Search Results for: 2019/07

ความสุขของนักเสริมพลังการเรียนรู้เพื่อครูปฐมวัย

เรื่องโดย วันดี สันติวุฒิเมธี

ครูเปรียบเสมือนแม่คนที่สองของเด็ก  ครูคนแรกที่เด็กได้เจอหลังจากผละจากอ้อมอกแม่คือครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็กหรือครูโรงเรียนอนุบาล  ครูคนนี้ต้องมีคุณสมบัติที่สำคัญที่สุดไม่ใช่ “ความรู้” แต่ต้องมี “ความรัก” และ “ความเข้าใจ” พัฒนาการของเด็กในช่วงปฐมวัยมากที่สุด  ทว่า ในสายตาของคนทั่วไปอาจมองเห็นครูเด็กเล็กเป็นเพียงพี่เลี้ยงที่ทำให้เด็กกินอิ่มนอนหลับไปวันๆ เท่านั้น ครูหลายคนจึงขาดโอกาสในการเสริมศักยภาพที่ซ่อนอยู่ภายใน ทว่าในสายตาของสรวงธร นาวาผล และสายใจ คงทนกลับไม่ได้มองเช่นนั้น ทั้งคู่มองเห็น “พลังความรักในอาชีพครู” ที่ซุกซ่อนอยู่ในหัวใจ

ความสุขจากการถ่ายภาพธรรมดาที่ไม่ธรรมดา

เรื่องโดย วันดี สันติวุฒิเมธี และ โสมนัส สุจริตกุล

 โลกยุคดิจิทัลทุกวันนี้ทำให้ทุกคนกลายเป็นช่างภาพกันแทบจะทุกอิริยาบถกันเลยทีเดียว แต่ถ้าเราสังเกตให้ดีจะพบว่า ภาพถ่ายส่วนใหญ่ที่เราถ่ายมักจะ “ถูกจัดวาง” ทั้งท่วงท่านายแบบนางแบบ หรือองค์ประกอบฉากเพื่อความสวยงาม ถ้าไม่ถูกใจก็จะกดถ่ายใหม่กันได้ทันที ภาพถ่ายเหล่านี้จึงถูก “ปรุงแต่ง” ด้วยความรู้สึกของช่างภาพจนกว่าจะพอใจ ทว่า หากใครได้ลองฝึกถ่ายภาพแบบ Contemplative Photography หรือภาพถ่ายที่ “ไร้การปรุงแต่ง” ดูแล้วละก็  คุณจะได้สัมผัสกับความรู้สึกถ่ายภาพในมุมใหม่และภาพถ่ายที่ดูเหมือนธรรมดาจะกลายเป็นภาพถ่ายที่ไม่ธรรมดาไปได้เช่นกัน อาจารย์นิตยา เกษมโกสินทร์ เป็นคนหนึ่งที่หลงใหลการถ่ายภาพแนวนี้มานานหลายปี

เสกโรคซึมเศร้าให้เป็นรอยยิ้มด้วยกิจกรรมมนตร์อาสา

เรื่องโดย โสมนัส สุจริตกุล

เพราะเริ่มไม่มีความสุขกับการใช้ชีวิต ทิพย์ชยพล ปารีณาพัฒน์นรีหรือ คุณเน จึงรวมกลุ่มทำงานจิตอาสา เหมือนที่เคยทำกิจกรรมสมัยเป็นนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในช่วงแรกยังไม่ได้มุ่งเน้นกิจกรรมใดเป็นพิเศษ จะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ จนกระทั่งมีโอกาสเข้ารับการอบรมที่จัดโดยธนาคารจิตอาสา “ตอนนั้นผมเป็นโรคซึมเศร้าเนื่องจากครอบครัวมีปัญหา  ผมรู้สึกว่าชีวิตเริ่มดีขึ้นหลังจากได้ไปทำกิจกรรมจิตอาสา เพราะทำให้รู้สึกว่าเราเริ่มมีคุณค่าเพิ่มขึ้น รู้สึกว่าจิตอาสาช่วยชีวิตเราได้ เลยตั้งกลุ่มมนตร์อาสาขึ้นมาเพราะรู้สึกว่าการทำงานอาสาเป็นเหมือนเวทมนตร์ที่ช่วยบำบัดคนที่เป็นซึมเศร้าหรือคนที่มีภาวะความเครียดในสังคมปัจจุบันให้มีความสุขมากขึ้นได้เพราะไม่ได้คิดหมกมุ่นแต่เรื่องของตนเอง”

สุขกายสุขใจวัยเกษียณ

เรื่องโดย โสมนัส สุจริตกุล

สังคมไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุมากขึ้นเรื่อยๆ ปัญหาของผู้สูงอายุที่พบร่วมกันคืออาการเจ็บป่วย รวมไปถึงโรคซึมเศร้าเพราะลูกหลานต่างมีภาระหน้าที่หรือโลกส่วนตัวบนหน้าจอมากเกินไป  ผู้สูงวัยจึงต้องหากิจกรรมทำร่วมกันเพื่อผ่อนคลายเหงา รวมไปถึงการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับวัย เพราะจะทำให้ไม่ต้องเป็นภาระกับลูกหลานมากเกินไป สำหรับผู้สูงวัยบางคนอาจใช้เวลาว่างเป็นจิตอาสาตามองค์กรต่างๆ เพื่อให้ชีวิตที่เหลืออยู่มีคุณค่ามากยิ่งขึ้น ดังเช่น สุรีย์ นาวีเรืองรัตน์ หรือคุณเจี้ยบ ครูสอนออกกำลังกายแบบเต้าเต้อจิง ณ ศูนย์ผู้สูงอายุ จังหวัดนนทบุรี ที่นี่มีเพื่อนวัยเดียวกันมากมายให้พูดคุยกันคลายเหงาและกลายเป็นแก๊งเพื่อนสนิทไปไหนไปกันทำให้ชีวิตไม่เหงาเกินไปนัก

อาจารย์รุ่นใหม่สนใจจิตตปัญญา

เรื่องโดย โสมนัส สุจริตกุล

จิตตปัญญาศึกษาชื่อนี้ฟังดูเข้าใจยากและห่างไกลคนหนุ่มสาวที่อยู่ในวัยแสวงหาความรื่นรมย์ในชีวิต ทว่าสำหรับอาจารย์หนุ่มรุ่นใหม่ ดร.สุปรียส์ กาญจนพิศศาล หรืออาจารย์แบต กลับเลือกสมัครเป็นอาจารย์ประจำศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล แทนการสอนสาขาที่ดูทันสมัยใกล้ชิดกับสังคมยุคใหม่มากกว่านี้  “ผมเริ่มสนใจด้านนี้มาตั้งแต่ยังเด็ก เพราะคุณพ่อคุณแม่ปฏิบัติธรรม “สนใจเองด้วยแล้วก็พ่อกับแม่ด้วยครับ ที่บ้านก็จะสวดมนต์นั่งสมาธิ ฟังธรรม เราก็ติดรถไปที่วัดบ่อย ๆ เกิดความสนใจว่าการปฏิบัติธรรมมันดียังไง เริ่มจากตอนที่ไปบวชเณร พอสึกออกมาก็มาไล่อ่านหนังสือกฎแห่งกรรม พออ่านหนังสือพุทธศาสนาก็เกิดความอยากรู้ว่าแต่ละศาสนาสอนยังไง เกิดการขยายความสนใจจากการอ่านหนังสือ”

ความสุขประเทศไทย

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save