Eco Village วิถีชุมชนแดนโคนม พัฒนาอย่างยั่งยืน
วันนี้จะพาไปรู้จักชุมชนน่าอยู่แห่งหนึ่งที่คุณจะไม่เห็นรถราวิ่งไปมาในชุมชน
มีสวนผักส่วนกลางที่คนในชุมชนมีส่วนร่วมในการปลูก ดูแล และเก็บไปปรุงอาหารที่บ้านได้
มีศูนย์บริหารจัดการขยะและร้านจำหน่ายสินค้ารีไซเคิล เป็นชุมชนที่มีระบบจัดการกับของเสีย
จากครัวเรือนที่มีประสิทธิภาพ และที่คิดว่าแปลกไม่เหมือนใครก็ตรง… เป็นชุมชนที่เขาไม่ซักผ้ากันในบ้าน
ชุมชนที่ว่านี้ชื่อว่า Okosamfundet Dyssekilde เป็นชุมชนเล็กๆ ที่มีประชากรราว 200 ชีวิต
อาศัยอยู่ทางตอนเหนือของ Sealand ระหว่างเมือง Frederiksværk กับเมือง Hundested
ที่ประเทศเดนมาร์ค ชุมชนแห่งนี้ได้ชื่อว่าเป็นชุมชนแบบ EcoVillage ที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ
ชุมชนแห่งนี้เริ่มต้นขึ้นในปี 1999 เมื่อกลุ่ม developer กลุ่มหนึ่ง ที่มีเพียงไม่กี่คนมีแนวคิดตรงกันว่า
อยากจะทำชุมชนน่าอยู่ ที่แตกต่างไปจากชุมชนที่อยู่ทั่วเดนมาร์ค โดยวางคอนเซ็ปชุมชนของพวกเขาเอาไว้ว่า
บริโภคอย่างมีสติ พึ่งพาตัวเองให้มาก มีส่วนในการรับผิดชอบกับการบริโภคกินใช้ จัดการกับของเสีย
ที่ระบายออกมาจากครัวเรือนสู่ท่อระบายน้ำ รวมถึงการสร้างชุมชนที่ทุกคนในชุมชนมีส่วนร่วม
ในการกำหนดทิศทางการบริหารชุมชนร่วมกัน การอยู่อย่างพึ่งพาอาศัยกันในหมู่สมาชิกในชุมชน
ลองมาดูกันว่า ชุมชนแห่งนี้เขามีการบริหารจัดการชุมชนอย่างไรที่ทำให้ชุมชนแห่งนี้
กลายเป็นชุมชนน่าอยู่และยังเผื่อแผ่น้ำใจไมตรีไปถึงสิ่งแวดล้อมที่อาศัยอยู่อย่างไร
และเราสามารถนำเอาแนวทางของเขามาปรับใช้กับชุมชนของเราได้อย่างไรบ้าง
Waste Managnement
ที่ไหนมีชุมชน ที่นั่นมีของเสียเกิดขึ้น เช่นเดียวกับชุมชนแห่งนี้ที่มีของเสียจากครัวเรือน
ไม่ต่างจากชุมชนทั่วไป แต่ที่นี่ขยะจะถูกแยกประเภทตั้งแต่อยู่ในครัวเรือนก่อนที่จะนำมารวมกันไว้ที่
ศูนย์บริหารจัดการขยะชุมชน ที่จัดระเบียบขยะโดยแยกขยะออกเป็นหมวดหมู่ต่างๆ
ตามหลักสากลทั่วไป แก้ว โลหะ กระดาษ พลาสติก ขยะพิษหรือขยะอันตราย
เมื่อขยะเดินทางมาถึงศูนย์ฯ ก็จะมีสภาท้องถิ่นและบริษัทรับซื้อของเก่าเข้ามารับซื้อนำกลับไปรีไซเคิล
ซึ่งช่วยลดภาระให้กับชุมชนในการจัดการขยะลงไปได้บางส่วน ส่วน ขยะที่ไม่สามารถนำกลับไปรีไซเคิล
ได้อีกก็จะถูกส่งต่อไปยังศูนย์บริหารจัดการขยะเพื่อนำไปจัดการอย่างถูกวิธีต่อไป ในบริเวณเดียวกัน
ยังมีร้านจำหน่ายสินค้ามือสอง จำพวกเสื้อผ้า ข้าวของเครื่องใช้ เฟอร์นิเจอร์มือสองที่อยู่ในสภาพ
ใช้งานได้ดีอยู่หรืออาจต้องซ่อมแซมนิดหน่อย นำมาจำหน่ายในราคาย่อมเยา สร้างรายได้เข้าชุมชนอีกทางหนึ่ง
Housing
ในชุมชนแห่งนี้ เจ้าของบ้านทุกคนที่เข้ามาจับจองเป็นเจ้าของบ้าน จะมีสิทธิ์เฉพาะตัวบ้านเท่านั้น
ส่วนสวนและพื้นที่โดยรอบตัวบ้านนั้นเป็นกรรมสิทธิ์ของกรรมการชุมชน โดยมีกติการ่วมกันว่า
ตัวแทนบ้านแต่ละหลังจะต้องร่วมกันดูแลรักษาสวนและพื้นที่รอบตัวบ้าน
บ้านทุกหลังในชุมชนแห่งนี้จะเป็นบ้านที่เน้นการก่อสร้างที่เรียบง่าย เจ้าของบ้านสามารถมีส่วนร่วม
ในการก่อสร้าง หรือจะก่อสร้างด้วยตัวเองก็ย่อมได้ วัสดุก่อสร้างที่ใช้ก็จะเป็นวัสดุที่ได้จากท้องถิ่น
หรือเป็นวัสดุมือสอง เช่น ไม้จริงที่หาได้ในท้องถิ่น ซึ่งมีน้ำมันในเนื้อไม้ที่ช่วยป้องกันอากาศที่หนาวเย็น
อิฐที่ไม่ผ่านการเผาไฟ ที่มีคุณสมบัติดูดซับความร้อนเก็บไว้ได้ดีทำให้บ้านอุ่นสบาย
ฉนวนกันความร้อนจากก้อนฟางและพืชตระกูลปอป่าน อิฐ กระเบื้อง ประตูหน้าต่างมือสอง
หรือวัสดุก่อสร้างที่เหลือจากการก่อสร้าง ฯลฯ
Water management
เชื่อมั้ยว่าที่นี่ใช้น้ำประปาเพียง 60-65% จากปริมาณน้ำที่คนเดนมาร์คทั่วไปใช้ เขาทำได้อย่างไร ???
เคล็ดลับประหยัดน้ำของชุมชนแห่งนี้ก็คือ การเก็บน้ำฝน เป็นแหล่งน้ำสำรองที่ชุมชนแห่งนี้ใช้
อุปโภคบริโภคแทนน้ำประปา โดยเขาจะเก็บสำรองน้ำฝนใส่ถังเก็บน้ำใต้ดินไว้ใช้กับงานชำระล้างต่างๆ
ทั้งการชำระของชักโครก ใช้กับเครื่องล้างจานและรดน้ำต้นไม้ ซึ่งกิจกรรมพวกนี้ ปรกติแล้วจะใช้น้ำค่อนข้างสิ้นเปลือง
Energy Efficiency
พลังงานไฟฟ้าที่ใช้ภายในชุมชนทั้งหมดได้มาจาก กังหันลมขนาดใหญ่ 7 เครื่องที่ผลิตกระแสไฟฟ้า
ได้ 450 กิโลวัตต์ ซึ่งมากกว่าความต้องการของครัวเรือนทั้งหมดในชุมชน
ส่วนที่เหลือชุมชนจึงขายให้กับชุมชนใกล้เคียงเป็นรายได้กลับเข้มา
Green Space
สำหรับพื้นที่สีเขียว ที่นี่ไม่เพียงมีแค่สนามเด็กเล่นหรือสวนสวยๆ เหมือนที่เราเห็นตามโครงการหมู่บ้าน
แต่ที่นี่แบ่งพื้นที่ส่วนกลาง ขนาด 6.25 ไร่ ไม่ว่าจะเป็น ครัวของชุมชน แปลงผักส่วนกลาง โรงเลี้ยงไก่
ที่ทุกคนมีส่วนร่วมในการปลูก ดูแล รองรับความต้องการและกิจกรรมที่หลากหลาย สำหรับประชากร 118ชีวิต
และเยาวชนในหมู่บ้านอีก 60 ชีวิต นอกจากนี้ยังได้รับสิทธิ์แปลงผักส่วนตัวสำหรับบ้านแต่ละหลังด้วย
วิถีชีวิตชุมชนน่าอยู่ การใช้ชีวิตในชุมชนแห่งนี้ เขาจะมีกติกาที่จะต้องปฏิบัติร่วมกันที่ทำให้ชุมชนของเขา
เป็นชุมชนน่าอยู่ได้อย่างน่าสนใจ เช่น บ้านทุกหลังจะสร้างติดๆ กัน และห้ามปลูกสร้างแนวกั้นอาณาเขต รั้ว
กำแพงหรือสิ่งกีดขวางที่เป็นการกั้นแบ่งแดนเด็ดขาด บ้านทุกหลังจึงปลูกสร้างติดๆ กัน
มีสวนหรือพื้นที่ใช้สอยนอกตัวบ้านร่วมกันและสมาชิกจากแต่ละบ้านจะต้องมีตัวแทนที่คอยทำหน้าที่
ดูแลสวนที่อยู่ระหว่างบ้านแต่ละหลัง
credit : http://community.akanek.com/th/story/eco-village-วิถีชุมชนแดนโคนม-พัฒนาอย่างยั่งยืน