Eco Village วิถีชุมชนแดนโคนม พัฒนาอย่างยั่งยืน

วันนี้จะพาไปรู้จักชุมชนน่าอยู่แห่งหนึ่งที่คุณจะไม่เห็นรถราวิ่งไปมาในชุมชน

มีสวนผักส่วนกลางที่คนในชุมชนมีส่วนร่วมในการปลูก ดูแล และเก็บไปปรุงอาหารที่บ้านได้

มีศูนย์บริหารจัดการขยะและร้านจำหน่ายสินค้ารีไซเคิล  เป็นชุมชนที่มีระบบจัดการกับของเสีย

จากครัวเรือนที่มีประสิทธิภาพ และที่คิดว่าแปลกไม่เหมือนใครก็ตรง… เป็นชุมชนที่เขาไม่ซักผ้ากันในบ้าน

ชุมชนที่ว่านี้ชื่อว่า   Okosamfundet Dyssekilde  เป็นชุมชนเล็กๆ ที่มีประชากรราว 200 ชีวิต

อาศัยอยู่ทางตอนเหนือของ Sealand  ระหว่างเมือง  Frederiksværk กับเมือง Hundested

ที่ประเทศเดนมาร์ค ชุมชนแห่งนี้ได้ชื่อว่าเป็นชุมชนแบบ  EcoVillage ที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ

eco_house_

ชุมชนแห่งนี้เริ่มต้นขึ้นในปี 1999  เมื่อกลุ่ม developer กลุ่มหนึ่ง ที่มีเพียงไม่กี่คนมีแนวคิดตรงกันว่า

อยากจะทำชุมชนน่าอยู่ ที่แตกต่างไปจากชุมชนที่อยู่ทั่วเดนมาร์ค  โดยวางคอนเซ็ปชุมชนของพวกเขาเอาไว้ว่า

บริโภคอย่างมีสติ พึ่งพาตัวเองให้มาก มีส่วนในการรับผิดชอบกับการบริโภคกินใช้ จัดการกับของเสีย

ที่ระบายออกมาจากครัวเรือนสู่ท่อระบายน้ำ รวมถึงการสร้างชุมชนที่ทุกคนในชุมชนมีส่วนร่วม

ในการกำหนดทิศทางการบริหารชุมชนร่วมกัน การอยู่อย่างพึ่งพาอาศัยกันในหมู่สมาชิกในชุมชน 

ลองมาดูกันว่า ชุมชนแห่งนี้เขามีการบริหารจัดการชุมชนอย่างไรที่ทำให้ชุมชนแห่งนี้

กลายเป็นชุมชนน่าอยู่และยังเผื่อแผ่น้ำใจไมตรีไปถึงสิ่งแวดล้อมที่อาศัยอยู่อย่างไร

และเราสามารถนำเอาแนวทางของเขามาปรับใช้กับชุมชนของเราได้อย่างไรบ้าง

Waste Managnement

ที่ไหนมีชุมชน ที่นั่นมีของเสียเกิดขึ้น เช่นเดียวกับชุมชนแห่งนี้ที่มีของเสียจากครัวเรือน

ไม่ต่างจากชุมชนทั่วไป แต่ที่นี่ขยะจะถูกแยกประเภทตั้งแต่อยู่ในครัวเรือนก่อนที่จะนำมารวมกันไว้ที่

ศูนย์บริหารจัดการขยะชุมชน ที่จัดระเบียบขยะโดยแยกขยะออกเป็นหมวดหมู่ต่างๆ

ตามหลักสากลทั่วไป แก้ว โลหะ กระดาษ  พลาสติก ขยะพิษหรือขยะอันตราย

เมื่อขยะเดินทางมาถึงศูนย์ฯ ก็จะมีสภาท้องถิ่นและบริษัทรับซื้อของเก่าเข้ามารับซื้อนำกลับไปรีไซเคิล

ซึ่งช่วยลดภาระให้กับชุมชนในการจัดการขยะลงไปได้บางส่วน ส่วน ขยะที่ไม่สามารถนำกลับไปรีไซเคิล

ได้อีกก็จะถูกส่งต่อไปยังศูนย์บริหารจัดการขยะเพื่อนำไปจัดการอย่างถูกวิธีต่อไป ในบริเวณเดียวกัน

ยังมีร้านจำหน่ายสินค้ามือสอง จำพวกเสื้อผ้า ข้าวของเครื่องใช้ เฟอร์นิเจอร์มือสองที่อยู่ในสภาพ

ใช้งานได้ดีอยู่หรืออาจต้องซ่อมแซมนิดหน่อย นำมาจำหน่ายในราคาย่อมเยา สร้างรายได้เข้าชุมชนอีกทางหนึ่ง

Housing    

ในชุมชนแห่งนี้ เจ้าของบ้านทุกคนที่เข้ามาจับจองเป็นเจ้าของบ้าน จะมีสิทธิ์เฉพาะตัวบ้านเท่านั้น

ส่วนสวนและพื้นที่โดยรอบตัวบ้านนั้นเป็นกรรมสิทธิ์ของกรรมการชุมชน โดยมีกติการ่วมกันว่า

ตัวแทนบ้านแต่ละหลังจะต้องร่วมกันดูแลรักษาสวนและพื้นที่รอบตัวบ้าน

 บ้านทุกหลังในชุมชนแห่งนี้จะเป็นบ้านที่เน้นการก่อสร้างที่เรียบง่าย เจ้าของบ้านสามารถมีส่วนร่วม

ในการก่อสร้าง หรือจะก่อสร้างด้วยตัวเองก็ย่อมได้  วัสดุก่อสร้างที่ใช้ก็จะเป็นวัสดุที่ได้จากท้องถิ่น

หรือเป็นวัสดุมือสอง เช่น ไม้จริงที่หาได้ในท้องถิ่น ซึ่งมีน้ำมันในเนื้อไม้ที่ช่วยป้องกันอากาศที่หนาวเย็น

อิฐที่ไม่ผ่านการเผาไฟ ที่มีคุณสมบัติดูดซับความร้อนเก็บไว้ได้ดีทำให้บ้านอุ่นสบาย

ฉนวนกันความร้อนจากก้อนฟางและพืชตระกูลปอป่าน  อิฐ กระเบื้อง ประตูหน้าต่างมือสอง

หรือวัสดุก่อสร้างที่เหลือจากการก่อสร้าง ฯลฯ


Water management
 


เชื่อมั้ยว่าที่นี่ใช้น้ำประปาเพียง 60-65% จากปริมาณน้ำที่คนเดนมาร์คทั่วไปใช้  เขาทำได้อย่างไร ???
เคล็ดลับประหยัดน้ำของชุมชนแห่งนี้ก็คือ การเก็บน้ำฝน เป็นแหล่งน้ำสำรองที่ชุมชนแห่งนี้ใช้

อุปโภคบริโภคแทนน้ำประปา โดยเขาจะเก็บสำรองน้ำฝนใส่ถังเก็บน้ำใต้ดินไว้ใช้กับงานชำระล้างต่างๆ

ทั้งการชำระของชักโครก ใช้กับเครื่องล้างจานและรดน้ำต้นไม้ ซึ่งกิจกรรมพวกนี้ ปรกติแล้วจะใช้น้ำค่อนข้างสิ้นเปลือง

Energy Efficiency

พลังงานไฟฟ้าที่ใช้ภายในชุมชนทั้งหมดได้มาจาก กังหันลมขนาดใหญ่ 7 เครื่องที่ผลิตกระแสไฟฟ้า

ได้ 450 กิโลวัตต์ ซึ่งมากกว่าความต้องการของครัวเรือนทั้งหมดในชุมชน

ส่วนที่เหลือชุมชนจึงขายให้กับชุมชนใกล้เคียงเป็นรายได้กลับเข้มา

IMG_3211-2.jpg_644x0_q100_crop-smart

Green Space

สำหรับพื้นที่สีเขียว ที่นี่ไม่เพียงมีแค่สนามเด็กเล่นหรือสวนสวยๆ เหมือนที่เราเห็นตามโครงการหมู่บ้าน

แต่ที่นี่แบ่งพื้นที่ส่วนกลาง ขนาด 6.25 ไร่ ไม่ว่าจะเป็น ครัวของชุมชน แปลงผักส่วนกลาง โรงเลี้ยงไก่

ที่ทุกคนมีส่วนร่วมในการปลูก ดูแล รองรับความต้องการและกิจกรรมที่หลากหลาย สำหรับประชากร 118ชีวิต

และเยาวชนในหมู่บ้านอีก 60 ชีวิต นอกจากนี้ยังได้รับสิทธิ์แปลงผักส่วนตัวสำหรับบ้านแต่ละหลังด้วย

วิถีชีวิตชุมชนน่าอยู่ การใช้ชีวิตในชุมชนแห่งนี้ เขาจะมีกติกาที่จะต้องปฏิบัติร่วมกันที่ทำให้ชุมชนของเขา

เป็นชุมชนน่าอยู่ได้อย่างน่าสนใจ เช่น บ้านทุกหลังจะสร้างติดๆ กัน และห้ามปลูกสร้างแนวกั้นอาณาเขต รั้ว

กำแพงหรือสิ่งกีดขวางที่เป็นการกั้นแบ่งแดนเด็ดขาด บ้านทุกหลังจึงปลูกสร้างติดๆ กัน

มีสวนหรือพื้นที่ใช้สอยนอกตัวบ้านร่วมกันและสมาชิกจากแต่ละบ้านจะต้องมีตัวแทนที่คอยทำหน้าที่

ดูแลสวนที่อยู่ระหว่างบ้านแต่ละหลัง
IMG_3205-3.jpg_644x0_q100_crop-smart

Okosamfundet_Dyssekilde_Denmark_
eco_bath

credit : http://community.akanek.com/th/story/eco-village-วิถีชุมชนแดนโคนม-พัฒนาอย่างยั่งยืน

ความสุขประเทศไทย
PDPA Icon

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save