอื่นไม่ใช่เรื่องผิด และหากเราขอความช่วยเหลือเมื่อเราต้องการได้นั้น เราจะรับมือและก้าวข้ามปัญหาได้ดีกว่า การขอความช่วยเหลือนี้หมายถึงบริบททั่วๆ ไป ไม่ใช่เฉพาะด้านการเยียวยาจิตใจเท่านั้น

ที่สำคัญควรมีความยืดหยุ่นทางจิตใจระดับสังคม หรือความสามารถในการฟื้นคืนทางสังคม (social resilience) ฟื้นฟู เข้าใจการอยู่ร่วมกัน ช่วยกันจัดการปัญหาและฟื้นตัวหลังเจอวิกฤตต่างๆ

.

เหตุใดเราถึงไม่ขอความช่วยเหลือ
หลายๆ ครั้ง ที่เราไม่ขอความช่วยเหลือ เพราะเรามักมีความคิดยึดติดบางอย่างอยู่ อยากให้ลองมารู้เท่าทันสาเหตุที่เราไม่ขอความช่วยเหลือ ด้วยการเช็กลิสต์ด้านล่างนี้กัน


● ไม่อยากเป็นภาระคนอื่น
● คนอื่นจะมองว่าเราไม่เก่ง
● ฉันต้องพึ่งตนเองให้ได้ 100%
● ไม่มีใครอยากช่วยเราหรอก
● การถูกปฏิเสธมันเจ็บปวด
● อายที่จะยอมรับว่าทำคนเดียวไม่ได้
● คนอื่นเขาก็ลำบากกันทั้งนั้น
● ไม่เชื่อว่าคนอื่นจะช่วยเราได้จริง
● … (ข้อสุดท้าย ลองเติมเหตุผลของตัวเองดู และประเมินลิสต์ทั้งหมด หรือลองนำไปคุยกับเพื่อนในที่ทำงานหรือโรงเรียน)

.

วิธีเปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับการขอความช่วยเหลือ

  1. ลองทบทวนเหตุผล
    ถ้าเรามีเพื่อนที่เราสนิท แล้วเพื่อนไม่กล้าขอความช่วยเหลือด้วยเหตุผลอันนี้ เรามีอะไรจะบอกเขาบ้าง และลองเวิร์คกับ mindset ตัวเองเรื่องไม่ขอความช่วยเหลือก่อน ว่าทำไม แต่สิ่งสำคัญคือการเรียนรู้ ที่จะไม่รอนานเกินไปในการขอความช่วยเหลือ
  2. ประเมินอย่างจริงจังว่าถึงเวลาต้องขอความช่วยเหลือแล้วไหม ด้วยการถามคำถามเหล่านี้
    ● เราใช้เวลากับปัญหานี้มานานแค่ไหน ?
    ● และเรามีเวลากับมันแค่ไหน ?
    ● ปัญหานี้เป็นเรื่องที่เราไม่ถนัดใช่ไหม ?
    ● การปล้ำกับปัญหานี้ เราเอาเวลาไปทำอย่างอื่นที่ดีกว่าไหม ?
  3. เป็นการให้เกียรติคนอื่น
    เวลาเราขอความช่วยเหลือแบบเจาะจงกับคนอื่น จริงๆ แล้วเป็นการให้เกียรติคนอื่น อย่าเพิ่งคิดว่า “ไม่อยากเป็นภาระคนอื่น” เราควรให้โอกาสผู้อื่นในการตัดสินใจเองด้วย ว่าพวกเขายินดีที่จะช่วยเหลือคุณหรือจะบอกคุณว่าทำไม่ได้
  4. ให้เกียรติตัวเอง การขอความช่วยเหลือไม่ใช่เรื่องน่าอาย
    การเอ่ยปากขอความช่วยเหลือ ไม่ได้หมายความว่าคุณเป็นคนอ่อนแอ ไม่เก่งหรือไร้ความสามารถ แต่เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือของคนที่มีความกล้า มีไหวพริบ และเป็นการให้เกียรติตัวเอง เพราะการไม่ขอความช่วยเหลือในสิ่งที่ต้องการ เท่ากับปฏิเสธตัวเองตั้งแต่เริ่มต้นก่อนที่คนอื่นจะบอกกับเราเสียอีก
  5. การขอความช่วยเหลือ ช่วยสร้างสัมพันธภาพที่ดี
    การให้ความช่วยเหลือกับคนอื่นเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี เพราะทำให้เรามีสัมพันธภาพที่ดี
  6. ความกังวลใจเบาบางลง
    การขอความช่วยเหลือ จะทำให้ความกังวลของเราเบาบางลง และมีความสัมพันธ์แบบ give and take หรือการให้และรับที่เท่าเทียม เพราะบางทีเราอาจลืมไปว่า คนที่ให้ความช่วยเหลือก็รู้สึกดี เมื่อมีคนขอข้อมูลหรือทักษะ

.

หากคุณกำลังสงสัยว่าแล้วจะเริ่มขอความช่วยเหลือยังไงดี คุณสามารถเริ่มได้เลยตอนนี้ เพียงเอ่ยปากขอความช่วยให้ชัดเจนกับบุคคลที่จะให้ความช่วยเหลือในเรื่องนั้นๆ ของคุณได้ และสำคัญเลยคืออนุญาตให้ตัวเองล้มเหลว รับรู้ว่าบางสภาวะเราทำแบบนี้ไม่ได้ แต่โอเคเดี๋ยวเราฝึกใหม่ได้ เรียนรู้ใหม่ได้

.

การฟื้นคืน ล้มแล้วลุก เป็นการสร้างกล้ามเนื้อ หรือเพิ่มความสามารถให้ตนเอง เป็นทักษะอย่างหนึ่ง ฝึกได้โดยการตั้งคำถามกับตัวเอง ดูแลอารมณ์ ฝึกควบคุมอารมณ์ ฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง และเราจะมีนิสัยในการดูแลตัวเองให้ดีได้ อีกทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพจิต เช่น โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวลหลังเจอปัญหาในชีวิตได้อีกด้วย

.

ข้อมูลเพิ่มเติม
https://ashleyjanssen.com/how-to-develop-the-skill-of-asking-for-help/
รู้จักการฟื้นคืน และ ดูแลอารมณ์ https://www.happinessisthailand.com/2022/09/09/resilience-emotional-introduction-msc/


ท่านสามารถฝึกฝนและศึกษาเพิ่มเติมจากคลิปวีดีโอเหล่านี้
● ความเข้าใจพื้นฐานและรากฐานของการฟื้นคืน (Introduction to Resilience and Its Foundation) https://www.youtube.com/watch?v=foj0xNwUPJs&list=PLOIDiL5wSuZ6dKjmvY0Ovdu5g_IRRXRPT&index=1
● การฝึกสัมผัสให้กำลังใจ (How to Practice Soothing Touch) https://www.youtube.com/watch?v=GKi1s5zygts
● แบบฝึกหัดทำให้เชื่องด้วยการเรียกชื่อ (How to Practice ‘Name It to Tame It’) https://www.youtube.com/watch?v=NRCtIcMPZN0&t=1s
● แบบฝึกหัดการดูแลอารมณ์ (Taking Care of Your Emotions with Emotional Resilience) https://www.youtube.com/watch?v=e5Q4oTvgbVA&t=143s
● Q&A: เราจะดูแลอารมณ์ยากๆ ได้อย่างไร (How Can We Take Care of Difficult Emotions)
https://www.youtube.com/watch?v=ciFvcuOnFlY&t=1s

ความสัมพันธ์

8 ช่องทางความสุข

ความสุขประเทศไทย
PDPA Icon

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save