8 ช่องทางความสุข

เรียนรู้นิทานธรรมผ่านศิลปะบนตาลปัตร

เมื่อพูดถึงธรรมะ คนส่วนใหญ่มักรู้สึกว่าเป็นเรื่องน่าเบื่อ ยิ่งการสอนธรรมะให้เด็กด้วยแล้ว โอกาสที่เด็กจะง่วงหงาวหาวนอนจึงมีมากกว่าจะเข้าใจแก่นธรรมะ ทว่า หากธรรมะถูกนำมาบอกเล่าผ่านนิทานสนุกๆ พร้อมภาพวาดสวยงาม การฟังธรรมะก็คงไม่น่าเบื่ออีกต่อไป

เมื่อ 20 ปี ก่อน พระอาจารย์ประสงค์ ปริปุณฺโณ ช่วยครูบาอาจารย์ที่วัดจัดโกดัง พบตาลปัตรเก่ามากมายที่ต้องนำออกมาเผาทิ้ง ก็คิดหาทางว่าจะนำมาใช้ทำประโยชน์อะไรได้บ้าง “ตอนหลังมีโอกาสไปสวนโมกข์ เห็นอาจารย์พุทธทาส ท่านเอาตาลปัตรมาเขียนว่าการทำงานคือการปฏิบัติธรรม เขียนหลายอย่าง เราพอจะวาดภาพเป็นบ้าง ชอบศิลปะ มีการเอาภาพมาวาดบนตาลปัตร ภาพวาด 8 ภาพมีคนชื่นชม หลังจากนั้นมีเพิ่มขึ้นอีกหลายร้อยภาพในตอนนี้”

ภาพที่วาดจะสื่อความหมายในทางธรรมะ “แต่ละภาพมีความหมาย   เช่น “ภาพเต่าหินตาบอดแบกคัมภีร์ เป็นภาพที่มีที่จีน คนดูถูกเต่าหน้าโง่ ตัวเป็นหิน ตาก็บอดมาแบกคัมภีร์จะได้ประโยชน์อะไร เต่าบอกว่า คนหน้าโง่ บนหลังข้าไม่ใช่คัมภีร์มันเพียงแค่กระดาษเปื้อนหมึกเท่านั้น ความประทับใจที่ว่า ปัจจุบันที่เราบ้าคัมภีร์จนทะเลาะกัน จริง ๆ เป็นเรื่องของกระดาษเปื้อนหมึก ตัวคำภีร์คือความเป็นหินหมายถึงความหนักแน่น  ตัวความบอด คือ อยู่ด้วยกันจะให้มีความสุขต้องรู้จักบอดให้เป็น”

 พระอาจารย์พบว่ามีผู้สนใจมากมาย จึงตั้งกลุ่มวาดภาพบนตาลปัตรขึ้นมา “ตอนแรกวาดเอง ตอนหลังมีการชวนทีมมาวาด กลุ่มศิลปิน คุณโกศล ทองด้วง มาช่วยวาด มีการเดินทางไปวาดที่บ้านศิลปินหลายๆ ท่าน”

“เราหาเรื่องในพระไตรปิฎก  หรือเรื่องอะไรที่เรารู้สึก ประทับใจ มาเตรียมไว้และส่งกระจายให้ทีมงาน ให้เขาสเก็ตใส่กระดาษให้เราดูก่อน แล้วให้แก้ไข มีการรับสมัครคนวาดภาพเป็น 30 คน ถึงวันงานจริงมีคนมาวาด 60 คน ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ มีเด็กและสามเณรมาวาด เราให้เด็กวาดให้เขาจินตนาการ แต่หลายครั้งมันอธิบายธรรมะไม่ได้

หลังๆ เลยต้องพยายามเล่าบางเรื่องเพื่อให้งานสามารถเอามาใช้ในการบรรยายได้ เวลาสอนเด็กวาด ต้องมีทีมที่คอยช่วยด้วย ให้ช่วยดูแลเด็ก”

การวาดภาพเชิงธรรมะ เป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์มากสำหรับเด็ก อย่างที่พระอาจารย์บอกว่า“ถือเป็นการกล่อมเกลาจิตใจเด็ก เราลงทุนไปเยอะ เวลาเด็กมาขอวาด เราก็ให้ เพราะเขามีความสุขในการวาด เรายอมเสียของ คิดว่าถ้าเด็กวาดออกมาไม่ดี เราจะทับสีแล้ววาดใหม่ แต่พอเห็นความตั้งใจ เราทับไม่ลง ก็เก็บไว้จนถึงตอนนี้ เรื่องที่เด็กวาด เป็นเรื่อง กาแฟใส่เกลือ เด็กที่วาดอายุไม่ถึง 10 ขวบ”

“ตอนนี้เด็กรุ่นใหม่น่ากลัว เขาไม่ค่อยมีความอดทน และขาดความรัก พ่อแม่ลำบากมา เพราะอยากให้ลูกสบาย ให้เรียนอย่างเดียว” การวาดรูปบนตาลปัตรจึงถือเป็นการฝึกนิสัยและสอนเด็กได้อย่างดี

นอกจากนี้ ยังมีผู้สนใจนำไปจัดแสดงอีกด้วย เมื่ออาตมาทำขึ้นมา ไปจัดงานวัดลอยฟ้าสองรอบ และทางสนามหลวง ที่ต่างๆ ติดต่อมา และมีคนมาขอยืมตาลปัตรมากมาย ทั้งพระและครูตามโรงเรียน บางคนมาขอ บางคนยืมแล้วไม่คืน บางคนยืมแล้วเสียหาย แรกๆอาตมาแจก ตอนหลังเขาวาดสวยเสียดาย บอกว่าถ้าเขาเอาไปมันอยู่โรงเรียนนั้นโรงเรียนเดียว แต่ถ้าอยู่กับเรา เราเอาไปเผยแพร่ในที่ต่างๆ ได้มีการจะจัดทำเป็นแกลเลอรี่”

ที่เก็บไว้ เพราะภาพวาดบนตาลปัตรเหล่านี้ใช้เป็นสื่อการสอนธรรมะได้ “นำไปใช้ เวลาไปเสนอ ไปบรรยายกับเด็ก จะเลือกเรื่องว่าเรื่องไหนเหมาะสมกับเด็ก เวลาไปบรรยายเตรียมของไป ดูว่าเหมาะกับคนกลุ่มไหน กลุ่มไหนน่าจะเอาภาพอะไรไปบรรยาย”

เพราะภาพหนึ่งอธิบายได้มากกว่าคำพูด 1,000 คำ “บางครั้งเวลาพูดให้เขาฟัง มันไม่เหมือนที่เขาไปดูและคิดเอง ความรู้ จะมี สุตมยปัญญา จินตมยปัญญา ภาวนามยปัญญา  สุตะ คือ ปัญญาที่เกิดจากการฟัง  จินตะ คือ ปัญญาที่เกิดจากการคิด ภาวนา คือ ปัญญาที่เกิดจากาการรู้จริงเห็นจริง  ตามความเป็นจริงของสิ่งต่างๆ ฉะนั้นถ้าให้เขาไปคิดแบบนี้ เขาสนุกกับความคิดของเขา จะเห็นว่าภาพส่วนมากไม่ค่อยมีคำพูดเลย  เพราะเจตนาให้คนไปคิดเอง”

ตัวอย่างเช่น “ส่องกระจกแล้วเห็นตัวเองเป็นสิงโต  คือ การเชื่อมั่น แต่อย่าหลงตัวเอง เวลาอธิบายต้องเชื่อมั่นว่าตัวเองมีศักยภาพสามารถทำได้ดีกว่านี้ ฉะนั้นทุกวันตื่นขึ้นมา วันนี้ต้องดีกว่าเมื่อวาน หรือเวลาจะทำอะไรที่ดีกว่านี้มีอีกไหม ต้องก้าวไปข้างหน้า  การแก้ไขปัญหาสำคัญที่สุด ถ้าไม่เปลี่ยนชีวิตก็ไม่เปลี่ยนอะไรเลย เราสอนเด็ก เราด่าเด็กก็ไม่ใช่ แสดงว่าการสอนของเราอาจจะไม่ถูกวิธี”

เรื่องที่วาดบนตาลปัตรส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับเรื่องจริงที่ประทับใจ มีข้อคิด เล่าเรื่องราว เกิดโครงการ “นิทานธรรมะกลับตาลปัตร” สอนธรรมะผ่านนิทานบนตาลปัตรให้มีสีสันน่าสนใจ

“ทำอะไรการพูดให้เขาฟังก็เหมือนทำอาหารให้เขากิน คนเราหรือกินอาหารต้องการอิ่มและอร่อยด้วย ฉะนั้น การพูดให้คนฟัง หรือเขียนหนังสือให้เขาอ่านเหมือนทำอาหารให้เขากิน   แล้วพอได้ทำหรืออ่าน แล้วมันชวนติดตาม มันหยุดไม่ได้ ฉะนั้นหนังสือบางเล่มหยิบอ่านแล้ววางไม่ลง”

                  (ติดตามกิจกรรมกลุ่มพระอาจารย์ประสงค์เพิ่มเติมได้ที่ fb : Phraprasong)

ศิลปะ

8 ช่องทางความสุข

ความสุขประเทศไทย
PDPA Icon

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save