การทำงานอย่างมีความสุข : ก้าวย่างแห่งการพัฒนาจิต
ทั้งๆที่ “การทำงาน” คือความจำเป็นในการดำรงชีพ และเป็นวิถีชีวิตของผู้คนโดยทั่วไป แต่หลายต่อหลายคนมันได้กลายเป็นความฝืนใจ ความกดดันและความทุกข์ทรมาน กระทั่งเกิดคำถามขึ้นในใจอยู่เสมอว่า จะเป็นไปได้หรือไม่ ที่การทำงานกับ “ความสุข” จะก้าวเดินคู่กันไปอย่างสมดุลและยั่งยืน
ซึ่งคำถามนี้ได้นำมาสู่แนวทางหลากหลายที่น่าสนใจยิ่ง เพราะแม้มีเป้าหมายร่วมกันคือ การทำงานอย่างมีสุข ซึ่งกรมสุขภาพจิตได้ระบุว่า หากคนเราทำงานอย่างมีความสุข ผลพวงที่ตามมาก็ย่อมคือ “คุณภาพ” และ “ความสำเร็จ” ซึ่งความสุขในที่นี้ย่อมอยู่เหนือความสุขทางวัตถุนิยม เงินทอง หรือเกียรติยศใดๆ (กิน กาม เกียรติ)
(นอกจากทักษะการฝึกสติสมาธิ จะก่อให้เกิดผลดีในการทำงาน การประชุมแล้ว หากนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ย่อมยังผลให้ ครอบครัว ชุมชน สังคมและประเทศชาติ พบสุขภาวะที่แท้จริง)
How ?
ในเมื่อเป้าหมายของการทำงานก็คือความสำเร็จ อันเกิดจากการย่างก้าวอย่างมีความสุข “การพัฒนาจิตให้สู่สุขภาวะ” ก็ย่อมเป็นรากฐานที่สำคัญ ดังนั้นรูปแบบการทำงานแบบเดิมๆที่สร้างความซับซ้อนเคร่งเครียดจึงควรถูกละเลิก แล้วปรับมาสู่การสร้างสุขแก่ทุกคนในหน่วยงาน
ตัวอย่างแนวทางที่น่าสนใจ
- ผู้นำต้องมุ่งมั่นในแนวทางฝึกสติสมาธิ และประกาศเจตนารมณ์อย่าชัดแจ้ง ว่าจะนำความสำเร็จที่เคียงข้างไปกับความสุขมาสู่ทุกคนในหน่วยงานนั้นๆ
- สมาชิกทุกคน (หรือแทบทุกคน) มีความเข้าใจ ยอมรับและร่วมมือเป็นอย่างดี
- สมาชิกในหน่วยงานเรียนรู้ทำความเข้าใจกระทั่งเห็นคุณค่าของการฝึกสติสมาธิเพื่อพัฒนาจิต
- การฝึกสมาธิควรกระทำกระทั่งเป็นกิจวัตร เช่น 1 – 5 นาทีก่อนเริ่มงาน หลังเลิกงาน หรือทุกครั้งก่อนการประชุม เพื่อให้จิตใจปลอดโปร่ง ผ่อนคลาย สบายและสงบ
- เมื่อจิตใจสงบสบาย ก็จะเกิดความตระหนักถึงคุณค่าในตนเอง เกิดจิตเมตตา ให้อภัย เสียสละ
- ฝึกสติสมาธิระหว่างการทำงาน โดยรู้ลมหายใจเข้าออก ตั้งกายตรงดำรงสติมั่น มีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก หายใจเข้ายาวก็รู้ว่าหายใจเข้ายาว เมื่อหายใจเข้าสั้นก็รู้ว่าหายใจเข้าสั้น
- รำลึกรู้อย่างมีสติ (Right Mindfulness) ว่า คุณภาพของงานและของจิตใจนั้น เริ่มจากความรู้สึกสบายผ่อนคลาย และอยู่กับปัจจุบัน ไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถใดทั้งอ่าน ฟัง เขียน พูด นั่ง ยืน เดิน นอน (Awareness of action)
- การฝึกสติ สมาธิ จะนำไปสู่ทักษะแห่งการสื่อสารที่ดีมีประสิทธิภาพและ เกิดกัลยาณมิตรต่อกัน
- เกิดการรู้จักรับฟัง (Listening) การคิด (Reflection) และมีการแสดงวิสัยทัศน์ (Advocacy) อย่างสุขุมลุ่มลึก
Where ?
- สถาบันขวัญแผ่นดิน
- สวนเงินมีมา
- หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ
- มูลนิธิสังคมวิวัฒน์
- บริษัท ปลูกรัก เชนจ์ แมนเนจเม้นท์ จำกัด
- มูลนิธิสดศรี สฤษดิ์วงศ์
- โครงการพัฒนาจิตในองค์กร
- แก้วกัลยาสิกขาลัย
แหล่งข้อมูล
- โปรแกรมความสุขในองค์กร (Spirituality in Organization)
นายแพทย์ทรงคุณวุฒิยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานต์ หัวหน้ากลุ่มที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต - การพัฒนาจิตตปัญญาในองค์กร – Mindfulness In Organization – MIO