“ประคองใจ” ทักษะตั้งรับความสูญเสียของบุคลากรสุขภาพ
บุคลากรสุขภาพจะช่วยเตรียมใจผู้ป่วยและครอบครัวให้รับมือกับความสูญเสียได้อย่างไร
.
แม้จะยังไม่เกิดอะไรขึ้น แต่ผู้ป่วยและครอบครัวอาจมีความวิตกกังวล คิดไว้ล่วงหน้าว่าเขาอาจเป็นคนหนึ่งที่ต้องสูญเสีย จึงเป็นหน้าที่ของบุคลากรทางการแพทย์ในการสร้างความเชื่อมั่นหรือช่วยเตรียมใจแก้ผู้ป่วยและครอบครัวด้วยวิธีดังต่อไปนี้
.
1. หมั่นสื่อสารถึงความสภาวะของการทำงานของการดูแลผู้ป่วยในหน่วยงาน เช่น “เราดูแลผู้ป่วยส่วนใหญ่ได้ดี ขอให้มั่นใจ”
“ขณะนี้โรงพยาบาลมีผู้ป่วยจำนวนมาก แต่เจ้าหน้าที่น้อยลงเพราะต้องกักตัว แต่เราจะดูแลคุณอย่างเต็มที่”
“ขณะนี้คุณติดเชื้ออาการหนัก น่าเป็นห่วง แต่หมอจะพยายามอย่างเต็มที่”
“อาการของคุณไม่ดีขึ้นและไม่ตอบสนองการรักษามะระยะหนึ่งแล้ว ซึ่งเป็นเรื่องน่าเป็นห่วง หมออยากให้คุณคิดว่าอยากพบใครหรืออยากทำอะไรในช่วงเวลาที่เหลืออยู่ หมอจะช่วยอย่างเต็มที่”
ข้อความเหล่านี้จะช่วยสร้างความเชื่อมั่น หรืออาจส่งสัญญาณให้ผู้ป่วยทำใจยอมรับไว้ล่วงหน้า
.
2. ก่อนจะสื่อสารข่าวร้ายกับผู้ป่วยหรือครอบครัว บุคลากรทางการแพทย์ควรมากำหนดลมหายใจของตนเอง (Grounding) ทำความรู้สึกมั่นคงผ่านทางร่างกาย และการหายใจที่สม่ำเสมอ
.
3. การเตรียมผู้ป่วยและครอบครัวให้พร้อมรับมือกับความสูญเสีย มีหัวใจหลัก 3 อย่างคือ
– การสื่อสารความเป็นไปของสภาพร่างกายของผู้ป่วย
– สนับสนุนให้ผู้ป่วยจากไปอย่างมีศักดิ์ศรี
– ตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยให้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ สนับสนุนให้ครอบครัวได้ดูแลแม้เป็นเรื่องเล็กน้อย และได้ใช้เวลาร่วมกันในเวลาที่เหลือ
.
4. เสนอทางเลือกการดูแลแก่ผู้ป่วย ให้ผู้ป่วยได้เป็นผู้เลือก แม้เป็นสิ่งเล็กน้อย เช่น การเลือกเมนูอาหาร การให้ผู้ป่วยเลือกอุณหภูมิห้อง เลือกเพลงฟัง การเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้สื่อสารกับครอบครัว
.
5. สนับสนุนให้ครอบครัวได้ดูแลผู้ป่วย เช่น หากเป็นไปได้อาจเปิดโอกาสให้สมาชิกคนสำคัญในครอบครัวได้มาเยี่ยมเพื่อได้บอกลาสั่งเสีย การหาโอกาสให้ครอบครัวได้ทำ Video Call สื่อสารผู้ป่วย (แม้ผู้ป่วยจะไม่ตอบสนอง) สนับสนุนให้ผู้ป่วยบอกรัก พูดสิ่งดีงามของผู้ป่วย สวดมนต์ ภาวนา อุทิศบุญกุศลให้ผู้ป่วย เป็นต้น
.
ครอบครัวที่ได้ดูแลทำสิ่งที่ดีที่สุดให้ผู้ป่วย จะรู้สึกว่าตนได้ดูแลสมาชิกให้ดีที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ และบรรเทาความรู้สึกสูญเสียในอนาคต
.
#ดูแลใจผู้สูญเสีย #สูญเสียไม่เสียศูนย์