Sand Mandala : มณฑลทรายแห่งสัจจธรรม
งานศิลป์รูปทรงเรขาคณิต ที่ประกอบด้วยเม็ดทรายย้อมหลากสี สิ่งนี้คืองานพุทธศิลป์ที่เรียกขานกันว่า “พุทธมณฑลทราย” (Sand Mandala) อันเป็นศิลปวัฒนธรรมขั้นสูงของพระทิเบต นิกายมหายานคำว่า Manda หมายถึงที่นั่งหรือแก่นแท้ โดยใช่คู่กับคำว่า โพธิ อันหมายถึงใต้ต้นโพธิซึ่งพระพุทธเจ้าทรงบรรลุธรรม ส่วนคำว่า La มีความหมายว่า “วงล้อที่หลอมรวมสรรพสาระทั้งมวล” รวมความแล้ว Mandala จึงหมายถึง มณฑลแห่งการตรัสรู้ของพระพุทธองค์
Mandala มิใช่เพียงสร้างจากทรายเท่านั้น ยังนิยมทำจากผ้าหรือกระดาษด้วยเช่นกัน สิ่งสำคัญอยู่ที่จินตนาการ ความมุ่งมั่น และพากเพียร เพราะว่างานแต่ละชิ้นมักใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 2 อาทิตย์ ถึง 1 เดือน
การสร้างมันดาลา จะไม่มีการร่างโครงร่างใดๆ จิตจึงต้องนิ่ง เยือกเย็น พระบางรูปก็ใช้การแผ่เมตตาและสวดมนต์ในระหว่างการสร้างมันดาลา ถือได้ว่านี่คือการขัดเกลาจิตใจและฝึกฝนสมาธิ เพื่อนำไปสู่การฝึกจิตขั้นสูง (อนุตระ โยคะ ตันตระ )
What ?
มณทลทราย (Sand Mandala) คือสัญลักษณ์แห่งการตื่นรู้ ซึ่งมักจะได้รับการประดิษฐ์ประดอยยเป็นรูปทรงวิหาร 4 ประตู
ซึ่งหมายถึงทิศทั้ง 4 นั่นคือพรหมวิหาร 4 (เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา) และก่อนที่ผู้ปฏิบัติธรรมจะเดินเข้าประตูได้นั้น จะต้องผ่านด่านทดสอบคือกำแพง 4 ชั้น ซึ่งประกอบไปดัวย
- กำแพงไฟแห่งความรู้อันบริสุทธิ์
- กำแพงเพชรแสดงความแข็งแกร่งและกล้าหาญ
- กำแพงหลุมศพแห่งการมีสติรู้
- กำแพงดอกบัวแสดงถึงการยอมอุทิศตนต่อพุทธะ
คำสอนจากพุทธวจนะล้วนสะท้อนความหมายจากทรายสีต่างๆที่นำมาก่อ Mandala แม้แต่การสร้างพุทธมณฑลที่ประกอบไปด้วยรอบชั้นในและชั้นนอกก็เป็นการแสดงธรรมอธิบายว่า จิตที่พัฒนาจากชั้นหยาบไปสู่จิตที่ตื่นรู้ กระบวนการสร้างพุทธมณฑลทรายเชื่อว่า มีผลในการชำระล้างจิตใจและเป็นบุญเป็นกุศลที่สูงยิ่ง
กาสร้างมันดาลานั้นต่อให้สวยงามวิจิตรเพียงใด เมื่อจบพิธีก็จะต้องทำลายทิ้งทุกชิ้น (โดยการโกยทรายบรรจุเข้าโถ และนำไปทิ้งสู่แม่น้ำ) หรือแจกจ่ายให้บรรดาเหล่า พุทธศาสนิกาชนที่มาร่วมพิธีซึ่งนี่คือปริศนาธรรม เพื่อให้เกิดการตื่นรู้ว่า ทุกสิ่งล้วนเป็นอนิจจัง ล้วนสูญสลายไปตามกาลเวลาและเหตุปัจจัยต่างๆ มนุษย์จึงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น จะได้ไม่เกิดความทุกข์ความเศร้าหมอง
ท่านเกชิ จัมเบ ดอจี ได้อรรถาธิบายว่า ปริศนาธรรมที่แฝงอยู่ในมันดาล่าทราย คือ
ทุกสิ่งทุกอย่างไม่มีอะไรยั่งยืน สังขารไม่เที่ยง
เนื่องจาก ทุกครั้งในพิธีสร้างมันดาลา พระสงฆ์จะอัญเชิญพลังศักดิ์สิทธิ์ในโลกหล้ามาสถิตในมันดาลา ชนชาวทิเบตจึงเปี่ยมด้วยความศรัทธา และถือเป็นสิริมงคลที่ได้มาร่วมพิธี ได้มีส่วนปกป้องสิ่งที่สร้างโดยพระผู้มีปัญญาอันบริสุทธิ์
Where ?
สำนักงานวัดบวรนิเวศวิหาร อาคารมนุษยนาควิทยาทาน ๒๔๘ ถนนพระสุเมรุ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ๑๐๒๐๐ โทร. ๐-๒๖๒๙-๕๘๕๔ โทรสาร ๐-๒๖๒๙-๕๘๕๕
แหล่งข้อมูล
- อวด “พุทธมณฆลทราย และ ศิลปะจากเนยแข็ง” เปิด “เทศกาลอินเดีย”
หน้าแรกผู้จัดการ Online view 18 มีนาคม 2557 - ครั้งแรกที่ไทย! “ลามะ อินเดีย” ร่วมสร้างพุทธศิลปะ”วัชรยานบูชา” ถวายพระศพ”พระสังฆราช”
มติชน Online 18 มีนาคม พ.ศ. 2557 - ความหมายของพุทธมณฑลทราย Sand Mandala
21 มีนาคม 2014