เข้าใจและยอมรับธรรมชาติของความสูญเสีย
โกรธ ตกใจ กังวล โทษตัวเอง กินไม่ได้นอนไม่หลับ หลังการสูญเสีย ไม่ใช่เรื่องผิดปกติ เข้าใจธรรมชาติของความโศกเศร้าจะทำให้คุณรับมือกับอารมณ์อันหลากหลายนี้ได้ดีขึ้น
รวมถึงคนรอบข้างเองก็จะเป็นเพื่อนผู้ช่วยเหลือและให้กำลังใจผู้สูญเสียด้วยความเข้าใจ ไม่ตื่นตระหนก เมื่อพบเจออารมณ์ต่างๆ ต่อไปนี้
.
เหล่านี้คือสิ่งที่อาจเกิดขึ้นกับใจของผู้สูญเสีย เป็นสัญญาณเตือนว่าเรามีความโศกเศร้าหรือเสียศูนย์อยู่ เมื่อรู้เท่าทันอารมณ์ความคิด เราจึงจะสามารถร้องขอความช่วยเหลือเมื่อรู้สึกว่ารับมือกับความรู้สึกอันท่วมท้นไม่ไหว เพื่อจะได้กลับมาดูแลใจตนเอง หรือคนรอบข้าง และมีแรงสำหรับวันต่อไป
.
1.โกรธ การสูญเสียมักทำให้ยอมรับความจริงได้ยากและมีความโกรธแค้นรุนแรง จะกล่าวโทษและถามหาผู้รับผิดชอบ

.
2.ช็อก/ตกใจ การจากลาแบบกะทันหันที่ไม่ได้เตรียมตัวเป็นเรื่องที่ยากจะทำใจยอมรับ จึงมักเกิดอาการเช่น ร้องไห้ไม่หยุด กรีดร้อง หรือนิ่งงัน ไม่พูดจา บางคนเป็นลมหมดสติ หรือเจ็บป่วยไปเลย

.
3.บางครั้งความเจ็บปวดจากการสูญเสียต้องการระบายออก ผู้สูญเสียอาจหาทางระบายความเจ็บปวดนั้นด้วยการกล่าวโทษใครสักคน รวมทั้งการกล่าวโทษตนเอง และรู้สึกผิด

.
4.วิตกกังวล มักมีคำถามในใจและผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ว่า “เขาทรมานไหม” “เขากลัวมากไหม” สำหรับบางคน คำถามเหล่านี้จะอยู่ในใจแม้จะผ่านไปนับสิบปีแล้ว

.
5.พฤติกรรมเปลี่ยน เช่น ไม่มีสติ มึนงง มีปัญหาด้านการนอน ทั้งนอนมากเกินไป นอนไม่หลับ ไม่อยากอาหาร หรือกินไม่หยุด สภาพอารมณ์ไม่คงที่

.
#ดูแลใจผู้สูญเสีย #สูญเสียไม่เสียศูนย์