อาสาคลายเศร้า ดูแลจิตใจผู้สูญเสีย
งานอาสาเป็นงานที่ละเอียดอ่อน จึงมีหลักการหรือความเชื่อสำคัญที่เป็น “หลักยึด” หรือ “ตัวช่วย” สำหรับผู้เป็นจิตอาสาดูแลจิตใจผู้สูญเสียจากเหตุการณ์โควิด-19
.
1. ศรัทธาว่าทุกคนสามารถก้าวผ่านความโศกเศร้าได้
ความศรัทธานี้จะทำให้เราในฐานะจิตอาสามีความมั่นคงภายใน ซึ่งจะถูกส่งต่อให้ผู้ฟังเกิดความวางใจในตัวเรา และเชื่อมั่นในศักยภาพของตัวเอง
.
2. เปิดพื้นที่ให้ผู้สูญเสียได้พูด
เรามาเพื่อรับฟัง ไม่ใช่ “ปล่อยของ” ที่เรามี การฟังที่ดีมีชัยไปกว่าครึ่ง ผู้สูญเสียจะวางใจ กล้าระบายความรู้สึกออกมา ใคร่ครวญตัวเองจนค้นพบทางออกหรือประตูสู่ชีวิตบทใหม่ได้ในที่สุด
.
3. เคารพอีกฝ่าย
คนที่เป็นอาสามามักมาพร้อมความรู้ที่เรียนมา ซึ่งบางคนเคยใช้ได้ผลมาแล้ว หรืออยากลองวิชา จึงสำคัญที่ต้องรู้เท่าทันความคิดของตัวเอง ไม่นำความคิดความเชื่อของตัวเองไปชี้นำหรือครอบงำผู้สูญเสีย
.
4. ไม่ด่วนสรุป
เรามักตกหลุมพรางการให้ความช่วยเหลือ ด้วยการเร่งรัด ด่วนสรุปเรื่องต่างๆ ไปตามความตั้งใจที่วางแผนและเตรียมมาซึ่งอาจไม่ตรงกับที่ผู้สูญเสียเผชิญ
.
5. รดน้ำจิตใจที่เศร้าโศกด้วยความเข้าใจ
การพูดคุยและทบทวนความรู้สึกจะทำให้ผู้ฟังรู้สึกว่ามีคนเข้าใจโลกภายในของตนเอง ซึ่งเป็นการเยียวยาด่านแรกที่ดีที่สุด
.
6. ระวังกับดักของผู้ให้
ในฐานะจิตอาสาเราต้องยอมรับว่าเขาต้องการให้เราช่วยเหลือเท่าไหน ไม่ควรขยั้นขยอจนอีกฝ่ายจนรู้สึกอึดอัด ตระหนักว่าเส้นทางการดูแลความโศกเศร้านั้นเป็นเส้นทางที่ยาวไกล
.
7. อยู่กับปัจจุบันขณะ
อยู่กับสิ่งที่เขา “เป็น” มิใช่ “เคยเป็น” ขั้นตอนความโศกเศร้าเสียใจมักมีขึ้นมีลง บางวันรู้สึกดีขึ้น บางวันกลับไปเศร้าเหมือนเดิม จึงไม่อาจยึดกับเรื่องคราวก่อนที่ผู้สูญเสียเคยพูดไว้ เช่น “ฉันทำใจได้แล้ว” “ฉันจะกลับมาใช้ชีวิตปกติเสียที”
.
8. ไม่ไหว ให้ออกมา
งานเป็นเพื่อนรับฟังเป็นงานหนัก หากรู้สึกว่ามีสิ่งกระทบใจ สั่นคลอน ไม่มั่นคง ให้ถอยออกมาตั้งหลัก หรือขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญหรือเพื่อนร่วมงาน
.
#ดูแลใจผู้เสีย #สูญเสียไม่เสียศูนย์