Relate, เมนูภูมิคุ้มใจ 14 วันฉันทำได้

ปลูกดอกไม้ที่ชายขอบ

ลองหยิบยื่นความช่วยเหลือของเราให้กับคนที่ต้องการความช่วยเหลือพิเศษ เช่น กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มคนที่ตกงาน กลุ่มคนที่ขาดรายได้ รวมถึงสัตว์น้อยใหญ่ที่เป็นเหมือนเพื่อนต่างสายพันธุ์ที่ต้องเจอความลำบาก เราจะได้เห็นว่า ความช่วยเหลือแค่เพียงเล็กน้อย แต่อาจสร้างความแตกต่างในความรู้สึกได้มากมายนัก

ช่วงเวลา : ทำได้ตลอดเวลา

วิธีการ

  1. เริ่มจากการฝึกมองความเชื่อมโยงของตัวเรากับผู้คนรอบตัวที่อยู่ในสถานะแตกต่างจากเราออกไป ลองใคร่ครวญดูว่า วันนี้คุณภาพชีวิตที่เราเป็นอยู่เชื่อมโยงกับการดำเนินชีวิตของคนอื่นอย่างไร
  2. จากนั้นลองมองไปรอบๆ ตัวของเรา ว่ามีคนกลุ่่มไหนที่เขาต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษหรือไม่? อาจจะเป็นคนที่เรารู้จักที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคไม่ว่าทั้งทางร่างกาย จิตใจ เศรษฐกิจ ฯลฯ
  3. ลองติดต่อคนที่ได้รับความเดือดร้อน อาจจะเป็นการพูดคุย รับฟัง หรือมองหาวิธีในการช่วยเหลือในลักษณะต่างๆ ทั้งเรื่องทักษะ ความรู้ (ไม่จำเป็นต้องเป็นแค่การช่วยเหลือเรื่องเงินทองเท่านั้น)
  4. ติดต่อองค์กรต่างๆ ที่มีภารกิจให้ความช่วยเหลือผู้คนที่เดือดร้อนจากโรคระบาด ลองดูว่าเราสามารถช่วยเหลือและมีส่วนร่วมอย่างไรได้บ้าง
  5. อาจลองชักชวนเพื่อนฝูง ครอบครัว คนรู้จัก รวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อน หาวิธีให้ความช่วยเหลือคนที่เดือดร้อนร่วมกัน

กิจกรรมนี้อยู่ในหมวด Relate สานใจในความสัมพันธ์ : การดูแลความสัมพันธ์ของเรากับครอบครัวและคนรอบข้างอย่างมีคุณภาพ

ให้ช่วงเวลาของการอยู่บ้าน ได้สร้างโอกาสใหม่ ให้คุณค่าและเพิ่มความหมายในการดูแลชีวิตจิตใจของตัวเองและคนรอบข้าง ด้วยชุดความรู้ ‘เมนูภูมิคุ้มใจ 14 วันฉันทำได้’ ที่ happinessisthailand.com และ FB ความสุขประเทศไทย facebook.com/happinessisthailand

Submit your review
1
2
3
4
5
Submit
     
Cancel

Create your own review

ความสุขประเทศไทย
Average rating:  
 0 reviews
ความสุขประเทศไทย
PDPA Icon

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save