การฝึกเจริญสติในช่วงวิกฤติโรคระบาด
ในช่วงวิกฤติโควิด-19 นี้เราสามารถใช้เป็นโอกาสฝึกเจริญสติได้เช่นกัน ทีมงานความสุขประเทศไทยขอแบ่งปันวิธีฝึกสติ 7 ข้อ โดยพระอาจารย์ชยสาโร ดังต่อไปนี้
.
1. ฝึกให้รู้เท่าทันความวิตกกังวลในลักษณะที่เป็นปรากฏการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจ โดยที่ไม่ต่อต้านหรือหมกมุ่นอยู่กับมัน มองให้เห็นความคิดวิตกกังวลเป็นเพียงเป็นแค่นั้นแหละ แค่ความคิด เปรียบเสมือนก้อนเมฆที่ลอยผ่านท้องฟ้าคือจิตใจ ฝึกให้ตระหนักรู้ความรู้สึกต่างๆ ในร่างกาย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความวิตกกังวล ก็แค่นั้นแหละ แค่ความรู้สึก เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ อย่าหลงไปเป็นเจ้าของมัน ให้หายใจเข้าลึกๆ จินตนาการว่าความวิตกกังวลค่อยๆ ออกจากร่างกายไปพร้อมกับลมหายใจออก และนึกเหมือนความรู้สึกสงบแจ่มใสค่อยๆ เข้ามาสู่ร่างกายและจิตใจพร้อมกับลมหายใจเข้า
.
2. เจริญสติภาวนาจากความอยากเอามือจับใบหน้าและอดกลั้นกับความรู้สึกนั้น (การสร้างความจำว่าเมื่อความรู้สึกอยากนั้นผ่านพ้นไปเป็นอย่างไรจะช่วยยับยั้งความรู้สึกอยากในครั้งต่อไป) มีสติต่อการล้างมือเป็นเวลา 20 วินาที อาจกำหนดบริกรรมในใจว่า 1 พุทโธ 2 พุทโธ 3 พุทโธ ไปจนถึง 10 พุทโธ แล้วจึงนับถอยหลัง 10 พุทโธ 9 พุทโธ ไปจนถึง 0 และมีสติในการรักษาระยะห่างระหว่างตัวเราเองและผู้อื่น
.
3. เจริญสติภาวนาโดยการสวดมนต์และทำสมาธิเพื่อเป็นสรณะภายใน การสวดภาษาบาลีด้วยความตั้งใจทำให้จิตใจสงบ การสวดฉบับแปลนำพาจิตใจให้พิจารณาธรรมะที่ก่อให้เกิดกำลังใจและปัญญา การทำสมาธิช่วยสร้างที่พักพิงภายในให้จิตใจสงบท่ามกลางความสับสนวุ่นวายที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน
.
4. ให้ตระหนักรู้ถึงความกลัวของเด็กๆ อธิบายให้เด็กๆ ฟังเท่าที่จะทำได้ว่าไวรัสคืออะไร สนับสนุนให้เด็กๆ ถามข้อสงสัย ทำให้เด็กๆ ทราบว่าความความปลอดภัยของพวกเขาคือสิ่งสำคัญที่เราคำนึงถึงมากที่สุด ระมัดระวังวาจาในเวลาที่พูดเรื่องไวรัสต่อหน้าเด็กๆ
.
5. มีสติในการใช้สื่อสังคมออนไลน์ จำกัดการบริโภคข่าวสาร การติดตามข่าววันละครั้งหรือสองครั้งถือว่าเพียงพอแล้ว หลีกเลี่ยงสื่อสังคมออนไลน์ที่ไม่น่าเชื่อถือที่ก่อให้เกิดความหวาดกลัว หรือสื่อที่อ้างถึงปาฏิหาริย์ในการรักษาโรคต่างๆ (การฝึกนี้จะง่ายขึ้นหากเราเฝ้าสังเกตว่าจิตใจของเราได้รับผลกระทบอย่างไรจากสิ่งที่เราดูบนหน้าจอ) และถ้าหากมีลูก ก็ควรควบคุมการใช้สื่อของลูกๆ ด้วยเช่นกัน
.
6. ตระหนักถึงความทุกข์ของผู้อื่น อย่าประมาท อย่าเห็นแก่ตัวในการใช้สอยทรัพยากรอันมีค่า ร่วมกันกับกัลยาณมิตรเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้สูงวัยที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง หรือเด็กๆ ที่ขาดการดูแล
.
7. ตระหนักถึงโอกาสนี้ในการใช้เวลาอย่างมีคุณภาพกับครอบครัว
.
ติดตามเนื้อหา คำแนะนำ ข่าวสาร เพื่อสร้าง #ภูมิคุ้มใจ ในสถานการณ์โควิด-19 ได้ที่เว็บไซต์ความสุขประเทศไทย HappinessisThailand.com
.
ที่มา: Facebook Page ธรรมะ โดย พระอาจารย์ชยสาโร แปลถอดความจากธรรมะคำสอนของพระอาจารย์ชยสาโร โดย ศิษย์ทีมสื่อดิจิตอลฯ