พัฒนาจิตสุขภาวะทางปัญญาระบายสีศิลปจัดการอารมณ์ฮีลใจ
8 ช่องทางความสุข

ระบายสีอารมณ์

เราทำ เพื่อจะเห็น เพื่อจะทำความรู้จักอารมณ์และความรู้สึกของเรา เหมือนการทำความรู้จักเพื่อนๆ ที่ผ่านเข้ามาในชีวิตของเราในวันนี้ ไม่จำเป็นต้องตีความ ไม่ต้องการคำวิจารณ์ ไม่มีถูกหรือผิด สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ กิจกรรมนี้เป็นเรื่องส่วนตัว

.


สีของความรู้สึก
ในแต่ละวัน เรามีความรู้สึกมากมาย บางครั้งรู้ บางครั้งไม่รู้ และหลายๆ ครั้งรู้แต่ไม่อาจจะอธิบาย คงจะดีถ้าก่อนสิ้นวันเราได้ลองทบทวนความรู้สึกของตัวเรากันสักหน่อย ได้เห็นว่ามันเกิดอะไรขึ้นบ้างในระหว่างวัน ใจของเราเป็นอย่างไร

.

พัฒนาจิตสุขภาวะทางปัญญาระบายสีศิลปจัดการอารมณ์ฮีลใจ


อุปกรณ์

  • สมุดที่ไม่มีเส้น หรือกระดาษ A4 สีขาว ก็ได้
  • สีที่คุณชอบ ขอให้เลือกสีชนิดที่พอจะผสมกันได้ เช่น สีไม้ สีน้ำ สีฝุ่น ไม่แนะนำสีเมจิก
  • ถ้าคุณเลือกใช้สีน้ำ หรือ สีฝุ่น ขอให้มี 5 สีหลักคือ ขาว ดำ เหลือง แดง น้ำเงิน
  • ในกรณีที่ใช้สีน้ำ แนะนำพู่กันเบอร์ 2 หรือ เบอร์ 4
  • ถ้าคุณเลือกใช้สีไม้ ขอให้มีความหลากหลายของสีมากพอ เช่น 12 สี 24 สี หรือ 30 สี

5 ขั้นตอน การบันทึกความรู้สึกด้วยสี

  1. ผ่อนคลาย ขอให้นั่งนิ่งๆ สักครู่ ลองทบทวนว่าวันนี้เกิดอะไรขึ้นบ้าง ตั้งแต่ตื่นจนถึงขณะนี้ ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ที่น่าสนใจหรือเรื่องที่เข้ามากระทบใจ
  2. เลือกสี เลือกหยิบสีที่ตรงกับความรู้สึกของวันนี้ อาจจะมีมากกว่า 1 สีก็ได้
  3. ระบายสี ในกรณีที่คุณเลือกมากกว่า 1 สี ขอให้ระบายทีละสี ขอให้จดจ่ออยู่กับมือและสีที่ปรากฏ และความรู้สึกของเรา — เราไม่ได้ต้องการทำสิ่งนี้เพื่ออวดใคร ไม่จำเป็นว่าต้องสวย ถูกต้อง หรือ perfect เราเพียงแค่ต้องการเห็นอารมณ์ความรู้สึกของเราได้ปรากฎออกมาเป็นสีเท่านั้นเอง — อยู่กับสีและการระบายสีจนรู้สึกว่าพอ
  4. พัก-ทบทวน เก็บอุปกรณ์ กลับมาพัก ขอให้อยู่กับตัวเองสักพัก สังเกตว่าตัวเราเป็นอย่างไร ณ ขณะนี้
  5. ทำต่อเนื่องสัก 7 วัน แล้วนำภาพทั้งหมดมาเรียงกัน ลองมองภาพรวม แล้วอาจจะบันทึกสั้นๆ ถ้าคุณชอบ

.

พัฒนาจิตสุขภาวะทางปัญญาระบายสีศิลปจัดการอารมณ์ฮีลใจ

.

ข้อสังเกต

  • เมื่อเลือกสี คุณไม่จำเป็นต้องอิงทฤษฎีใดๆ ทั้งสิ้น ขอให้เชื่อตัวเอง เชื่อความรู้สึก ณ ขณะนั้นว่า คุณกำลังต้องการแทนความรู้สึกนั้น ด้วยสีนั้น ไม่จำเป็นว่าคนอื่นๆ จะเข้าใจว่าอย่างไร หรือคิดอะไร เพราะกิจกรรมนี้เป็นเรื่องส่วนตัว เราทำเพื่อตัวของเราเอง
  • ถ้าคุณทำแล้วมีความรู้สึกกลัวแทรกขึ้นมาอยู่เรื่อยๆ เช่น เมื่อเริ่มลงสีบางสี แล้วทันทีที่คุณเห็นสีนั้นความกลัว หรือความไม่ชอบสีนั้นก็พลุ่งขึ้นมาทันที (บางคนกลัวสีดำ บางคนกลัวสีแดง บางคนกลัวสีเหลือง หรือบางคนกลัวสีม่วง สีบานเย็น ฯลฯ) ขอให้หยุดสักครู่ หายใจลึกๆ กลับมาที่ความรู้สึกของคุณ
  • สมมุติว่า คุณเลือกสีแดง เพื่อแทนความโกรธที่คุณมีในวันนี้ ขอให้จดจ่อไปที่อารมณ์โกรธนั้นและมองไปยังสีที่ปรากฎว่ามันใช่หรือไม่ ถ้าใช่ขอให้ระบายต่อไป ถ้าไม่ใช่ มันไม่ได้รุนแรงขนาดนั้น คุณสามารถผสมสีขาว หรือปรับสีเพื่อลดทอนความเข้มข้นได้ — ขอให้คุณจดจ่อกับอารมณ์ ความรู้สึก และสี เท่านั้น การระบายสีนี้ไม่ใช่การความดี-ความชั่ว ไม่ได้เป็นไปเพื่อประกาศให้โลกรู้ แต่เป็นไปเพื่อให้ตัวของเราได้เห็นความรู้สึกที่ยังคงตกค้างอยู่ในตัวของเรา และระบายมันออกมา เพื่อที่เราจะได้เห็น
    •กิจกรรมนี้ ทำเพื่อตัวของเรา เพื่อการรู้จักอารมณ์และความรู้สึกของเรา เป็นเหมือนการเห็นเพื่อนๆ ที่ผ่านเข้ามาในชีวิตของเราในวันนี้
    •เมื่อเห็นภาพของเราแล้ว อาจจะเขียนบันทึกสั้นๆ ก็ได้ (ถ้าชอบ) แล้วปิดสมุด ไปทำอย่างอื่น ไม่ต้องแก้ไขให้มันดีขึ้น สวยขึ้น — ทำต่อเนื่องสัก 7 วัน แล้วจึงนำขึ้นมาดูอีกครั้ง

.

พัฒนาจิตสุขภาวะทางปัญญาระบายสีศิลปจัดการอารมณ์ฮีลใจ

.

ขอให้มีความสุขที่ได้ระบายสี และทำความรู้จักความรู้สึกของเรา
ปล. ถ้าคุณสนุกอาจจะลองระบายสีเป็นช่วงๆ ณ ขณะนั้น ระหว่างวันก็ได้เหมือนกัน


………………………………………………………..


ขอบคุณหนังสือ DIY Your Heart

ศิลปะ

8 ช่องทางความสุข

ความสุขประเทศไทย
PDPA Icon

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save