8 ช่องทางความสุข

การเคลื่อนไหวอย่างมีสติ : อยู่กับที่นี่เดี๋ยวนี้เพื่อชีวีเป็นสุข

ตลอดชีวิตที่ผ่านมา ชีวิต” หากไม่ดับสูญหรือไม่พิกลพิการ ก็ย่อมจะเคลื่อนไหวอยู่แทบจะตลอดเวลา แต่การเคลื่อนไหวของคนเรานั้น หลายต่อหลายครั้งมักเป็นไปอย่างขาดสติจึงก่อให้เกิดอุบัติเหตุอยู่เสมอ หรืออย่างน้อยก็นำความผิดพลาดเสียหายมาให้อย่างคาดไม่ถึง

ปุถุชนโดยทั่วไปจิตใจมักจะไม่ตั้งมั่นอยู่กับปัจจุบัน แต่ติดยึดอยู่กับสัญญา(ความทรงจำในอดีต) สังขาร(กังวลกับอนาคต) และเวทนา(ความรู้สึกสุข ทุกข์) กระทั่งเกิดหลงๆลืมๆจนไม่รู้ด้วยซ้ำว่าตนเองจะไปไหนหรือกำลังทำอะไรอยู่! เรียกได้ว่าอยู่ไปวันๆอย่างไร้สติสัมปัญชัญญะ

ดังที่องค์สัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ว่า คนเรามักจะตกอยู่ในอกุศลวิตกทั้ง 3 (กาม พยาบาท เบียดเบียน)แม้แต่ในขณะกำลังเคลื่อนไหวร่างกาย (เดิน ยืน นั่ง และนอน)

ซึ่งเป็นเครื่องกระทำให้มืดบอด ไม่เป็นเครื่องกระทำให้เกิดจักษุ ไม่เป็นเครื่องกระทำให้เกิดญาณ กระทำซึ่งความดับแห่งปัญญา เป็นฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น และไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน
– พุทธวจนะ

 

How …?

 

การฝึกสติด้วยการอยู่กับปัจจุบันจึงจะช่วยให้ละได้จากอกุศลดังกล่าว นอกจากนั้น “สติ” ยังนำมาซึ่งปัญญาและการมีสุขภาพที่ดี เหล่านี้ได้มาด้วยการฝึกฝนอิริยาบถต่างๆในชีวิตประจำวัน(นั่ง เดิน ยืน วิ่ง นอน ฯลฯ ) รวมทั้งการออกกำลังกายต่างๆก็สามารถนำเอาสติมาผสานกับกิจกรรมนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็น การวิ่ง การว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน กระโดดเชือก การรำไม้พลอง การแกว่งแขน โยคะ แอโรบิก

(ตัวอย่างการฝึกสติจากการเคลื่อนไหวที่น่าสนใจมากคือ ฝึกโยคะ หรือฝึกมวยจีน(tai chi) ซึ่ง ต้องเคลื่อนไหวทุกท่วงท่าไม่ว่าจะเป็นมือ เท้า แขน ขา และทุกส่วนของร่างกาย รวมทั้งจังหวะการหายใจต้องมีสติเป็นสิ่งควบคุม ยิ่งเป็นการฝึกแบบมีดนตรีประกอบด้วยแล้ว ยิ่งต้องมีสมาธิทั้งกับการเคลื่อนไหว ลมหายใจ และเสียงดนตรี กระทั่งไม่มีทางที่จิตใจจะ ฟุ้งซ่านได้เลย)

โดยก่อนจะเริ่มกิจกรรมใดๆ ให้มีการทำสมาธิดังนี้

  1. หลับตา 2 นาที หายใจเข้าออกลึก ๆ ให้รู้ว่าลมหายใจผ่านเข้าออก
  2. ลืมตา 1 นาที หายใจเข้าออกลึก ๆ ให้รู้ว่าลมหายใจผ่านเข้าออก
  3. เคลื่อนไหวร่างกาย ด้วยการย่อ ลุก 15 ครั้ง
  4. สังเกตการเต้นของหัวใจ และการหายใจ 1 นาที ลองเริ่มต้นฝึกวันละ 10-20 นาที

แม้แต่การกินอาหารก็ยังเป็นเวลาที่เหมาะอย่างยิ่งของการฝึกสติ ที่จะยังผลดีให้แก่สุขภาพกายและจิตใจ

เช่น ก่อนจะตกอาหารเข้าปาก ให้พินิจพิจารณาอาหารอย่างละเอียด สัมผัสอาหาร คิดถึงที่มาของอาหาร ตักอาหารเข้าปากคำเล็ก ๆ และใส่ใจในรสชาติ เคี้ยวช้า ๆ ก่อนกลืน เมื่ออิ่มก็หยุด วิธีนี้เป็นการฝึก ทำให้ไม่กินอย่างขาดสติ เมื่อฝึกสติบ่อย ๆ ก็จะทำให้รับรู้ถึงความตึงเครียดของร่างกายได้ง่ายและรวดเร็ว เช่นเดียวกับความเหนื่อย ความหิว นั่นเอง โดยสามารถฝึกได้เอง 10-20 นาที ทุกวันถือเป็นการเริ่มต้นที่ดี

รศ.ดร.วิลาสินี อดุลยานนท์ พิพิธกุล ผู้อำนวยการอาวุโส สำนักสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) อธิบายว่า

งานวิจัยทั้งในและต่างประเทศหลายชิ้นที่แสดงถึงผลต่อสมองและอารมณ์ในเชิงบวก จากการออกกำลังกายอย่างมีสติ เช่น เดิน วิ่ง ปั่นจักรยานอย่างมีสติทำให้มีความสุขเพิ่ม สสส.ได้นำโครงการการทำกิจกรรมทางกายอย่างมีสติ ใช้นำร่องในกลุ่มประชากรและพื้นที่ต่าง ๆ ได้แก่ ชมรมผู้สูงอายุ 72 แห่ง โรงเรียนในโครงการเด็กไทยแก้มใส 544 แห่ง โรงเรียนพื้นที่ขาดโอกาส 50 แห่ง โรงเรียนรักเดิน 20 แห่ง องค์กรไร้พุง 20 แห่ง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 338 แห่ง และจะขยายไปสู่พื้นที่ตำบลสุขภาวะอีก 2,500 แห่ง และองค์กรสุขภาวะทั้งภาครัฐและเอกชนที่มีอยู่กว่า 4,000 แห่ง

จากการทดลองเบื้องต้น ให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และผู้ป่วยที่มีอาการทางสายตา ได้ทดลองใช้โปรแกรมการฝึกสติร่วมกับการมีกิจกรรมทางกาย พบว่าหลังจากทำอย่างต่อเนื่อง 2-3 เดือน อาการทางกายค่อย ๆ ดีขึ้นเป็นลำดับ

 

Where …?

 

  • มูลนิธิหมู่บ้านพลัมประเทศไทย
    174,176 หมู่ 7 บ้านสระน้ำใส ต.โป่งตาลอง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา
    สอบถามข้อมูลหมู่บ้านพลัม กรุณาโทร : 085-128-8044
    เวลา 8:00-11:00 น. และ 14:00-17:00 น.
    ทุกวัน ยกเว้นวันพฤหัสบดี และวันอาทิตย์
    email : ติดต่อทั่วไป, สั่งซื้อหนังสือและสื่อธรรม info@thaiplumvillage.org
    email : visitus@thaiplumvillage.org
  • มูลนิธิบ้านอารีย์
    ตั้งอยู่ภายในโครงการ Banana Family Park
    ซอยอารีย์ 1 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไทกรุงเทพฯ ใกล้ BTS อารีย์
    โทรศัพท์ : 02-619-7474, 02-279-7838
    website : www.baanaree.net/live.php
    website : https://www.facebook.com/baanareefoundation/
  • วัดญาณเวศกวัน
    ๑๐ หมู่ที่ ๓ (หลังพุทธมณฑล) ถ.พุทธมณฑลสาย ๔ ต.บางกระทึก อ.สามพราน จ.นครปฐม ๗๓๒๑๐ โทรศัพท์ ๐๒-๔๘๒-๗๓๕๖, ๐๒-๔๘๒-๗๓๖๕ และ ๐๒-๔๘๒-๗๓๗๕
    website : http://www.watnyanaves.net/th/web_page/contact
  • สำนักธรรมะบริการ สถาบันวิมุตตยาลัย
    65/101-3 ถนนอรุณอัมรินทร์ แขวงอรุณอมรินทร์ เขตบางกอกน้อย กทม. 10700
    โทรศัพท์ : 02-422-9123
    โทรสาร : 02-422-9128
    website : http://www.dhammatoday.com

 


 

แหล่งข้อมูล

การเคลื่อนไหวร่างกาย

8 ช่องทางความสุข

ความสุขประเทศไทย
PDPA Icon

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save