กระบวนการละคร
“กระบวนการละคร” เป็นสิ่งสร้างเสริมสุขภาวะทีน่าสนใจอย่างยิ่ง ทั้งสุขภาวะทางปัญญาของเยาวชน
การเรียนรู้ของเยาวชนที่ส่งเสริมกระบวนการคิดวิเคราะห์ มีวิจารณญาณ และสามารถสื่อสารความคิดเพื่อการแกัปัญหาอย่างเสมอภาคเท่าเทียม เป็นทักษะที่จำเป็นอย่างยิ่งของโลกในศตวรรษที่ 21 ทั้งหมดทั้งปวงผมเชื่อว่ากระบวนการละครจะช่วยฝึกสิ่งเหล่านี้ได้ เพราะละครสนใจในความเป็นมนุษย์
– พฤหัส พหลกุลบุตร มูลนิธิสื่อชาวบ้าน (มะขามป้อม) หัวหน้าโครงการพัฒนาเครือข่ายละครสร้างปัญญาเพื่อเยาวชน (Theatre for Transformation Network) และสร้างสุขภาวะปัญญาของสังคม
กระบวนละครไม่ได้อยู่ที่ด้านการผลิต องค์ประกอบความสวยงาม แต่อยู่ที่การสร้างให้เยาวชนได้เห็นถึงปัญหาที่อยู่รอบตัวและนำประเด็นนั้นมาพูดคุย ถกแถลง เปิดประเด็น เรียบเรียงอย่างมีกลวิธีให้สังคมเห็นความสำคัญถึงเรื่องดังกล่าวนั้นได้ เขาเจอประเด็นแรง เขาก็อยากสะท้อนมุมมอง พร้อมๆกับชวนชุมชนเข้าร่วมด้วย และนั่นต้องมีกลวิธีเสนอ
– ผศ.อรรถพล อนันตวรสกุล อาจารย์คณะคุรุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ศิลปะการละคร จึงเป็นกระบวนการพัฒนาตนเองและชุมชน เพื่อสร้างแรงบันดาลใจอันจะนำไปสู่การขับเคลื่อนสังคม กระทั่งเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมีพลังและสร้างสรรค์
รู้รับผิดชอบ ตัดสินใจ ใช้เหตุผล มีจินตนาการ กล้าแสดงออก สิ่งเหลานี้ล้วนเรียนรู้และบ่มเพาะตนเองได้ในกระบวนการทำงานละครตั้งแต่เริ่มต้นจนปลายทาง
นอกจากการได้บ่มเพาะตนเองตั้งแต่เริ่มกระบวนการแล้ว ศิลปะการละครยังมีศักยภาพที่จะเรียกจิตสำนึกแห่งความเป็นพลเมืองแก่ผู้คน (ผู้แสดงและผู้ชม)ให้เกิดความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาตนเอง ท้องถิ่นของตน และสังคมให้เจริญก้าวหน้าและเป็นสุข
How… ?
การเรียนรู้น่าจะต้องเป็นการเรียนรู้ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในตัวบุคคล ผ่านประสบการณ์และวิธีการเรียนรู้ในรูปแบบต่างๆ ซึ่งเราสนใจใช้ศิลปะการละครเพื่อสร้างการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง สิ่งหนึ่งที่จะทำทุกครั้งเมื่อทำละครคือจะสร้างการมีส่วนร่วมเพื่อเชื่อมโยงนักแสดงให้เข้าใจในสิ่งที่จะเล่า โดยจะออกแบบกระบวนการเพื่อการเรียนรู้เรื่องนั้นๆ ด้วยเหตุนี้ การเข้าใจจึงไม่ใช่การเข้าใจเฉพาะตัวบทละครเท่านั้น แต่เป็นการหลอมรวมประสบการณ์ที่ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน แล้วนำมาพัฒนาเป็นบทละคร และในบางครั้งนักแสดงของเราก็สร้างการเรียนรู้บางอย่างให้กับเราด้วย
– อาจารย์อภิรักษ์ ชัยปัญหา
ในแต่ละปีเราจะมีการทำโครงงานหลักคือการทำละครโดยฝีมือของเด็กๆ โรงเรียนภัทราวดี หัวหิน ที่สนับสนุนโดยมูลนิธิละครธรรมะ ในพระสังฆราชูปถัมภ์ และเหล่าคณาจารย์ด้านศิลปศาสตร์ ภายใต้แนวคิด ‘Live and Learn through Arts and Culture’ โดยให้เด็กได้เรียนรู้การทำงานเป็นระยะเวลานานถึง ๕ เดือน และทดลองบริหารจัดการด้วยตนเองภายใต้คำแนะนำของทีมครู ตั้งแต่การศึกษาบทละครต้นฉบับ ศึกษาความงามทางภาษาศาสตร์ทั้งไทย-อังกฤษ การกำกับละคร การวางตัวนักแสดง การสร้างสรรค์บทเพื่อใช้แสดง การฝึกการใช้เสียงและบุคลิกภาพ การสร้างฉากและอุปกรณ์ประกอบฉาก การนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการสร้างสรรค์ละคร การสร้างสรรค์แบบเสื้อผ้า การผลิตสื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ การต้อนรับผู้เข้าชม…..
– ครูเล็ก ภัทราวดี มีชูธน
Where … ?
- กลุ่มละครเพื่อการเรียนรู้บางเพลย์
อ.ไพบูลย์ โสภณสุวภาพ คณะดนตรีและการแสดง มหาวิทยาลัยบูรพา
169 ถนนลงหาดบางแสน ตำบลแสนสุข อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี 20131 - โรงเรียน ภัทราวดีหัวหิน
62/63 ซอยหมู่บ้านหัวนา ถนนเพชรเกษม ตำบลหนองแก อำเภอหัวหิน จังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ 77110
โทรศัพท์ : 03-282-7814-5
โทรสาร : 03-282-7817
website : http://patravadischool.com
แหล่งข้อมูล
- โรงเรียนภัทราวดี หัวหิน (Patravadi School Hua Hin)
- Facebook – Patravadi School Huahin
- “โรงเรียนภัทราวดี หัวหิน มากกวาแค่โรงเรียน”
มติชนออนไลน์ วันที่ : 27 ต.ค. 59 - Facebook – กลุ่มละครเพื่อการเรียนรู้ บางเพลย์
- ละคร โดยกลุ่มละครเพื่อการเรียนรู้บางเพลย์ เรื่อง แค่นึกถึงกัน
- สรุปประเด็นการเสวนา “ขึ้นเขียง” ทวีวัฒน์ กำเนิดเพ็ชร และไพบูลย์ โสภณสุวภาพ กลุ่มละครเพื่อการเรียนรู้บางเพลย์
วันเสาร์ที่ 20 สิงหาคม 2554 เวลา 15.00 -17.00 น.
ณ ห้อง 501 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
(Web site – TRF Criticism Projet ได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) - นวัตกรรมละครชุมชน สะท้อนปัญญา สร้างสำนึกพลเมือง…