8 ช่องทางความสุข

ห้องเรียนที่มีความสุข

โรงเรียนและห้องเรียนไม่ควรเป็นเพียงพื้นที่ของทำงานเพื่อสร้างรายได้ หรือสร้างผลงาน เและไม่ควรเป็นเพียงพื้นที่สำหรับการวางอนาคตด้วย แต่ห้องเรียนน่าจะเป็นพื้นที่ของการใช้ชีวิตร่วมกันอย่างเบิกบาน สัมผัสได้ถึงความสุข สนุกที่ได้เรียนรู้ มอบอิสรภาพและความสุข รากฐานสำคัญของการศึกษา

.

  • บางครั้งความเก่งและความสุขนั้นขึ้นตรงต่อกัน เด็กๆ อาจจะมีความสุขมากเมื่อได้รับคำชมว่า “หนูเก่งจัง” และจะทุกข์ทันทีเมื่อไม่มีคำชม — ความเก่งยั่งยืนน้อยกว่าความสุข เพราะความเก่งอาศัยการเปรียบเทียบ แต่ความสุขเป็นคุณสมบัติภายใน คนที่หล่อเลี้ยงความสุขได้ก็จะเป็นคนมีความสุขง่าย โดยไม่ต้องเปรียบเทียบกับใครเลย
  • ความสุขเป็นพลังงานที่แพร่กระจายได้ ครูที่มีความสุขจะแผ่คลื่นความสุขไปสู่ห้องเรียน สร้างสรรค์ห้องเรียนและการเรียนการสอนที่มีความสุข ครูที่หล่อเลี้ยงความสุขในตัวเองเป็น ก็จะสอนเด็กๆ ให้เลี้ยงความสุขเป็นเช่นเดียวกัน
  • ครูที่ยิ้มแย้มแจ่มใส เต็มเปี่ยมด้วยความผ่อนคลาย ห้องเรียนก็จะกลายเป็นพื้นที่ปลอดภัยสำหรับการสร้างสรรค์ การสืบค้นความรู้ใหม่ๆ การทดลอง นำไปสู่การเรียนการสอนที่เป็นมิตร อบอุ่น สนุกสนานและเบิกบาน ทั้งหมดนี้เป็นไปได้เมื่อครูมีทัศนคติ มีวิธีการดูแลตัวเอง ซึ่งเริ่มต้นจากสิ่งง่ายๆ เช่น ยิ้มให้ตัวเอง หายใจเพื่อตัวเอง อันจะนำไปสู่การยิ้มให้ลูกศิษย์ และหายใจเพื่อลูกศิษย์

.


Wake Up School

ท่านติช นัท ฮันห์ ปรมาจารย์เซนแห่งหมู่บ้านพลัม ได้เขียนลายพู่กัน “Happy teacher will change the world” เพื่อให้กำลังใจครูและบุคลากรด้านการศึกษา ท่านเห็นว่า สติ (mindfulness) เป็นกุญแจสำคัญของการดำรงอยู่อย่างมีความสุข และ ครูก็เป็นกลไกสำคัญในการสร้างสังคมและสร้างอนาคตที่มีความสุข

.


สติ ทำให้เรารู้ว่าอะไรกำลังเกิดขึ้น เป็นอยู่ และกำลังดำเนินไปทั้งในตัวของเราและรอบๆ ตัวของเรา อะไรกำลังเกิดขึ้นในร่างกาย ในความรู้สึก ในจิตใจ และในโลก ณ ขณะนี้ “ถ้าครูรู้จักวิธีบ่มเพาะสติ ครูก็จะถ่ายทอดวิธีการไปยังลูกศิษย์ได้”

.

I think it is the good teachers who will be able to change the world. That’s my belief, because a teacher can nourish, can heal, can build healthy, happy human beings. – Thich Nhat Hanh
ฉันคิดว่าครูที่ดีคือผู้ที่จะเปลี่ยนแปลงโลกนี้ได้ นี่คือความเชื่อของฉัน เพราะครูจะสามารถหล่อเลี้ยง เยียวยาและสร้างสรรค์สุขภาวะและความสุขให้แก่มนุษยชาติ – ติช นัท ฮันห์


.


ในปี 2008 (พ.ศ. 2551) ชุมชนหมู่บ้านพลัม (Plum Village) ได้เริ่มจัดงานภาวนา “จริยธรรมประยุกต์ – Applied Ethics” ขึ้นสำหรับครูและบุคลากรด้านการศึกษา และนั่นคือที่มาของโครงการโรงเรียนแห่งการตื่น (Wake Up School) — ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://wakeupschools.org/

.


พระธรรมาจารย์ในชุมชนหมู่บ้านพลัมนานาชาติร่วมกับบุคลากรทางการศึกษาในประเทศต่างๆ จาริกธรรม (Tour) และจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการสำหรับครูในประเทศต่างๆ หลายแห่ง โดยเฉพาะในภูมิภาคยุโรปและอเมริกา (เคยจัดในประเทศไทยปี 2013) กลุ่มพระธรรมาจารย์ผู้ทำงานในโครงการนี้ให้ข้อคิดว่า

.


ดูเหมือนว่า ยิ่งเด็กๆ เติบโตขึ้น ความสุขของเขาก็ยิ่งลดน้อยลง เด็กๆ ไม่รู้วิธีรักษาความสุขให้อยู่ได้นานๆ นี่คือเหตุสำคัญที่ของการนำสติเข้าสู่ห้องเรียน เพราะสติจะช่วยให้ทุกคนกลับมาที่ขณะปัจจุบัน

.


โรงเรียนและห้องเรียนไม่ควรเป็นเพียงพื้นที่ของทำงานเพื่อสร้างรายได้หรือสร้างผลงานเท่านั้น และไม่ควรเป็นเพียงพื้นที่สำหรับการวางอนาคตด้วย แต่ห้องเรียนน่าจะเป็นพื้นที่สำหรับครูและนักเรียนให้ได้ใช้ชีวิตร่วมกันอย่างเบิกบาน สัมผัสได้ถึงความสุข สนุกที่ได้เรียนรู้ ทดลอง หรือสืบค้นสิ่งใหม่ๆ ด้วยกัน ที่สำคัญ โรงเรียนหรือห้องเรียนควรจะเป็นบ้านหลังที่สองที่ให้อิสรภาพและความสุข เพราะสองสิ่งนี้คือรากฐานสำคัญของการศึกษา

.


การสร้างครูที่มีความสุข ก็คือการช่วยเด็กๆ ให้ได้เรียนรู้อย่างมีความสุข ซึ่งมันส่งผลไปถึงพ่อแม่ ครอบครัว และอนาคตของพวกเรา — ชมภาพยนตร์สารคดี Happy Teachers will change the World (Film) ซึ่งนำเสนอประสบการณ์ของครูผู้สร้างห้องเรียนแห่งสติได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=NGrtF7hnkKw

.

หลัก 3 ประการ เพื่อสร้างสรรค์ห้องเรียนที่มีความสุข
ห้องเรียนเป็นพื้นที่ของการเรียนรู้ร่วมกัน — ห้องเรียนไม่ได้เป็นของครูเท่านั้น แต่เป็นพื้นที่สำหรับครูและนักเรียนที่จะได้สัมผัสความสุขและการใช้ชีวิตร่วมกัน


•ห้องเรียนเป็นการใช้ชีวิตในปัจจุบันขณะ — เมื่ออยู่ในห้องเรียน ครูมีโอกาสได้กลับมารับรู้ร่างกายอย่างที่เป็น รับรู้อารมณ์-ความรู้สึกอย่างที่เป็น และรับรู้สิ่งรอบตัวอย่างที่เป็น — ยิ้ม ผ่อนคลาย — แล้วชวนเด็กๆ ให้ลองทำไปด้วยกันเป็นระยะๆ


•ห้องเรียนเป็นพื้นที่ของการเชื่อมโยงตัวเองกับสิ่งรอบตัว— ครูและนักเรียนได้เห็นถึงความเชื่อมโยงของกันและกัน และเห็นความเชื่อมโยงของตนเองกับสิ่งต่างๆ รอบๆ ตัว


.

ครูที่มีความสุข
เว็บไซต์ของเราเคยได้นำเสนอบทสัมภาษณ์อาจารย์บิ๊ก – อาจารย์รุ่งโรจน์ สุวรรณสิชณน์ รองคณบดี ฝ่ายกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ซึ่งบอกกับเราไว้ว่า “การเป็นอาจารย์ เป็นความสุข ที่ไม่มีสิ่งใดทดแทนได้” เพราะได้ทั้งการเยียวยาจิตใจ และ เติมเต็มชีวิต

.


การสอนเป็นอาชีพที่เยียวยาจิตใจ — มีช่วงหนึ่งที่ผมประสบปัญหาชีวิต ผมทุกข์ ผมเศร้า แต่ทันทีที่เข้าห้องเรียน เป็นอาจารย์ พลังของผมกลับมา ผมกลายเป็นอีกคน ความเศร้า ความเซ็งไม่มีเลยในตอนนั้น ในห้องเรียนมีแต่ผมกับนักศึกษา เรื่องอื่นๆ อยู่ข้างนอก พลัง ความสดใสของนักศึกษา ทำให้ผมมีพลังไปด้วย และมันเยียวยาผมมาก ในการสอน 2- 3 ชั่วโมงนั้น ฟื้นพลังในตัวผม ‘การเป็นอาจารย์ ทำให้ผมได้บางสิ่งที่อาชีพอื่นให้ผมไม่ได้’

.


การสอนเป็นอาชีพที่เติมเต็มชีวิต — การเป็นอาจารย์ ไม่ใช่แค่การทำหน้าที่สอนแต่เป็นการใช้ชีวิต เมื่อนักศึกษาเรียนจบ ทำงาน ประสบความสำเร็จ กลับมาหา มาขอบคุณ มาคุยด้วย โอ้! มีความหมายมาก เหมือนเป็นคนปลูกต้นไม้ ที่คอยรดน้ำ เห็นการเติบโต เป็นสิ่งที่วิเศษมาก อาชีพนี้เงินไม่เยอะ แต่บางทีเงินก็ซื้อคุณภาพชีวิตบางด้านให้เราไม่ได้ เมื่อผมทบทวนดีๆ คุณภาพชีวิตที่ผมต้องการ ได้มาจากการเป็นอาจารย์นี้เอง

.


อ่านบทสัมภาษณ์ฉบับเต็มได้ที่ www.happinessisthailand.com/2022/12/22/educator-university-teach-happiness/

การศึกษาเรียนรู้

8 ช่องทางความสุข

ความสุขประเทศไทย
PDPA Icon

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save